การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
AR Technology, Body Organ System, Media Incorporatingบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อหาคุณภาพของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยการพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 36 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่าสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประกอบด้วย รูปภาพประกอบ วิดีโอ และแอปพลิเคชันที่มีการนำเทคโนโลยีเออาร์มาผสมผสาน โดยมีผลประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในภาพรวมของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย=4.45, SD=0.37) ผลประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย ในภาพรวมของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย=4.47, SD=0.55) ประสิทธิภาพของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 89.05/81.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 ผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย=12.14) คิดเป็นร้อยละ 48.56 และคะแนนหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย=21.19) คิดเป็นร้อยละ 81.78 เมื่อคํานวณค่าที พบว่าค่าทีคำนวณสูงกว่าค่าทีในตาราง แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 และการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.55, SD=0.67)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2021/04/IndicatorSci2560.pdf [2565, 14 กันยายน].
ดวงมณี แสนมั่น, นนกาญจน์ ฉิมพลี และวิภาวรรณ อารยะชัย. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนในรายวิชาโลหิตวิทยา. วารสารมหาวิทยาลัย-ศิลปากร, 38(3), หน้า 73-89.
ธนพงษ์ ไชยลาโภ, เอกลักษณ์ โภคทรัพย์ไพบูลย์ และปริญญ์ โสภา. (2559). การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์เรื่อง: การออกแบบเพื่อการผลิตสื่อปฏิสัมพันธ์ และมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), หน้า 134-143.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พัชรี ปุ่มสันเทียะ. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในรายวิชาภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2561). ความสำคัญของวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: www.stem.nrru.ac.th/article/2/ความสำคัญของวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง [2565, 14 กันยายน].
โรงเรียนสตรีนครสวรรค์. (2565). ด้านที่ 3 ข้อมูลนักเรียน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www. sns.ac.th/Information_School/03-Educational-Information-School.pdf [2565, 14 กันยายน].
รัตติยากร วาปีกัง, ศศิพร พงศ์เพลินพิศ และ สุชีรา มะหิเมือง. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15(8), หน้า 12-22.
วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), หน้า 373-385.
สุนทรี มนตรีศรี. (2562). การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงเรื่องสร้างงานแอนิเมชั่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เอชอาร์ โนท. (2564). การศึกษา (Education) สำคัญอย่างไรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://th.hrnote.asia/ orgdevelopment/190625-education-for-hrd/#:~:text=การศึกษาทำให้มนุษย์มี,หรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ [2565, 14 กันยายน].
อัครเทพ อัคคีเดช. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่องเครื่องดนตรีสากลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ องครักษ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
Teeranathanakul, Pairot, & Kiatiknmol, Paiboon. (1998). Creating IMMCAI Package. Journal of Industrial Education, 1(5), pp. 14-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี