ปริทรรศน์หนังสือ ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา : สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทยกับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน ของอภิชาต สถิตนิรามัย และอิสร์กุล อุณหเกตุ.

ผู้แต่ง

  • วัชรชัย วิวัฒน์คุณากร
  • ภูริทัศน์ ชาติน้ำเพชร
  • ปิยะนันต์ จันทร์แขกหล้า

คำสำคัญ:

ทุน วัง คลัง

บทคัดย่อ

เมื่อกล่าวถึงทุน วัง คลังนั้น ภาพจำของคนส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการปกครองในสมัยอดีตที่มีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อำนาจในการปกครองการบริหารราชการทรัพยากรของรัฐอยู่ภายใต้อำนาจการบริหารราชการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐสยามตั้งแต่สมัยอยุธยาได้มีการติดต่อการค้า การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การจัดเก็บภาษีอากร การจัดระเบียบการปกครอง หรือการสร้างเมืองใหม่ในเขตหัวเมืองต่างๆ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากร จัดสรรรทรัพยากรของรัฐอย่างมาก ภายใต้กลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองของรัฐสยาม ประเด็นที่สำคัญของรัฐคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนาย 2475 รัฐสยามมีรัฐธรรมนูญแห่งรัฐที่เป็นกฎหมายสุดสุดที่กำหนดให้สยามมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย พร้อมทั้งมีสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยเฉพาะพลเมืองสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครอบครองที่ดินในการดำรงชีพ ประกอบอาศัย หรือสร้างถิ่นฐานเศรษฐกิจในชุมชนพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งในภูมิภาคต่างๆ ของรัฐอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.09.2022