การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการธนาคารปูม้า กรณีศึกษาบ้านเกาะเตียบ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารจัดการธนาคารปูม้า, บ้านเกาะเตียบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการบริหารจัดการนาคารปูม้า กรณีศึกษาบ้านเกาะเตียบ และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการธนาคารปูม้า กรณีศึกษาบ้านเกาะเตียบ ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่บ้านเกาะเตียบ ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 380 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ t-test F-test และ การวิเคราะห์สมการถดถถอยพหุ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการบริหารจัดการธนาคารปูม้า กรณีศึกษาบ้านเกาะเตียบ พบว่า เพศที่ต่างกันมีความเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการธนาคารปูม้า กรณีศึกษาบ้านเกาะเตียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ขณะที่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชน ที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการธนาคารปูม้าบ้านเกาะเตียบแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ การมีส่วนร่วมของชุมชนทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย การค้นหาปัญหาร่วมกัน การวางแผน การตัดสินใจ การปฏิบัติงานร่วมกัน และ การประเมินผลสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการธนาคารปูม้า กรณีศึกษาบ้านเกาะเตียบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05