การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนจังหวัดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตพื้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 428,041 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (t-test แบบ Independent samples) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test-one way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe/)
ผลการศึกษาพบว่า
- ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมคิดค้นสาเหตุ ด้านการดำเนินงาน ด้านการตัดสินใจ และด้านการติดตามและประเมินผล ตามลำดับ
- ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ที่เพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ แตกต่างกัน
- ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ที่ระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ แตกต่างกัน
- ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ที่อาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ แตกต่างกัน