ปัจจัยด้านการฝึกอบรมด้านระบบการจัดการคุณภาพ (ISO 9001) ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทรับสร้างโรงงานผลิตเหล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ธันธวัช เหลือชม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกอบรม, ระบบการจัดการคุณภาพ, ไอเอสโอ 9001, โรงงานผลิตเหล็ก

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานด้านระบบคุณภาพ ISO 9001 ของพนักงานบริษัทรับสร้างโรงงานผลิตเหล็ก 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับผลการปฏิบัติงานด้านระบบคุณภาพ ISO 9001 ของพนักงานบริษัทรับสร้างโรงงานผลิตเหล็ก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านการฝึกอบรมที่มีต่อผลการปฏิบัติงานด้านระบบคุณภาพ ISO 9001 ของพนักงานบริษัทรับสร้างโรงงานผลิตเหล็ก กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทรับสร้างโรงงานผลิตเหล็กในจังหวัดระยอง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนผลการปฏิบัติงานด้านระบบคุณภาพ ISO 9001 ด้านประสิทธิผลโดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านระยะเวลา 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันด้านอายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน จะมีประสิทธิผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันด้านเพศ อายุ และตำแหน่งงานจะมีระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยด้านการฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ความน่าเชื่อถือ และการนำไปใช้ประโยชน์ จะส่งผลต่อประสิทธิผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านการฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การนำไปใช้ประโยชน์ และการตอบสนอง จะส่งผลต่อระยะเวลาการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชนม์มดี นนทนานันท์. (2554). ความรู้และความคิดเห็นในการจัดการด้านระบบคุณภาพ ISO 9001
ของพนักงานบริษัท ไทยปาร์คเกอร์ไรซิ่ง จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง.
ณภัค ธนเดชะวัฒน์, พรรัตน์ แสดงหาญ และอภิญญา อิงอาจ. (2560). การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้าน
พฤติกรรมตามแนวคิดของเคิร์กแพทริก: กรณีศึกษาการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุค
ดิจิตอล. Burapha Journal of Business Management, 6(1), หน้า 65-80.
ณัฐกานต์ ตั้งวนาไพร, พินันทา โรจน์รัตน์ศิริกุล และปภัสสร ผลเพิ่ม. (2555). การศึกษาระดับการรับรู้
ของพนักงานต่อกระบวนการตรวจสอบคุณภาพการซ่อมบำรุงอากาศยานฝ่ายช่างอู่ตะเภา
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), หน้า 61-67.
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2561). Managerial accounting innovation and firm success of ISO 9001
businesses in Thailand. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(2), หน้า 161-170.
ทรงกลด บุญสุวรรณโชติ. (2546). การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการประกันคุณภาพการฝึกอบรม
ให้แก่พนักงานภาคอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ประหยัด ประภาพรหม, ราณี พรมานะจิรังกุล และมธุริน คำวงศ์ปิน. (2554). การประเมินผลโครงการ
การพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช งานบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชสวนปรุง.
วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(2), หน้า 92-101.
ปรีชา ขันทอง และศิษฎา สิมารักษ์. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2008
ในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการน้ำประปาของการประปาเทศบาลตำบลตากฟ้า จังหวัด
นครสวรรค์. วารสารวิชาการราชภัฏพระนคร, 10(1), หน้า 7-19.
ภิญโญ เอี่ยมมา. (2551). ความต้องการฝึกอบรมบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
ท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเหล็กไทย. (2561). รายงานสรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็ก 2018. กรุงเทพฯ: สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย.
สิริกาญจน์ โชคสิทธิเกียรติ. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการจัดการฝึกอบรมและ
สมรรถนะของพนักงานบริษัทในเขตสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อำเภออุทัย จังหวัดพระนคร
ศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุชัยยัณต์ โชติพันธ์. (2552). เปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับระบบ
บริหารคุณภาพมาตรฐาน (ISO 9001:2000) ของพนักงานบริษัทฮาร์ดฟอร์ดเพนท์ จำกัด.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Bloom, Benjamin S. (1981). Evaluation to improve learning. New York, NY: McGraw-Hill
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (3 rd ed.). New York, NY: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26