วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU
<p>วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ (Thai Research and Management Journal) ศูนย์บริการวิชาการสถาบันไทยวิจัยพัฒนาการจัดการร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นวารสารทางวิชาการที่มีแนวนโยบายพัฒนาผลงานวิจัยของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมสนับสนุนผลงานวิชาการของนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักการศึกษา อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป 2) ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และ 3) สร้างความรู้และองค์ความรู้ที่ถูกต้อง พัฒนาภูมิปัญญาระดับชาติและสากล</p>
ศูนย์บริการวิชาการสถาบันไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัยสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
th-TH
วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ
-
บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของประชาชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275810
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ใน<br>การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง <br>อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรได้แก่</p> <p>ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง <br>จังหวัดบึงกาฬ จาก 11 หมู่บ้าน เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 5,475 คน กลุ่ม<br>ตัวอย่างจำนวน 375 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน<br>ประมาณค่า สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br>t-test และ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟ<br>เฟ่<br>ผลการศึกษาพบว่า<br>1. บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของประชาชนในเขต<br>พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ โดยรวมอยู่ใน<br>ระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการประหยัด ด้านความมี<br>เหตุผล ความมีเมตตากรุณา ด้านความเสียสละ ด้านความอุตสาหะ ด้านความซื่อสัตย์ <br>ด้านความสามัคคี ด้านการรักษาระเบียบวินัย ด้านความกตัญญูกตเวที และด้าน<br>ความรับผิดชอบ ตามลำดับ <br>2.ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง <br>จังหวัดบึงกาฬ ที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาท<br>พระสงฆ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ไม่แตกต่างกัน</p>
พระไชยา อ้วนแก้ว
ผิน ปานขาว
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
1
27
-
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลเชกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275811
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานตาม<br>แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเชกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ <br>จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษาได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่<br>องค์การบริส่วนตำบลเชกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จาก 23 หมู่บ้าน เฉพาะผู้มี<br>สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 5,045 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ<br>เก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติทใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ<br>ทดสอบที (t-test แบบ Independent samples) และ F-test (one way ANOVA) <br>และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe/) <br>ผลการศึกษาพบว่า<br>1.การดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเซกา <br>อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โดยรวม รายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจาก<br>มากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม <br>ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ<br>2.ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามแผนพัฒนา<br>ท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ไม่แตกต่าง<br>กัน<br>3.ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตาม<br>แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ไม่<br>แตกต่างกัน<br>4. ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตาม<br>แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ไม่<br>แตกต่างกัน</p>
เด่นนภา อาจฉกรรณ
ผิน ปานขาว
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
28
49
-
ความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275803
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรคือ ประชาชนในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 94,226 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, one-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li class="show">ประชาชนในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านบุคลากรบริหารกองทุนหมู่บ้าน รองลงมา ด้านข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน และด้านการจัดเก็บเงินกองทุนหมู่บ้าน ด้านการวางแผนกองทุนหมู่บ้าน ด้านการบัญชีกองทุนหมู่บ้าน และด้านสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ตามลำดับ</li> <li class="show">ประชาชนในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ที่เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ไม่แตกต่างกัน</li> </ol>
วัฒนา เหลืองอ่อน
ชัยนันท์ธรณ์ ขาวงาม
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
50
68
-
ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275804
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของไทย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของไทยกับนโยบายการพัฒนาสังคม โดยเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี เนื่องจากไม่สามารถระบุจำนวนประชากรที่แน่นอนได้ จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของไทยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของไทยมีความสัมพันธ์กับนโยบายการพัฒนาสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.00</p>
จิดาภา ถิรศิริกุล
สกล สุขเสริมส่งชัย
วสันต์ ศรีสอาด
ศิรินันท์ ทิพย์เจริญ
ชัชชษา บุญเนียมแตง
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
69
86
-
การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร: ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และช่องทางบริการข้อมูล
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275806
<p>บทความนี้ทำการศึกษาแนวคิดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาโครงการ ปัญหาของผู้ใช้บริการ ร่วมกับการประเมินผลการดำเนินงานด้านการสื่อสาร อาศัยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปี 2566 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บทความนี้ค้นพบว่าประเทศไทยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดูแลด้านสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง และได้พยายามสื่อสารเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิในงานบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประชาชนบางกลุ่มยังมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลในช่องทางที่รัฐบาลจัดทำขึ้น ดังนั้น นอกจากการพัฒนาสิทธิการรักษาและการขยายหน่วยบริการเพื่อครอบคลุมทุกโรคและทุกพื้นที่แล้ว รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสารและการพัฒนาช่องทางบริการข้อมูลแก่ประชาชนด้วย</p>
ปรัชญา วงศ์วารี
บุรินทร์ สันติสาส์น
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
87
100
-
การประกอบสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้เรื่องราวของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ผ่านซีรีส์ละครชุด “เดอะ คราวน์” ทาง เน็ตฟลิกซ์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275807
<p>The Crown เป็นซีรีส์ประวัติศาสตร์ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์จนถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร ซีรีส์นี้ไม่เพียงแต่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของพระองค์ในฐานะผู้นำประเทศ แต่ยังช่วยให้ผู้ชมเข้าใจบทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสังคมและการเมืองอังกฤษ การประกอบสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้เกี่ยวกับพระราชินีผ่าน The Crown ไม่ได้มาจากเพียงแค่การเล่าเรื่องอย่างละเอียด แต่ยังเกิดจากการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างพระราชินีกับประชาชน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น และการจัดการกับวิกฤตต่าง ๆ</p> <p>ซีรีส์นี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบทบาทของพระราชินีผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน ทั้งในเรื่องการเมือง การทูต และชีวิตส่วนพระองค์ โดยการเล่าเรื่องผ่านหลายมุมมอง ผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถึงความท้าทายที่พระราชินีต้องเผชิญในการเป็นผู้นำและผู้พิทักษ์ความมั่นคงของชาติ นอกจากนี้ การแสดงภาพลักษณ์ของพระราชินีใน The Crown ยังสะท้อนถึงความซับซ้อนของการเป็นผู้นำในยุคสมัยใหม่ ที่ต้องประนีประนอมระหว่างประเพณีและความก้าวหน้า</p> <p>ในส่วนของการรับรู้ของผู้ชมซีรีส์ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการที่ประชาชนมองเห็นพระราชินี ไม่ใช่แค่ในฐานะผู้นำสูงสุดของประเทศ แต่ในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่งที่ต้องเผชิญความกดดันและการตัดสินใจที่ยากลำบาก ภาพลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองใน The Crown ถูกสร้างขึ้นอย่างละเอียดอ่อน สะท้อนถึงความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น การเสียสละเพื่อประเทศชาติ และความสามารถในการปรับตัวในช่วงเวลาที่ท้าทาย</p> <p>ผู้วิจัยจึงต้องการทำการศึกษา การประกอบสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้เรื่องราวของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ผ่านซีรีย์ชุดเดอะ คราวน์ โดยใช้วิธี “การอภิปรายความ” (Discourse) ซึ่งเสมือนเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ในระเบียบวิธีวิจัยแบบหนึ่งของการวิเคราะห์เนื้อความ (Textual Analysis) โดยทำการวิเคราะห์สิ่งที่ปรากฏอยู่ในซีรีย์ในรูปของเนื้อความ (Text) ที่เป็นทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา เพื่อสามารถสกัดแนวคิดที่สำคัญที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แล้วนำไปวิเคราะห์ว่าผู้สร้างซีรีย์ต้องการส่งสารชุดใดให้ผู้ชมเกิดการจดจำภาพลักษณ์และการรับรู้ของผู้ชมเกี่ยวกับเรื่องราวของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองรวมถึงภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ของสหราชอาณาจักรในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปอย่างไร ให้สามารถดำรงภาพลักษณ์ความนิยมอยู่ได้ในบริบทสังคมโลกปัจจุบันและต่อไปในอนาคต</p>
อธิพัฒน์ วรนิธิภาคย์
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
101
130
-
ความเป็นประชาธิปไตยของไทยในช่วงเวลาที่มีโครงสร้างทางการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/TRDMJOPOlSU/article/view/275809
<p>การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยตลอดระยะเวลากว่า 92 ปีนั้นยังไม่สามารถก้าวผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้เหมือนประเทศต้นแบบอย่างอังกฤษ เนื่องจากการเมืองไทยมีความเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงโครงสร้าง แต่ในขณะเดียวกันนั้นกลับมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นแบบคับแคบผสมมีส่วนร่วมมากกว่าการมีวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วมจริงๆ จึงทำให้เห็นว่าระบบการเมืองไทยยังไม่สามารถก้าวเข้าสู่รัฐประชาธิปไตยที่เข้มแข็งเหมือนกับในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว</p>
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
Copyright (c) 2024
2024-09-25
2024-09-25
5 2
131
145