จากแนวคิดสมุทรานุภาพสู่แง่มุมทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซีย ด้านมหาสมุทรอาร์กติกและหมู่เกาะคูริลที่มหาสมุทรแปซิฟิก

ผู้แต่ง

  • ธโสธร ตู้ทองคำ

คำสำคัญ:

สมุททานุภาพ รัสเซีย มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก

บทคัดย่อ

บทความเรื่องจากแนวคิดสมุทรานุภาพสู่แง่มุมทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซียด้านมหาสมุทรอาร์กติกและหมู่เกาะคูริลที่มหาสมุทรแปซิฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระสำคัญของแนวคิดสมุททานุภาพที่นำมาใช้อธิบายและวิเคราะห์ภูมิ

รัฐศาสตร์ภาคพื้นสมุทรของรัสเซียจากแง่มุมทางประวัติศาสตร์ผ่านมหาสมุทรอาร์กติกและมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และหมู่เกาะคูริลเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ เป็นการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษา พบว่า การรุกรานของรัสเซียที่มีต่อยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ภาคพื้นทวีป แต่หากย้อนพินิจในทางประวัติศาสตร์ ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ภาคพื้นสมุทรมีความสำคัญกับรัสเซียอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนหนึ่งกลับกลายเป็นปัญหาอุปสรรคของรัสเซีย ที่สำคัญ คือ มหาสมุทรอาร์กติกที่เผชิญกับการเป็นน้ำแข็งของขั้วโลกเหนือตลอดปี ทำให้ไม่สามารถเดินเรือหรือจัดวางกองกำลังทางยุทธศาสตร์และความมั่นคงได้ การเกิดปรากฎการณ์โลกร้อนส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายซึ่งควรจะได้เป็นประโยชน์แต่รัสเซียแต่กลับต้องเผชิญกับการแสวงหาผลประโยชน์จากมหาอำนาจอื่นเช่นกัน ขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกที่ควรจะเป็นประโยชน์กับรัสเซียกลับเผชิญความขัดแย้งนับตั้งแต่อดีต ที่สำคัญ คือ การเป็นสมรภูมิของสงครามรัสเซียกับญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1904 ถึง 1905 ซึ่งจบลงด้วยความปราชัยของรัสเซีย และปัญหาการครอบครองหมู่เกาะคูริลของรัสเซียภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ซึ่งสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลให้การแก้ปัญหาเผชิญปัญหาอุปสรรคเพิ่มมากขึ้นไปอีก 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2023