ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

ผู้แต่ง

  • พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อารมณ์ด้านการมีอิทธิพล, เสียงดิจิทัล, คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในเชิงคลื่นไฟฟ้าสมอง ขณะฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล จำแนกตามเพศ บุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan System วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า

              คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล ลักษณะกลัว และไม่กลัว ระหว่างผู้ที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยกับกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ที่ตำแหน่ง F7 บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (parietal lobe) ที่ตำแหน่ง PZ P7 P4 และบริเวณเปลือกสมองกลาง (central) ตำแหน่ง CZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ที่ตำแหน่ง F7 และบริเวณเปลือกสมองกลาง (central) ตำแหน่ง CZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              สรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีเพศและบุคลิกภาพต่างกัน ขณะฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ลักษณะเสียงกลัวและไม่กลัว ด้านคลื่นไฟฟ้าสมองมีความแตกต่างกัน

References

ธนปพน ภูสุวรรณ, เสรี ชัดแช้ม และศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์. (2561). การพัฒนาระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/RMCS/article/view/207012/143868 [2561, 31 ธันวาคม].
Bastos-Filho, Teodiano Freire, et al. (2012). Evaluation of feature extraction techniques in emotional
state recognition (Online). Available: https://www.researchgate.net/publication/261044521_
Evaluation_of_Feature_Extraction_Techniques_in_Emotional_State_Recognition [2017, January 1].
Bradley, M. M., & Lang, P. J. (1999). International affective digitized sounds (IADS): Stimuli,
instruction manual and affective ratings (Tech. Rep. No. B-2). Gainesville, FL: The Center for Research in Psychophysiology, University of Florida.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied reference guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE.
Gerdes, A. B., et al. (2013). Emotional sounds modulate early neural processing of emotional Pictures (Online). Available: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2013.00741/full [2017, January 1].
Goncalves, A. R., et al. (2018). Emotion identification and aging: Behavioral and neural age-related
changes. Clin Neurophysiol, 129(5), pp. 1020-1029.
Lang, P. J., Bradley, M. M., & Cuthbert, B. N. (1997). International Affective Picture System (IAPS): Technical manual and affective ratings (Online). Available: https://www2.unifesp.br/dpsicobio/adap/instructions.pdf [2017, January 1].
Roslan, Nur Syahirah, et al. (2017). Review of EEG and ERP studies of extraversion personality for
baseline and cognitive tasks. Personality and Individual Differences, 119, pp. 323-332.
Soares, A. P., et al. (2013). Affective auditory stimuli: Adaptation of the International Affective
Digitized Sounds (IADS-2) for European Portuguese (Online). Available:
https://link.springer.com/article/10.3758%2Fs13428-012-0310-1 [2017, January 1].
Stevenson, R. A., & James, T. W. (2008). Affective auditory stimuli: Characterization of the International Affective Digitized Sounds (IADS) by discrete emotional categories. Behavior Research Methods, 40(1), pp. 315-321.
Whittle, S., et al. (2011). Sex differences in the neural correlates of emotion: evidence from neuroimaging. Biol Psychol, 87(3), pp. 319-333.
Wildgruber, D., et al. (2009). A cerebral network model of speech prosody comprehension.
International Journal of Speech-Language Pathology, 11(4), pp. 277-281.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-30