ผลของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รองเอก วรรณพฤกษ์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ค่าความนิยม, ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม, มูลค่ากิจการ

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่าความนิยมผ่านผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 100 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2556-2560 รวมระยะเวลา 5 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (path analysis) ของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญที่ .01
      ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าความนิยมส่งผลต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมในเชิงบวก 2) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก และ 4) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการผ่านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

References

ณัฐนันท์ สุรวัฒนา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลัคนา พูลเจริญ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมที่เกิดจากการซื้อธุรกิจกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วารสารวิชาการ คณะบริหาร ธุรกิจ RMUTT Global Business and Economics Review, 8 (2), หน้า 93-104.
วรลักษณ์ โรจนรัตน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกับราคาหลักทรัพย์และกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศันสนีย์ สุริยเชิดชูสกุล. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรดา นวลประดิษฐ์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรินภา สุพรมอินทร์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานกิจการ: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ และกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี,
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). รายชื่อบริษัท/หลักทรัพย์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.set.or.th/th/company/companylist.html
[2560, 15 พฤศจิกายน].
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560 ก). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก: http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67220 [2560, 17 พฤศจิกายน].
_______. (2560 ข). มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง การรวมธุรกิจ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67220 [2560, 17 พฤศจิกายน].
Chauvin, Keith W., & Hirschey, Mark. (1994). Goodwill, profitablity, and the market value of the firm. Journal of Accounting and Public Policy, 13(2),
pp. 159-180.
Chung, Kee H., & Pruitt, Stephen W. (1994). A simple approximation of Tobin’s Q. Financial Management, 23(3), pp. 70-74.
Gamayuni, Rindu Rika. (2015). The effect of intangible asset, financial performance and financial policies on the firm value. International Journal
of Scientific & Technology Research, 4(1), pp. 202-212.
Haryono, Untung, & Iskandar, Rusdiah. (2015). Corporate social performance and firm value. International Journal of Business and Management
Invention, 4(11), pp. 69-75.
Helens, Richard A., et al. (2017). The impact of advertising, goodwill, and other intangibles in the retail foodservice industry: Do intangible
investments bite into investor returns?. Journal of Foodservice Business Research, 20(2), pp. 177-191.
Hidayah, Nurul. (2014). The effect of company characteritic toward firm value in the property and real estate company in Indonesia Stock Exchange.
International Journal of Business, Economics and Law, 5(1), pp. 1-8.
Sarra, Kaiss, Bagher, Nezha, & EI Kabbouri, Mounime. (2018). Goodwill and Performance. Journal of Applied Finance and Banking, 8(3), pp. 17-25.
Sudiyatno, Bambang, Puspitasari, Elen, & Kartika, Andi. (2012). The company's policy, firm performance, and firm value: An empirical research
on Indonesia Stock Exchange. American International Journal of Contemporary Research, 2(12), pp. 30-40.
Weston, J. Fred., Chung, Kwang S., & Hoag, Susan E. (1990). Mergers restructuring and corporate control. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26