การศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลสุดเขตภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ทองขาว ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา

คำสำคัญ:

เมืองรอง, ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว, อุปสงค์การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และอุปสงค์การท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลสุดเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน และมีการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยได้ค่า S-CVI/Ave = .90 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = .97 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวและอุปสงค์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลสุดเขตภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งของภาพลักษณ์การท่องเที่ยว มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลสุดเขตภาคตะวันออก ดังนั้นการท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลสุดเขตภาคตะวันออก ควรมีการรักษาและอนุรักษ์ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทางกายภาพ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาภาพลักษณ์ด้านสิ่งก่อสร้าง  ด้านพืชพันธุ์และสัตว์ และด้านเศรษฐกิจตามลำดับ 

Author Biography

อนุรักษ์ ทองขาว, ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา

หัวหน้าภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). “ททท. งัด 7 คัมภีร์ Go Local บุกครึ่งหลังปี 61 ต่อยอด 4 เดือนแรก 55 เมืองรองโกย 8 หมื่นล้าน” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://www.matichon.co.th/publicize/news_1018615 [2563, 17 เมษายน].

ชลดา แสนคำเรือง และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยว: กรณีศึกษา การท่องเที่ยว ในจังหวัดเลย. วารสารการเงิน การลงทุน

และการบริหารธุรกิจ, 3(4), หน้า 223-242.

ณัฐพงศ์ วิชัยดิษฐ์ และผกามาศ ชัยรัตน์. (2563). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์

พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(2), หน้า 183-192.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเสริฐ ใจสม, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, ปฎิญญา บุญผดุง และเอื้ออัมพร ทิพยทิฆัมพร. (2563). บุพปัจจัยของความยั่งยืนของการท่องเที่ยว

เมืองรอง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), หน้า 133-144.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2553). เศรษฐศาสตร์ภาคบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุวัตร สิทธิหล่อ. (2558). ท่องเที่ยวไทยก้าวไกลอาเซียน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 10(2), หน้า 1-4.

Burns, Peter. M., & Novelli, Marina. (2008). Tourism development: growth, myths, and inequalities. London, UK: CABI.

Ching-Fu, Chen, & DungChun, Tsai. (2007). “How destination image and evaluative factors affect behavioral intentions?”. Tourism

Management, 28(4), pp. 1115-1122.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). New York, NY: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31