บทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
บทบาทของครู, การพัฒนาทักษะชีวิต, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน จำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบต่อห้อง และที่ตั้งของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี สำหรับครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนและทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC=.97 และมีค่าความเชื่อมั่น=.94 และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของข้อคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี โดยรวมและแยกรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ครูมีบทบาทในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนมากเป็นลำดับแรกคือ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิตตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน และด้านบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียนโดยเทคนิคต่าง ๆ ตามลำดับ 2) ครูที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน จำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบต่อห้องต่างกัน ส่งผลต่อบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนไม่แตกต่างกัน ขณะที่ที่ตั้งของโรงเรียนส่งผลต่อบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน โดยครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีที่ตั้งโรงเรียนในเขตเทศบาลมีบทบาทในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี มากกว่าครูที่มีที่ตั้งโรงเรียนอยู่นอกเขตเทศบาล 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมแบบ Active Learning โดยจัดให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหรือมีการปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การสร้างบรรยากาศชั้นเรียนให้เหมาะแก่การเรียน การสอน ลดความตึงเครียดในห้องเรียน การสร้างสถานการณ์จำลองในรูปแบบต่าง ๆ ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระโดยไม่ตัดสินว่าความคิดนั้นถูกหรือผิด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). รายงานการวิจัยการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาด
โดยการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ดรุณี จันทร์แก้ว. (2553). การบริหารงานวิชาการแบบการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จังหวัดนราธิวาส. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วศิน ชูชาติ. (2559). ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วารุณี ลัภนโชคดี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการประเมินคุณภาพภายนอก
ทั้งสามรอบของ สมศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).
วิภาดา ศรีเจริญ. (2554). รายงานการวิจัยในชั้นเรียนผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพเบื้องต้น.
พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สุกันยา ลัทธิพรหม. (2546). บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
อำเภอร่อนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2531). การบริหารโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). การประชุมวิชาการการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2561-2565. ชลบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เสริมศรี ลักษณะศิริ. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต.
Krejcie, V.R., & Morgan, W.D. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement,
(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี