ผลการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ผลการดำเนินงาน, การจัดการกำไร, มูลค่ากิจการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (path analysis) ของผลการดำเนินงานผ่านการจัดการกำไรที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) ซึ่งตัวแปรผลการดำเนินงาน ใช้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ส่วนมูลค่ากิจการใช้การคำนวณค่า Tobin’s Q เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร และการจัดการกำไรใช้โมเดลของ Modified Jones การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานผ่านการจัดการกำไรที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการและการจัดการกำไร ในขณะเดียวกัน การจัดการกำไรส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญ และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพบว่า ผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
References
กรุงเทพ.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552). แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552) (ออนไลน์). เข้าถึง
ได้จาก: https://www.fap.or.th/files/st_accouting/Framwork.pdf [2560, 2 มีนาคม].
อรฤดี ศรีธราพิพัฒน์. (2551). คุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไทย.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 28(3), หน้า 57-78.
Abdel, Majed, et al. (2012). The relationship between the ROA ROE and ROI ratio with Jordanian insurance public companies market share price. International journal of humanities and social science, 2(11), pp. 115-120.
AL Khalaileh, M. (2001). The relationship between accounting performance indexes and market
performance indexes. An applies study on listed corporations at Amman Security Exchange.
Administrative Sciences Studies Magazine, 1, pp. 21-30.
Brown, P., Beekes, W., & Verhoeven, P. (2011). Corporate governance, accounting and finance. A Review Accounting & Finance, 51, pp. 96-172.
Choi, J. H. (2008). An empirical study on the relationship between earnings quality and firm value.
Asia-Pacific Journal of Financial Studies, 37(5), pp. 813-839.
Chung, Kee H., & Pruitt, Stephen W. (1994). A simple approximation of Tobin’s Q. Financial
Management, 23(3), pp. 70-74.
Dechow, P. M., Sloan, R. G., & Sweeney, A. P. (1996). Causes and consequences of earnings manipulation: An analysis of firms subject to enforcement actions by the SEC. Contemporary Accounting Research, 13, pp. 1-36.
Haryono, Untung, & Iskandar, Rusdiah. (2015). Corporate social performance and firm value. International Journal of Business and Management Invention, 4, pp. 69-75.
Healy, P. M., & Wahlen, J. M. (1999). A review of earnings management literature and its implications for standard setting. Accounting Horizons, 13, pp. 365-383.
Jones, J. (1991). Earning management during import relief investigations. Journal of Accounting
Research, 29, pp. 193-228.
Kohansal, Mohammad Reza, et al. (2013). Relationship between financial ratios and stock prices for the
food industry firms in Stock Exchange of Iran. World Applied Programming, 3(10), pp. 512-521.
Lo, K. (2008). Earnings management and earnings quality. Journal of Accounting Economics, 45,
pp. 350-357.
Park, Y. W., & Shin, H. H. (2004). Board composition and earnings management in Canada. Journal of
Corporate Finance, 10, pp. 431-457.
Razzaque, R. R., Rahman, Z. M., & Salat, A. (2006). Earnings management: An analysis on textile sector
of Bangladesh. The Cost and Management, 34(5), pp. 5-13.
Schipper, K. (1989). Commentary on earnings management. Accounting Horizons, 3, pp. 91-102.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี