Dispute Board : An alternative dispute resolution for construction in Thailand

Authors

  • โชคชัย เนตรงามสว่าง
  • อุกฤษฎ์ ศรพรหม

Keywords:

คณะกรรมการข้อพิพาท, ข้อพิพาทด้านการก่อสร้าง, วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก

Abstract

          การระงับข้อพิพาททางธุรกิจในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากกระทบต่อระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจก่อสร้างซึ่งมีมูลค่าสูงและเชื่อมโยงไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ ทั้งภาคเอกชนด้วยกัน เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาครัฐเช่น หน่วยงานผู้ให้สัมปทาน และภาคประชาชน เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนในพื้นที่ก่อสร้าง โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ย่อมมีมูลค่าสูงและมีความซับซ้อนในการดำเนินการ ตั้งแต่การร่างสัญญาจนถึงการส่งมอบงาน ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสปัญหาและข้อพิพาทได้มากเช่นเดียวกัน และจะนำไปสู่ความล่าช้า ความเสียหาย หรือแม้กระทั่งการล้มละลายของผู้ประกอบการ บทความนี้จึงมุ่งวิเคราะห์ถึงความสำคัญและบทบาทของคณะกรรมการข้อพิพาท (Dispute Board) ในการบริหารจัดการข้อพิพาทโครงสร้างก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของหลายประเทศ เช่น โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติฮ่องกง โครงการเขื่อนคอนกรีตและโรงไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศจีน และโครงการเขื่อนคอนกรีตโค้งบนพื้นที่สูงในประเทศเลโซโท เป็นต้น และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแนวคิดเรื่องคณะกรรมการข้อพิพาทมาใช้กับสัญญาก่อสร้างของประเทศไทย

          แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้กำกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการข้อพิพาท แต่ก็มีปรากฏชัดเจนในทางปฏิบัติว่า แนวคิดเรื่องคณะกรรมการข้อพิพาทได้ถูกริเริ่มนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในโครงการก่อสร้างเขื่อน Boundary ในมลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ในรูปแบบของคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วมในช่วงทศวรรษ  1960 และมีพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อยมา จากการศึกษาพบว่า คณะกรรมการข้อพิพาทในปัจจุบันปรากฏใน 3 ลักษณะ คือ

  • คณะกรรมการตัดสินข้อพิพาท หรือ Dispute Adjudication Board ที่ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทเมื่อมีการเสนอข้อพิพาท
  • คณะกรรมการทบทวนข้อพิพาท หรือ Dispute Review Board ซึ่งมีลักษณะการดำเนินการในเชิงรุกก่อนที่จะเกิดข้อพิพาทขึ้น
  • คณะกรรมการที่ทำหน้าที่แบบผสม หรือ Combine Dispute Board ทั้งนี้ มีบทบาทสำคัญ 2 แบบ คือ (1) บทบาทในการหลีกเลี่ยงข้อพิพาท และ (2) บทบาทในการระงับข้อพิพาท

          ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การตั้งคณะกรรมการข้อพิพาทช่วยให้การบริหารจัดการข้อพิพาทมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดการสูญเสียทั้งในเชิงงบประมาณและเวลา คือ การที่คณะกรรมการข้อพิพาทถูกตั้งขึ้นตั้งแต่เริ่มสัญญา ซึ่งแตกต่างจากกลไกในการระงับข้อพิพาทแบบอื่น ทำให้คณะกรรมการข้อพิพาทได้รับทราบความเป็นไปของการปฏิบัติตามสัญญาและความคืบหน้าของโครงการอยู่เป็นระยะ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น จึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีและสามารถดำเนินการได้ทันทีจากปัจจุยดังกล่าว ทำให้สัญญามาตรฐานสำหรับโครงสร้างก่อสร้างขนาดใหญ่ของหลายองค์กรมีการกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการข้อพิพาทไว้ด้วย เช่น สัญญามาตรฐานของสมาพันธ์วิศวกรที่ปรึกษานานาชาติ (FIDIC) เป็นต้น

          สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดให้ใช้คณะกรรมการข้อพิพาทอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กลไกคณะกรรมการข้อพิพาทอาจยังไม่เป็นที่รู้จักหรือนำไปใช้มากเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี หากมีการศึกษาและพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการข้อพิพาทโดยใช้คณะกรรมการข้อพิพาทสำหรับสัญญาก่อสร้างในประเทศไทย อาจเป็นประโยชน์ต่อการบริหารสัญญาก่อสร้างและลดความเสี่ยงในการเสียหายทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น

References

Costintino, C.A. and Merchant C.S. Designing Conflict Management Systems: A Guide to Creating Productive and Healthy Organizations, San Francisco: Jossey-Bass, 1996).

CYRIL CHERN, Chern On Dispute Boards Practice and Procedure, third edition, (Informa Law from Routledge, 2015).

Douglas H. Yarn, Conflict" in Dictionary of Conflict Resolution, (San Francisco: Jossey-Bass, 1999).

FIDIC, THE FIDIC GOLDEN PRINCIPLES, 1st edition, (2019), International Federation of Consulting Engineers (FIDIC): Geneva.

International Chamber of Commerce (ICC), DISPUTE BOARD RULES 2004

International Chamber of Commerce (ICC), DISPUTE BOARD RULES 2015

J. Jenkins, International Construction Arbitration Law, 2nd edition, (2013).

Y. Tan, Large-Scale Construction Project Management: Understanding Legal and Contract Requirements, (Boca Raton, 2020).

วิจัยกรุงศรี, “ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง” ใน แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-64 มิถุนายน 2562.

Baker McKenzie, “Asia Pacific Construction Contract Management A primer on avoiding or managing disputes in construction projects in Asia Pacific.”

Brennan Ong and Paula Gerber, “Dispute boards: Is there a role for lawyers?” (2010) 5(4) Construction Law International 7.

Cyril Chern, “The Dispute Board Federation: Dispute Boards in Practice,” (Presentation as part of the World Bank’s Law, Justice, and D.evelopment Week in 2013).

J. Petkute-Guriene, “Access to Arbitral Justice in Construction Disputes (Dispute Board-Related Issues, Time Bar an Emergency Arbitration,” in C. Baltag and C. Vasile (eds.), Construction Arbitration in Central and Eastern Europe: Contemporary Issues (2019).

Mark Goodrich, “Dispute Adjudication Boards: Are they the future of dispute resolution?”

Nicholas Gould, “An Overview of the CIArb Dispute Board Rules” 1 July 2015 at the 7th Annual IBC Construction Law: Contracts and Disputes conference in London.

Paula Gerber and Brennan Ong, “SHOULD DAPS BE INCLUDED IN STANDARD FORM CONTRACTS?”, Law School, Monash University, Melbourne, AUSTRALIAN CONSTRUCTION LAW NEWSLETTER #143 MARCH/APRIL 2012.

PETER H.J. CHAPMAN, “The Use of Dispute Boards on Major Infrastructure Projects,” The Turkish Commercial Law Review, Vol 1, Issue 3, October 2015.

SAI-ON CHEUNG and HENRY C. H. SUEN, “A multi-attribute utility model for dispute resolution strategy selection,” Construction Management and Economics (2002) 20.

The Dispute Board Federation (Geneva) 2008 International Survey www.dbfederation.orgTimothy D. Keator, “Conflict vs. dispute?” in Mediate.com submission July 21, 2011 (revised).

Aceris Law LLC, “Dispute Boards and International Construction Arbitration,” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563,จากhttps://www.acerislaw.com/dispute-boards-and-international-construction-arbitration/.

belawyer, “Alternative Dispute Resolution vs Litigation,” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563, จาก https://thestudentlawyer.com/2013/10/23/alternative-dispute-resolution-vs-litigation-which-one-would-you-choose/.

Pablo Ferrara, “Dispute Boards for Infrastructure Projects in Latin America: A New Kid on the Block,” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563, จาก https://www.academia.edu/39042667/Dispute_Boards_for_Infrastructure_Projects_in_Latin_America_A_New_Kid_on_the_Block.

Research article

Downloads

Published

2022-09-30

How to Cite

เนตรงามสว่าง โ. ., & ศรพรหม อ. (2022). Dispute Board : An alternative dispute resolution for construction in Thailand. THAC Journal, 1(1), 1–12. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/THAC/article/view/267334