ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความคิดเห็นของประชาชน, การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษาคือ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5,575 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test แบบ Independent samples) การทดสอบค่าเอฟ (F-test-one way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe/) ผลการศึกษาพบว่า
- สมาชิกกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดเก็บเงินกองทุนหมู่บ้าน รองลงมา ด้านสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ด้านบุคลากรบริหารกองทุนหมู่บ้าน ด้านการบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ด้านการวางแผนกองทุนหมู่บ้าน และด้านข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน
- 2. สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน
- 3. สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน
- 4. สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน