การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีม, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ,, โรงพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงพยาบาล 2) ศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล และ 3) ศึกษาการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงพยาบาลในเครือวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอบบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 พบว่า 1) การทำงานเป็นทีมของบุคลากร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นเป็นลำดับแรกคือ ด้านการตัดสินใจร่วมกัน รองลงมาคือ ด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน และลำดับสุดท้ายคือ ด้านการกระจายความเป็นผู้นำ 2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นเป็นลำดับแรกคือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น รองลงมาคือ พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ และลำดับสุดท้ายคือ พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น และ 3) การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
References
ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), หน้า 401-412.
กานต์นลิน คงศักดิ์. (2554). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานไปรษณีย์ สังกัดไปรษณีย์เขต 7.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลประจำโรงพยาบาลในเครือวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล. (2562, 31 มีนาคม). สัมภาษณ์.
อัญชลี สอนไธสง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Jesca, Nuluzze. (2006). Teamwork, organizational controls, organization citizenship behaviour (OCB), decision making and performance
management in Mulago Hospital. Master’s dissertation of Business Administration, Makerere University, Uganda.
Kashani, Farideh Haghshenas. (2012). A review on relationship between quality of work life and organizational citizenship behavior (case study:
an Iranian company). Journal of Basic and Applied Scientific Research, 2(9), pp. 9523-9531.
Organ, Dennis W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Lexington, MA: Lexington Books.
Parker, Glenn M. (1990). Team planers and team: The new competitive business strategy.
San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York, NY: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี