ความเชื่อมั่นของผู้โดยสารต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการของสายการบิน ภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีผลต่อความคิดเห็นเชิงพฤติกรรมการเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบิน

ผู้แต่ง

  • ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, สายการบิน, การระบาดของโควิด-19, ธุรกิจการบิน

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นของผู้โดยสารต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  2) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของผู้โดยสารต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเชื่อมั่นของผู้โดยสารต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการของสายการบินที่มีผลต่อความคิดเห็นเชิงพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้โดยสารชาวไทยซึ่งเดินทางด้วยสายการบินต้นทุนต่ำเส้นทางบินภายในประเทศในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีกลุ่มตัวอย่าง 385 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก (convenience sampling) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าผู้โดยสารมีความเชื่อมั่นต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการของสายการบินภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริการบนเครื่องบินอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการบริการภาคพื้นอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ผู้โดยสารที่มีเพศแตกต่างกันมีความเชื่อมั่นต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการของสายการบินภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ผู้โดยสารที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความถี่ในการเดินทาง และวัตถุประสงค์ในการเดินทางที่แตกต่างกัน มีความเชื่อมั่นต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการของสายการบินภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และยังพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้โดยสารต่อแนวปฏิบัติด้านการบริการของสายการบินมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นเชิงพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยเฉพาะด้านการบริการภาคพื้น

Author Biography

ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ, คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

References

พัชรียา แก้วชู. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก

https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993619.pdf [2564, 11 พฤศจิกายน].

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2564). ระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสารสำหรับเส้นทางบิน

ภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2564 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://www.airports.go.th/upload/download/file_24bf412e8678fe23dd4fae7a165ce602.pdf [2564, 11 พฤศจิกายน].

หฤทัย คําภา, ฉัตรปารี อยู่เย็น และเมทินี รัษฎารักษ์. (2562). การรับรู้และการตระหนักถึงความปลอดภัยในการให้บริการของสายการบินที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้

บริการของสายการบิน: กรณีศึกษาบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน). วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 2(3),

หน้า 22-37.

Cochran, William G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York, NY: John Wiley & Sons.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York, NY: Harper Collins.

Gossling, Stefan, Scott, Daniel, & Hall, Michael C. (2020). Pandemics, tourism and global change: A rapid assessment of COVID-19 (Online).

Available: https://www.tandfonline.com/doi/full/ 10.1080/09669582.2020.1758708 [2021, September 1].

Budd, Thomas, et al. (2021). An assessment of air passenger confidence a year into the COVID-19 crisis: A segmentation analysis of

passengers in Norway (Online). Available: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S096669232100257X?via%3Dihub

, November 15].

Zhang, Linfeng, et al. (2021). The impact of COVID-19 on airline passenger travel behavior: An exploratory analysis on the Chinese aviation

market (Online). Available: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0969699721000673?via%3Dihub

, November 15].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-06