ความสามารถในการสอนโดยใช้แนวทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครนายก
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ด้วยตนเอง, คู่มือแนวทางการสอนของครู, ความสามารถในการสอน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างคู่มือแนวทางการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่ครู 2) ศึกษาความสามารถในการสอนของครูที่ใช้คู่มือแนวทางการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ศึกษาความรู้ด้านการสอนของครู ทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้คู่มือแนวทางการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน (multi stage sampling) จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือแนวทางการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู 2) แบบประเมินความสามารถในการสอนของครู 3) แบบประเมินความรู้ด้านการสอนของครู โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือแนวทางการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 วางแผนและออกแบบการสอน ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติการสอน ขั้นตอนที่ 3 ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการสอน ขั้นตอนที่ 4 การแบ่งปัน 2) ครูมีความสามารถในการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 และ 3) ครูมีคะแนนก่อนการเรียนรู้คู่มือแนวทางการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองที่คะแนนเฉลี่ย 21.23 และหลังการใช้คู่มือแนวทางการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 31.80 ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้คู่มือแนวทางการสอนของครูเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่าคะแนนหลังการใช้คู่มือแนวการสอนของครูสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือแนวทางการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2561). การประยุกต์ใช้ ICT ตามแนวคิด Constructionism (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.ku.ac.th/icted2003/document/bupphachart.ppt [2563, 25 มกราคม].
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เทคนิค พริ้นติ้ง.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 (ตอนที่ 57 ก), หน้า 49-53.
วิรัช วรรณรัตน์. (2539). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุชิน เพ็ชรรักษ์. (2544). รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.
อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ. (2553). รายงานการศึกษาวิจัย รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.
Griffin, Jean M. (2017). Constructionvism and de-constructionism: Opposite yet complementary pedagogies. Constructivist Foundations, 14(3), pp. 234-243.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี