วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto
<p>วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็น<strong>วารสารที่รวบรวมบทความวิจัย/วิชาการ</strong> ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <strong>โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</strong>เป็นสื่อ รวบรวม เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลงานของงานวิจัย สู่ระดับมาตรฐานสากล เป็นสื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดระหว่างนักวิจัยทั้งใน และต่างประเทศ และเสริมสร้างให้เกิดผลงานวิจัยใหม่ๆ ทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย มีกำหนดเผยแพร่วารสาร ปีละ 2 ครั้ง (มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p> </p>
en-US
sompong_au@rmutto.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ)
journal2rmutto@gmail.com (นางสาวอธิษฐาน บุญเสริม)
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบิน ต้นทุนต่ำที่ให้บริการในประเทศไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/269636
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินตามความคิดเห็นของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะในการให้บริการกับความสามารถในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสมรรถนะและความสามารถในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำตามความคิดเห็นของผู้โดยสารสายการบิน โดยจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยที่ได้รับต่อเดือน สถานภาพการสมรส วัตถุประสงค์ในการใช้บริการ และความถี่ในการใช้บริการ การเข้าถึงข้อมูลสายการบิน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน สมรรถนะในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ ตามความคิดเห็นของผู้โดยสารสายการบิน โดยจำแนกตามถิ่นที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการเดินทาง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ ตามความคิดเห็นของผู้โดยสารสายการบิน โดยจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยที่ได้รับต่อเดือน ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานภาพสมรส ความถี่ที่ใช้บริการ การเข้าถึงข้อมูลสายการบิน และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการเดินทาง โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2) ความสามารถในการให้บริการของพนักงาน ต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำ โดยรวมมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินต้นทุนต่ำโดยรวมอยู่ในระดับสูง (r = 0.828) และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน</p>
กิตติยา ขจรไตรเดช , รชตธรรมรงค์ พชรมนต์ชัย , ลัลน์ลลิต ตั้งสิทธิ, รวิสรา เทียนเบ็ญจะ
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/269636
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ทัศนคติและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่รอบวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/270631
<p>บทความวิจัยเรื่อง “ทัศนคติและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่รอบวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในบริเวณพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาทัศนคติของคนในบริเวณพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) เพื่อออกแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้คำถามแบบมีโครงสร้าง (2) การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอยู่ในระดับปานกลางสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคค่อนข้างครบครัน เมื่อเกิดปัญหาก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลบ้างเป็นบางครั้ง แต่ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาเล็กๆน้อยๆตามมาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้และมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยว ทัศนคติของคนในชุมชนที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวรู้สึกดีมีทัศนคติด้านบวกต่อแหล่งท่องเที่ยวเพราะนอกจากแหล่งท่องเที่ยวนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับคนในพื้นที่แล้วแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักที่ทำให้คนในชุมชนเกิดรายได้เกิดอาชีพที่มั่นคงสามารถสร้างรายได้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้ ทัศนคติที่มีต่อนักท่องเที่ยวมีความรู้สึกดีๆให้แก่นักท่องเที่ยวไม่มีความรู้สึกหรือว่าทัศนคติที่มีด้านลบต่อนักท่องเที่ยว นอกจากนี้นักท่องเที่ยวก็ยังเป็นนักท่องเที่ยวที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เคารพกฎของสังคมเคารพต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยไม่รบกวนวิถีชีวิตของคนในชุมชน การออกแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านร่างกายและจิตใจ ควรมีการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนป้องกันเชื้อโรคติดต่อและการตรวจสุขภาพให้แก่คนในชุมชนท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่เหมาะสม ด้านการจัดการการจราจรควรมีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จราจรลงพื้นที่อยู่ประจำบริเวณถนนหน้าวัดไชยวัฒนารามเพื่อดูแลการจราจรบริเวณดังกล่าวจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบและลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในบริเวณรอบชุมชน ด้านบริหารจัดการร้านค้า ควรมีการพัฒนาในการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้คนในชุมชนสามารถมีสินค้าที่หลากหลายและมีรูปแบบเอกลักษณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น</p> <p> </p>
ณัฐพิชัย ทานัน, มงคล ศิริสุนทร , ภัครพล แสนใจ, ลัดดากร เนียมประพันธ์ , ชนกนารถ ราชภักดี
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/270631
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
อิทธิพลของอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านสังคมของกลุ่มวัยรุ่น : กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/267864
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่น กรณีศึกษานักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง คือ นักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกชั้นปี ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 376 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า อิทธิพลของการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นมีผลต่อพฤติกรรมทางด้านการศึกษา มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียน เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำการบ้านและงานที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลในการทำงาน ค้นหาข้อมูลแทนการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด ด้านการติดต่อสื่อสาร มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักศึกษาใช้อีเมล์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาจากเว็บไซต์แหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อส่งการบ้าน รายงาน ในรูปแฟ้มข้อมูล ใช้เว็บบอร์ดต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนหรือแสดงความคิดเห็น ใช้ในการติดต่อกับเพื่อน และเพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวทางวิชาการ และยังมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ระดับมาก คือ นักศึกษาใช้อีเมล์ในการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลและบริการยืมหนังสือของห้องสมุด ใช้บริการเว็บบอร์ดต่าง ๆ ในการตั้งกระทู้ต่าง ๆ ที่สนใจ ด้านความบันเทิง มีผลเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการติดตามหรืออ่านข่าวสาร บันเทิง นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการเล่นเกมส์ออนไลน์ ใช้เป็นสื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อกับกลุ่มเพื่อน ใช้ในการดาวน์โหลด เพลงหรือภาพ ด้านความเสี่ยงทางสังคม มีผลเฉลี่ยรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการหาคู่ ใช้เพื่อการกู้ยืมเงินออนไลน์ ใช้เพื่อเล่นเกมส์การพนัน ใช้เพื่อเข้าชมเว็บล่อแหลมอื่น ๆ</p>
วรพล แจ่มสวัสดิ์, วีรวรรณ ธานี, ธนาชัย จันทชาติ, สุพรรณี รัตนานนท์
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/267864
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ทักษะวิชาชีพของนักบัญชียุคใหม่ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268949
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทักษะวิชาชีพของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี และเพื่อตรวจสอบตัวแปรแทรกความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพของนักบัญชียุคใหม่กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะวิชาชีพของนักบัญชียุคใหม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของนักบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะด้านการจัดการองค์กร และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ทักษะด้านงานบริการ และทักษะในการเป็นคู่คิดผู้บริหาร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองไม่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพของนักบัญชียุคใหม่กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
กาญจนา วงษ์ด้วง, พัทรียา เห็นกลาง, สุวิทย์ ไวยทิพย์
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268949
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยการพัฒนากลยุทธ์เพื่อจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268867
<p> </p> <p>ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้สังคมโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ยากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านสังคมด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่จนตามแทบไม่ทัน อีกทั้งความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น การพัฒนากลยุทธ์จึงถือได้ว่าเป็น การจัดทำแผน เพื่อจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อให้องค์กรกลับมาดําเนินธุรกิจได้อย่างปกติ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากลยุทธ์ เพื่อจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 215 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นเดี่ยว (Simple Linear Regression) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ด้านการปรับกระบวนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ด้านการรับผิดชอบต่อสังคมและด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งผลต่อการพัฒนากลยุทธ์เพื่อจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการวิจัยนี้ หน่วยงานหรือผู้ที่สนใจ สามารถนำผลการวิจัย ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนากลยุทธ์เพื่อจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียนได้อย่างยั่งยืนต่อไป</p>
สมนึก หาญพิเศษ , กาญจนา โพธิวิชยานนท์ , นีรนุช นาคอ่วมค้า
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268867
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การตีความของคำว่า “ กระทำชำเรา อนาจาร และอนาจารโดยการล่วงล้ำ ”
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268447
<p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของการตีความคำว่า “กระทำชำเรา” “อนาจาร” “อนาจารโดยล่วงล้ำ” ตามกฎหมายไทย และเพื่อศึกษาถึงมาตรการของกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการตีความคำว่า “กระทำชำเรา” “อนาจาร” “อนาจารโดยการล่วงล้ำ” โดยได้ศึกประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมนี จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีการพัฒนาคำว่ากระทำชำเรา และอนาจาร โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ที่มีการใช่กฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127 ที่ได้มีการเปลี่ยนผู้กระทำจาก “ชายใด” มาใช้คำว่า “ผู้ใด” แทน ซึ่งตีความได้ว่าผู้กระทำเป็นได้ทั้งหญิงและชาย และการอนาจารตามกฎหมายฉบับนี้นั้นเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ ต้องดูเจตนาของผู้กระทำผิดด้วย ดังนั้นผู้กระทำและผู้ถูกระทำเป็นได้ทั้งหญิงและชาย การอนาจารโดยล่วงล้ำนั้นยังมิได้มีการบัญญัติไว้ในฉบับนี้</p> <p> ประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 จนถึงปีพ.ศ.2499 ได้ยกร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ เรียกว่าประมวลกฎหมายอาญาที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2500 และยังคงใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งมีการบัญญัติความผิดกระทำชำเราไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ผู้กระทำเป็นได้ทั้งหญิงและชาย เนื่องจากใช้คำว่า “ผู้ใด” และความผิดสำเร็จได้ก็ต่อเมื่ออวัยวะเพศชายได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศหญิง และความผิดฐานอนาจารที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 278 ความผิดฐานกระทำอนาจารบุคคลอายุกว่า 15 ปี และ ตามมาตรา 279 ความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ดังกล่าวได้มีการบัญญัติให้การกระทำอนาจารเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และมาตรา 279 ซึ่งผู้กระทำผิดตามมาตราดังกล่าวไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเป็นเพศใด และการกระทำที่ถือว่าอนาจารนั้นต้องไม่เป็นกระทำชำเรา แต่เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสร่างกายของผู้ถูกกระทำโดยตรงหรือผ่านเสื้อผ้า และในส่วนของการอนาจารโดยล่วงล้ำยังไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้</p> <p> การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 19 มีการแก้ไขในส่วนของการกระทำชำเรา ซึ่งมีการขยายความหมายออกไปจากการร่วมประเวณีตามธรรมชาติ ให้คุ้มครองถึงการใช้สิ่งอื่นใดสอดใส่เข้าไปในทวารหนัก หรืออวัยวะเพศอีกด้วย ให้ส่วนของการกระทำอนาจารมิได้มีการแก้ไขส่วนใดเพิ่มเติม</p> <p> การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 27 ได้แก้ไขในส่วนของการกระทำชำเรา โดยสิ่งอื่นใดหรืออวัยวะอื่นที่ไม่ใช่อวัยวะเพศสอดใสเข้าไปในอวัยวะเพศ หรือทวารหนักของผู้ถูกกระทำ ซึ่งถูกย้ายไปเป็นเหตุฉกรรจ์ของการอนาจาร เป็นความผิดฐานอนาจารโดยล่วงล้ำ และความผิดฐานอนาจารต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายในการกระงับความต้องการทางเพศของตน หรือผู้อื่น และต้องกระทำต่อเนื้อตัวของบุคคล</p> <p> เมื่อมาเปรียบเทียบกับมาตราการของต่างประเทศพบว่าความผิดฐานการกระทำชำเราในประเทศอังกฤษ และประเทศเยอรมันนี ผู้กระทำความผิดเป็นได้ทั้งชายและหญิง และจะมีการสอดใส่เข้าไปอวัยวะเพศ ช่องปาก หรือทวารหนักของผู้ถูกกระทำ ในกรณีที่มีการใช่อวัยวะหรือสิ่งอื่น ในประเทศอังกฤษได้มีการจัดเป็นความผิดฐานกระทำชำเราด้วยเช่นกัน</p> <p> การอนาจารในกฎหมายประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมนี นั้นเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศต่อร่างกายภายนอกต่อบุคคลอื่น และการกระทำที่จะทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความอับอาย และจะต้องไม่มีการสอดใส่เกิดขึ้นแต่จะแตกต่างกันในเรื่องของอายุการให้ความยินยอมเท่านั้น</p>
โซฟียา แหละหมัน, กิตติยา แก้วมณี, กมลชนก หลิมปานนท์, กฤตพร บัวเนี่ยว, กิตติมา สตูล, วิรัตน์ นาทิพเวทย์
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268447
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/269324
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อหาแนวทางการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ โดยวิเคราะห์ปัจจัย 4 ด้าน ที่ได้จากการสังเคราะห์ผลการวิจัยจากนักวิจัยหลายท่าน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร ทรัพยากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทัศนคติของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ และความรู้และทักษะของบุคลากร โดยเลือกสถานศึกษา 3 แห่งเป็นกรณีศึกษา ใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยวิธีการเจาะจง ครอบคลุมโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ใช้แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และลงข้อสรุปแบบอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า</p> <ol> <li>กลไกการติดต่อสื่อสารเพื่อรับทราบนโยบาย เป็นหนังสือราชการและการประชุม ครูและบุคลากรของโรงเรียนรับรู้นโยบายจากผู้บริหารของโรงเรียนที่ไปรับนโยบายแล้วมาแจ้งให้ครูและบุคลากรรับทราบโดยการประชุม</li> <li>ทุกโรงเรียนมีจำนวนครูด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงพอ ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ มีห้องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแต่มีความเร็วต่ำ ใช้สื่อการสอนส่วนใหญ่เป็น Powerpoint</li> <li>ผู้บริหารเห็นว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์มีทักษะสามารถตอบสนองนโยบายได้ดี ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์สามารถนำความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ของตนมาใช้ในการสอนได้เป็นอย่างดี ส่วนครูที่ไม่ได้สอนวิชาคอมพิวเตอร์หรือครูที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางคอมพิวเตอร์ ก็มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน</li> </ol> <p>4. ครูส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ มีการพัฒนาความรู้และทักษะเป็นครั้งคราว โดยการฝึกอบรมที่หน่วยงานส่วนกลางหรือจากหน่วยงานภายนอก เมื่อครูฝึกอบรมกลับมาแล้วก็มาฝึกอบรมให้กับครูคนอื่นของโรงเรียนต่ออีก บางโรงเรียนมีห้องคอมพิวเตอร์และบุคลากรพร้อมก็จัดการฝึกอบรมเอง</p>
พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/269324
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/269679
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและสร้างสมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ สูงอายุทั้ง 21 ตำบล ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 394 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>คุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean=4.03, S.D.=0.86) ระดับคุณภาพชีวิตรายด้าน อยู่ในระดับสูงทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ก้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสภาพแวดล้อม</li> <li>ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ความแข็งแรงของร่างกาย การมีสมาธิในการทำงาน ความพึงพอใจที่ได้ผูกมิตรกับคนอื่น และชีวิตความเป็นอยู่ภาพรวม ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ</li> <li>สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้าน</li> </ol>
นัสมล บุตรวิเศษ ; อุปริฏฐา อินทรสาด
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/269679
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ลักษณะประชากรศาสตร์และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อระดับความต้องการ ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268647
<p>การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์และศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาระดับความต้องการส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 3) เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับระดับความต้องการส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีการสุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-25 ปี มีสถานภาพ โสด ระดับการศึกษา ปริญญาตรี อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา เป็นต้น พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า เหตุผลที่มาใช้บริการ ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม คือ มารับประทานอาหารมากที่สุด ความถี่ในการใช้บริการร้านอาหาร/เครื่องดื่ม โดยเฉลี่ยปริมาณ 1-2 ครั้ง/เดือน ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายอาหาร/เครื่องดื่ม ประมาณ 101-500 บาท มักใช้บริการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้บริการ 1-2 ชั่วโมง สื่อออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ช่วงเวลา 15:01 น.-20:00 น. และวันเสาร์-วันอาทิตย์ เป็นต้น 2) ระดับความต้องการส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านกระบวนการใช้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านบุคคล ด้านส่งเสริมการขาย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ทั้งหมด พบว่าไม่แตกต่างกัน ขณะที่การจำแนกตามพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่ามีเพียงตัวแปรเดียวที่มีความแตกต่างกัน คือ เหตุผลที่มาใช้บริการ โดยแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p>
นัทธมน ทองจำรูญ , ศดานันท์ เจริญรักษ์ , พรชิตา เสนามิตร , วรกานต์ อุปฐาก , สวพล อินริสพงศ์ , ธนินทร์ สังขดวง
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/268647
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวและพัฒนาระบบบริหารจัดการ สู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/275997
<p> การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวและพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว 400 ชุด ด้วยการสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เป้าหมาย 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ทั้งในพื้นที่ทะเลน้อย พื้นที่เกาะหมาก และพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา อยู่ในระดับมาก มีการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาได้เป็นอย่างดี 2) การพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ควรมีมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในการเข้าพื้นที่หรือกำหนดระยะเวลาในการเข้าพื้นที่ประกอบกิจกรรม จัดให้มีห้องน้ำที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ จัดเตรียมพื้นที่สาธารณะและที่นั่งพักให้เพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและใช้เวลากับแหล่งท่องเที่ยวได้นานขึ้น จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และจัดให้มีกล้องวงจรปิดครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว</p>
ชูวิทย์ มิตรชอบ, สาลินี ทิพย์เพ็ง, ธนินทร์ สังขดวง, กุลดารา เพียรเจริญ, ชัยรัตน์ จุสปาโล
Copyright (c) 2024 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/275997
Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700