การประเมินความเครียดของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ กรณีศึกษา ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
คำสำคัญ:
ความเครียด, นักเรียนเดินเรือพาณิชย์, ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเครียดของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ และเสนอแนวทางในการจัดการความเครียดเบื้องต้นของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ กรณีศึกษาศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 96.89 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 51.10 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 99.37 และยังไม่ได้ฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล ร้อยละ 55.49 โดยมีสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการเรียนการสอน/กิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่งผลในระดับปานกลาง ( = 3.05, SD = 1.17) รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านส่วนบุคคล ด้านครอบครัว ตามลำดับ (
= 2.72 SD = 1.17,
= 2.64 SD = 1.14 และ
= 2.46 SD = 1.02) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลส่งผลต่อระดับความเครียดน้อยที่สุด (
= 2.17, SD = 1.07) จากนั้นนำระดับความเครียดในระดับมากถึงมากที่สุดมาเสนอแนวทางการจัดการความเครียด มีทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้ 1) ความคาดหวังให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2) ความคาดหวังต่อตนเองสูง ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ 3) การมีกิจกรรมที่มากเกินไป ทำให้พักผ่อนน้อยลง 4) ด้านภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดความเครียดอยู่ในระดับมาก
References
เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ. (2558). ปัจจัยความเครียดของบุคลากรและนักเรียนศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีที่ส่งผล
ต่อมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ บรรพ 6
ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นลินี ธรรมอำนวยสุข. (2541). ตัวแปรเกี่ยวข้องกับความเครียดในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดกรมพลศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ.
ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. (2554). ความเครียดและวิธีแก้ความเครียด. นครปฐม: ภาควิชาเภสัชวิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุคนธ์ทิพย์ หนุนพล. (2544). ความเครียดและการปรับตัวของนักศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ
โรงเรียนผู้ใหญ่ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
สุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Hystad, Sigurd W, & Eid, Jarle. (2016). Sleep and fatigue among seafarers: The role of environmental
stressors, duration at sea and psychological capital. Saf Health Work, 7(4), pp. 363-371.
Lazarus, Richard S., & Folkman, Susan. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York, NY: Springer.
Meleis, Afaf Ibrahim (Ed). (2010). Transitions theory: Middle range and situation specific theories in
nursing research and practice. New York, NY: Spinger.
Sau, Arkaprabha, & Bhakta, Ishita. (2019). Screening of anxiety and depression among seafarers using
machine learning technology (Online). Available: https://reader.elsevier.com/reader/sd/pii/
S235291481830193X?token=AD55C7561ACD155392FFB16549F8D1845E9ED004658
C2A75BF04E165DC99959015BACC012FDD38A402FFF73F953AB28F&originRegion=
eu-west-1&originCreation=20210827093316 [2020, December 1].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี