การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

ผู้แต่ง

  • ภูริทัศน์ ชาติน้ำเพชร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จำนวน 600 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ร่วมกับการศึกษาเอกสาร งานวิจัย และวารสารวิชาการ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test F-test         

ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยองค์ประกอบการมีส่วนร่วมทางงการเมืองที่เหมาะสมของไทยได้แก่ด้านการออกเสียงการเลือกตั้งมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสนทนาทางการเมือง การร่วมแสดงสัญลักษณ์ของพรรค การเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง การติดต่ออย่างเป็นทางการ การเป็นสมาชิกพรรคในการทำกิจกรรมทางการเมือง และการร่วมรณรงค์นโยบายทางการเมือง โดยที่เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้มีลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=7.077 , Sig.=.000, F=14.334 , Sig.=.000, F=13.141, Sig.=.000, F=7.404 , Sig.=.000, F=5.538, Sig.=.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.04.2021