ความสัมพันธ์ของทักษะวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี, อุตสาหกรรมอมตะซิตี้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง และ 2) เพื่อทดสอบทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง จำนวน 175 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด
ผลการวิจัยพบว่าทักษะวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ได้แก่ ทักษะวิชาชีพบัญชีด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะวิชาชีพบัญชีด้านการจัดการตัวเอง และทักษะวิชาชีพบัญชีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทักษะดังกล่าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กษมาพร ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://eco.ieat.go.th/th/eco-excellence/1569 [2566, 12 ธันวาคม].
ณิชา เกตุงาม. (2562). ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, คณะการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดลหทัย อนุตธโต. (2563). ทักษะวิชาชีพบัญชีและความผูกพันต่อองค์กรที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการเหล่าการเงิน มณฑลทหารบกที่ 12 ในค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการบัญชี, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บุญศิริ.
ปริยากร ปริโยทัย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ภัสรนันท์ ไพรสรรณ์. (2562). กระบวนตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีกับงานบัญชีของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
โศรยา บุตรอินทร์ และคณะ. (2562). ผลกระทบของการเรียนรู้มาตรฐานการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). ทักษะและเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับนักบัญชีบริหาร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.tfac.or.th/Article/Detail/123469/ [2566, 12 ธันวาคม].
หทัยรัตน์ คำฝั้น และจีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2560). วิสัยทัศน์ทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านบัญชีของธุรกิจโรงแรมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี