การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องกฎหมายทั่วไป สำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน
คำสำคัญ:
ผู้บกพร่องทางการได้ยิน, วิชากฎหมายทั่วไปบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องกฎหมายทั่วไปสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องกฎหมายทั่วไปสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้เรื่องกฎหมายทั่วไปสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน วิทยาลัยสารพัดช่าง จังหวัดชลบุรี จำนวน 22 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ (proposed sampling) วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แผนจัดการเรียนรู้ และสื่อเพื่อการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติอย่างง่ายคือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน พบว่า 1) สื่อการเรียนรู้เรื่องกฎหมายทั่วไปสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีการพัฒนาและดำเนินการอย่างมีคุณภาพตามหลักการและกระบวนการการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ซึ่งเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายกิจกรรม 2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ได้ค่าเฉลี่ยรวมที่ระดับมาก 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน พบว่าค่าสถิติ t-test for Dependent Samples มีค่าเท่ากับ 3.40** แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินที่เรียนด้วยสื่อการเรียนรู้เรื่องกฎหมายทั่วไปสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสรุปได้ว่า สื่อการเรียนรู้ดังกล่าวมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
References
กำพล ดำรงสงศ์. (2528). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัยในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2 วิธี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). นโยบายการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา. (2543). การพัฒนาชุดการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน วิชาเครื่องปั้นดินเผา 2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ โรงเรียนเศรษฐเสถียร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. (2542). Design IMM computer instruction การออกแบบการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.
วรนุช เนตรพิศาลวนิช. (2544). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับวิชาชีพพยาบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ สุวรรณวงศ์. (2545). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มตามสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุบลลักษณ์ ไชยชนะ. (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการเรียนกับความสอดคล้องในการเลือกคณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
International Organization for Standardization. (2006). ISO 9241-110 Ergonomics of human-system interaction-part 110: Dialogue principles (Online). Available: https://www.iso.org/obp/ui/#iso:std:iso:9241:-110:ed-1:v1:en [2017, August 16].
Karray, Fakhri, et al. (2008). Human-computer interaction: Overview on state of the art. International Journal on Smart Sensing and Intelligent Systems, 1(1), pp. 137-159.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี