โมเดลความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ส่งผลผ่านการตัดสินใจซื้อและ พฤติกรรมหลังการซื้อไปยังความตั้งใจซื้อสินค้าตามความเชื่อของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ธนภณ นิธิเชาวกุล., และคณะ สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความเชื่อหลักโหราศาสตร์, การตัดสินใจซื้อ, พฤติกรรมหลังการซื้อ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ การตัดสินใจซื้อ พฤติกรรมหลังการซื้อ และความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ส่งผลผ่านการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมหลังการซื้อไปยังความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรในการวิจัยเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าโดยมีความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจซื้อ รวมถึงมีพฤติกรรมหลังการซื้อและความตั้งใจซื้อสินค้าดังกล่าวที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และใช้การวิเคราะห์ตัวแบบจากสมการโครงสร้าง (Structural Equation

Model Analysis: SEM) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ทางสถิติประเภทพหุตัวแปร ผู้วิจัยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 20 เท่าของตัวแปรในโมเดล ดังนั้นขนาดตัวอย่างในการวิจัยจึงเท่ากับตัวแปรสังเกตได้ 17 ตัวแปร คูณ 20 เท่ากับ 340 ตัวอย่าง

                   ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์มีค่า CR=.946 และ AVE=.778 การตัดสินใจซื้อ มีค่า CR=.858 และ AVE=.520 พฤติกรรมหลังการซื้อ มีค่า CR=.956 และ AVE=.878 และ ความตั้งใจซื้อ มีค่า CR=.903 และ AVE=.757 และการวิเคราะห์อิทธิพลของความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ในโมเดลฯ พบว่าความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค โมเดลมีอิทธิพลส่งผ่านแบบสมบูรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และและความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า พฤติกรรมหลังการซื้อสินค้า ไปยังความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค มีอิทธิพลส่งผ่านแบบสมบูรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุปได้ว่าความเชื่อตามหลักโหราศาสตร์ส่งผลผ่านการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมหลังการซื้อไปยังความตั้งใจซื้อสินค้าตามความเชื่อของผู้บริโภคมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Author Biography

ธนภณ นิธิเชาวกุล., และคณะ, สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สามลดา

ธนภณ นิธิเชาวกุล, กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่, วรรณภา ลือกิตินันท์ และกีรติกร พุฒิวิญญู. (2565). ลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อ

ความตั้งใจซื้อสินค้าตามความเชื่อหลักโหราศาสตร์ของผู้บริโภค อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี, 8(1),

หน้า 73-84.

แบรนด์เอจ ออนไลน์. (2564). เมื่อ 'มูเตลู' กลายเป็นเครื่องมือทางการตลาด (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://www.facebook.com/brandageonline/photos/a.466989453828/10159570435583829/ [2564, 28 พฤษภาคม].

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลสถิติด้านเเรงงาน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=social [2564, 18 กุมภาพันธ์].

สุภชัย ปกป้อง. (2562). คนไทยกับตลาดความเชื่อ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.kaohoon.com/content/313152

, 3 กรกฎาคม].

สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และ

พฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้ โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เจริญมั่นคงการพิมพ์.

Aeschleman, S.R., Rosen, C.C., & Williams, M. R. (2003). The effect of non-contingent negative and positive

reinforcement operations on the acquisition of superstitious behaviors. Behavioural Processes, 61(1-2),

pp. 37-45.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2),

pp. 179-211.

Block, L., & Kramer, T. (2009). The effect of superstitious beliefs on performance expectations. Journal of the

Academy of Marketing Science, 37(2), pp. 161-169.

Bourassa, S.C., & Peng, V.S. (1999). Hedonic prices and house numbers: The influence of feng shui. International

Real Estate Review, 2(1), pp. 79-93.

Doucouliagos, H. (2004). Number preference in Australian stocks. Applied Financial Economics, 14(1), pp. 43-54.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York:

Pearson Education.

Hamerman, E. J., & Johar, G. V. (2013). Conditioned Superstition: Desire for Control and Consumer Brand

Preferences. Journal of Consumer Research, 40(3), pp. 428–443.

Karl, G. Joreskog, & Dag, Sorbom. (1993). LISREL 8 : Structural equation modeling with the SIMPLIS command

language. Chicago: Scientific Software International.

Kotler, Philip & Keller, Kevin Lane. (2016). Marketing management (15th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Kramer, T., & Block, L. (2008). Conscious and nonconscious components of superstitious beliefs in judgment and

decision making. Journal of Consumer Research, 34(6), pp. 783-793.

Lin, MT-Y. (2019). Effects of Experiential Marketing on Experience Value and Customer Satisfaction in Ecotourism.

Foundation Environmental Protection & Research, 28(107), pp. 3151-3156.

Pickering, J.F., & Isherwood, B.C. (1974). Purchase probabilities and consumer durable buying behaviour. Journal

of market research society, 16(3), pp. 203-226.

Pratt, S., & Kirillova, K. (2019). Are hotel guests bothered by unlucky floor or room assignments?. International

Journal of Hospitality Management, 83, pp. 83-94.

Sierra, J. J., Hyman, M. R., Lee, B. K., & Suh, T. (2017). Intrinsic Religiosity and Attitude toward Finales as Precursors

of Superstitious Beliefs: A Cross-Cultural Investigation. Asian Journal of Business Research, 7(1), pp. 58-78.

Vaidyanathan, R., Aggarwal, P., & Bakpayev, M. (2018). A Functional Motivation Framework for Examining

Superstitious Behavior. Journal of the Association for Consumer Research, 3(4), pp. 454-465.

Wong, K. F., & Yung, L. (2005). Do dragon have better fate?. Economic Inquiry, 43(3), pp. 689-697.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-12