ผลการสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ด้วยกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ สาขาดนตรีและการแสดง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, มิติความเป็นมนุษย์, การพัฒนาเยาวชน, ละคร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการเปลี่ยนแปลงลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยเรื่องการสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ด้วยชุดกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ข้อ คือ 1) เพื่อค้นหาชุดการเรียนรู้กระบวนการศิลปะการละครที่สร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์  2) เพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ผ่านชุดกระบวนการศิลปะการละคร บทความนี้เน้นไปที่วัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2

งานวิจัยออกแบบชุดกระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) กระบวนการละครเพื่อการเรียนรู้แบบละครร่วมสร้างบนฐานชุมชนบางปะกง และ 2) ชุดการเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์ผ่านบทละครเรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร แต่ละชุดประกอบไปด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน จากนั้นนำไปใช้จริงกับเยาวชน 2 กลุ่ม จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การถอดบทเรียนรายบุคคลและกลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ 

ผลการวิจัยพบว่าชุดการเรียนรู้ทำให้เยาวชนปรับมุมมองการใช้ชีวิตเพื่ออยู่อย่างมีความหมาย การกล้ายืนยันในวิถีชีวิตที่เน้นความยั่งยืนและเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบตัว เคารพผู้อื่นและเคารพวิถีธรรมชาติ เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง หัวใจเยาวชนเติบโตพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อสร้างความสมดุลชีวิต และเยาวชนพร้อมทำหน้าที่พลเมือง ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติความเป็นมนุษย์ที่สังคมโลกต้องการ

References

กรรณจริยา สุขรุ่งและคณะ. (2555). เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ตถาตา.

ธนวัฒน์ เจี่ยเจริญ. (2559, 20 มกราคม). สัมภาษณ์.

ธนวัฒน์ เจี่ยเจริญ. (2560, 14 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2559). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงคู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นภัสสร พงษ์พรหม. (2560, 14 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

เบลลันกา เจมส์ และแบรนต์ รอน. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, แปล). กรุงเทพฯ : Openworlds.

ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์, (2547). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พรรัตน์ ดำรุง, (2547). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ. (2562). ละครเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตัวตนภายใน. วารสารดนตรีและการแสดง. 5 (กรกฏาคม), 106-122.

ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ. (2559). หาดวอนนภา ชีวิตวัฒนธรรมชุมชนชายทะเล : การวิจัยผ่านกระบวนการศิลปะการละคร. วารสารศิลปกรรมบูรพา. 19 (มิถุนายน), 73-91

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, (ผู้เขียนบรรณานิทัศน์). (2552). Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress ของ Jack Mezirow and Associates. ใน นวลวรรณ ธุวรุงเรือง, (บรรณาธิการ), 80 เล่มที่คุณต้องอ่าน หนังสือจิตตปัญญาศึกษา (หน้า 20-21). กรุงเทพฯ : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ออตโต ชาร์เมอร์. (2563). หัวใจทฤษฎีตัวยู : หลักการและการประยุกต์ใช้สู่การตื่นรู้และการสร้างขบวนการทางสังคม (สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, แปล). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27 — Updated on 2022-05-11

Versions