https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/issue/feed ศิลปกรรมสาร 2024-12-31T13:56:09+07:00 ผศ.ดร.ภาวิณี บุญเสริม Fineartsjournal@tu.ac.th Open Journal Systems <p> ศิลปกรรมสาร เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และเป็นสื่<wbr />อกลางผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ทรรศนวิจารณ์และงานสร้างสรรค์<wbr />ทางศิลปกรรมศาสตร์ ในแขนงต่างๆ ทั้งด้านทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้จะต้องผ่<wbr />านการกลั่นกรองคุณภาพจากผู้<wbr />ทรงคุณวุฒิ และได้รับความเห็<wbr />นชอบจากกองบรรณาธิการ รายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตั<wbr />วและความรับผิดชอบเฉพาะของผู้<wbr />เขียน ไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็<wbr />นหรือเป็นความรับผิ<wbr />ดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ<br /><strong>ISSN 2822-0447</strong> (Print)<br /><strong>ISSN 2822-0439</strong> (Online)</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/267350 ศึกษาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์เห็ดวาฟเฟิลกรอบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฟาร์มเห็ดกลางบ้าน จังหวัดปทุมธานี 2024-05-21T14:33:45+07:00 จุฑามาศ เถียรเวช jutamach.vru@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์เห็ดวาฟเฟิลกรอบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฟาร์มเห็ดกลางบ้าน จังหวัดปทุมธานี ผ่านการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์และกราฟิกบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนมีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน วิสาหกิจชุมชนจึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบการพึ่งพาตนเองให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนฟาร์มเห็ดกลางบ้าน จังหวัดปทุมธานี เป็นการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ที่มีความต้องการที่อยากจะสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และสามารถเลี้ยงชีพตนเองได้ โดยผ่านปลูกเห็ดชนิดต่างๆเพื่อการขายและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา คือผลิตภัณฑ์เห็ดวาฟเฟิลกรอบ ที่มีส่วนผสมของเห็ดนางนวลสีชมพู ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์นี้ ผู้วิจัยจึงได้เข้ามาส่งเสริมด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 2 รูปแบบ คัดเลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยรูปแบบที่ 2 มีผลคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ค่าเฉลี่ย Mean = 3.96, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.74 ขั้นตอนต่อไปผู้วิจัยได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม ตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นประเภทกล่องกระดาษ ปริ้นด้วยระบบออฟเซต ภายในบรรจุด้วยขนมเห็ดวาฟเฟิลกรอบที่บรรจุลงในถุงใสซีลร้อน เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปภายใน มีขนาด 12X5X12 เซนติเมตร หลังจากนั้นผู้ได้นำมาผลิตเป็นต้นแบบบรรจุภัณฑ์ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ค่าเฉลี่ย Mean = 4.42, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.58</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/270101 การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความศรัทธาเทพฮินดู ชุด อุมามเหศวร 2024-02-24T17:39:47+07:00 อภิโชติ เกตุแก้ว Apichottui@gmail.com นรีรัตน์ พินิจธนสาร pnareerat9@gmail.com <p>การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด อุมามเหศวร มีจุดมุ่งหมายเพื่อนําาเสนอถึงความเป็นมาของภาพประติมากรรมรูปอุมามเหศวรที่ค้นพบเป็นหลักฐานทางโบราณคดี สะท้อนถึงคติความเชื่อและความศรัทธาต่อเทพเจ้าฮินดูในไศวนิกาย รวมทั้งแสดงถึงการอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียของไทยโดยผ่านวัฒนธรรมขอม โดยผู้วิจัยได้ทําาการเก็บข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการลงพื้นที่สําารวจเพื่อศึกษารูปลักษณะของภาพประติมากรรมอุมามเหศวรที่ปราสาทหินพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองตํา่าในจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นําาข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อออกแบบการแสดงตามองค์ประกอบการแสดงทางนาฏยศิลป์ผลการสร้างสรรค์พบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด อุมามเหศวร มีรูปแบบตามองค์ประกอบการแสดง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. เนื้อหาการแสดง: แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ประติมากรรมอุมามเหศวร มหาเทพของจักรวาล และการปกป้องดูแลทุกสรรพสิ่ง 2. นักแสดง: คัดเลือกได้ผู้แสดงชาย 1 คนในบทบาทของพระศิวะ และผู้แสดงหญิง 1 คน บทบาทของพระอุมา โดยพิจารณาจากทักษะทางนาฏศิลป์และลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมกับบทบาท 3. ลีลานาฏยศิลป์: ใช้การผสมผสานลักษณะลีลาร่วมกันของนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์อินเดีย 4. เพลงดนตรี: ประพันธ์เพลงขึ้นใหม่เป็นดนตรีร่วมสมัยผสมผสานเสียงจากเครื่องดนตรีอินเดียและขอมโดยใช้การแต่งเสียงดนตรีเพิ่มเติมจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5. เครื่องแต่งกาย: การออกแบบมีความเป็นพหุวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมร่วมระหว่างอินเดียและขอมและเลือกใช้วัสดุพื้นเมืองเพื่อสะท้อนถึงที่มาของการแสดง และ 6. แสงสี: ใช้แสดงสีโทนเข้ม เพื่อแสดงถึงพลังของเทพเจ้าและที่ตั้งของประติมากรรมในปราสาท และใช้แสงโทนสว่างส่องเฉพาะจุดเพื่อสร้างแสงเงาเน้นให้เห็นสรีระผู้แสดง ทั้งนี้ในการประกอบสร้างผลงานในครั้งนี้ถือเป็นการศึกษาและพัฒนาผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ตามกระบวนการในแนวทางเชิงวิชาการที่สามารถสะท้อนถึงคติความเชื่อทางศาสนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนเป็นผลงานที่ทําาให้คนรุ่นใหม่เกิดความสนใจในงานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และเข้าใจถึงคุณค่าของงานทางด้านนาฏยศิลป์มากขึ้นอีกด้วย</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/271078 การสร้างสรรค์การแสดงในรูปแบบฟิสิคัลเธียเตอร์สะท้อนประเด็นแนวคิดเรื่องอำนาจนิยมภายในรั้วโรงเรียน 2024-04-09T12:29:27+07:00 ธนัชพร กิตติก้อง tanaki@kku.ac.th ณรงค์ฤทธิ์ วิทยาบำรุง narongrit.w@kkumail.com ชลธิชา ศรีหาใต้ chonthicha.sr@kkumail.com ขวัญณพร นามมนตรี khaunnaporn.n@kkumail.com ณัฐรัชต์ การดี nattarat.k@kkumail.com กุลนันทน์ ไชโย kunlanant@kkumail.com <p>บทความวิชาการจากผลงานสร้างสรรค์เรื่อง ว๊อท - เดอะ - ฟ๊ากกกกก!!! (What the faccccc!!!) เป็นการถอดบทเรียนและองค์ความรู้จากการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงนิพนธ์ในระดับปริญญาตรี ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดงในรูปแบบฟิสิคัลเธียเตอร์ (Physical Theatre) ด้วยวิธีการดีไวซ์ (Devising) หรือละครร่วมสร้าง อาศัยแนวคิดเชิงสัญวิทยา (Semiotics) ในการออกแบบและนำเสนอ ผลงานมุ่งสะท้อนประเด็นเกี่ยวกับ “อำนาจนิยมในรั้วโรงเรียน” ที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทยในการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในกระบวนการสร้างสรรค์ประกอบไปด้วยการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกลุ่มผู้สร้างสรรค์ต่อประเด็นอำนาจนิยมภายในรั้วโรงเรียน จนกระทั่งได้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงาน “อำนาจนิยมในรั้วโรงเรียนทำให้เกิดแต่ความสูญเสีย” จากนั้นรวบรวมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พัฒนาโจทย์และเนื้อหาสาระจากสถานการณ์ที่อ้างถึงนั้น มีการสร้างสรรค์ตัวละครและโครงเรื่อง และพัฒนาเป็นบทการแสดง ร่วมไปกับการค้นหาภาพ สัญลักษณ์ สัญญะ เครื่องหมาย ที่เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวร่างกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดงต่าง ๆ ให้เป็นผลงานในรูปแบบฟิสิคัลเธียเตอร์ โดยเรื่องราวที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นการเล่าเรื่องอำนาจนิยมในรั้งโรงเรียนผ่านบริบทและพื้นที่เกม ใช้ประสบการณ์ของผู้เล่น (player) ในฐานะภาพแทนของนักเรียนที่ได้รับผลจากตัวละครในเกม (Non-player Character) ซึ่งเป็นภาพแทนของ ครู-อาจารย์ที่เป็นผู้มีอำนาจในระบบเกมนี้ ผู้เล่นจะต้องผ่านภารกิจซึ่งเปรียบเทียบกับสถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียน บทความวิชาการนี้มุ่งถอดองค์ความรู้โดยเชื่อมโยงหลักการและประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ผ่านขั้นตอนวิธีการของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดง</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/268810 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมคุณค่าของหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณของไทย 2024-02-11T12:00:03+07:00 จิรัชญา วันจันทร์ liberlek@gmail.com อนุชา แพ่งเกษร anuchapangkesorn@gmail.com <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ทางมรดกภูมิปัญญาหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณ ที่มุ่งเน้นคุณค่าความงามทางภูมิปัญญาหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณของไทย ซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์ที่เป็นศาสตร์ชั้นสูง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ความวิจิตรบรรจง ความประณีตและงดงาม แสดงถึงภูมิปัญญาที่เกิดจากการสืบทอดส่งต่อมาจากบรรพบุรุษ แฝงด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทักษะความชำนาญเฉพาะตัวของช่างฝีมือชั้นสูง งานหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง สำหรับประโยชน์ใช้สอยในการดำรงชีวิตการปักตกแต่งบนฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์ เครื่องทรง เครื่องราชนูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ชั้นสูง และเครื่องสังฆภัณฑ์ที่แสดงถึงสมณศักดิ์ หัตถศิลป์ผ้าปักโบราณเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผ่านกระบวนการเทคนิคการปักผ้าที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ทำให้ปัจจุบันเริ่มเสื่อมคลายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาจึงมีคุณค่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริม และพัฒนาต่อยอด มิให้สูญหายไปในอนาคต</p> <p>&nbsp;</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/269500 บทความวิจัย ภาพสะท้อนเทรนด์แฟชั่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 จากรูปแบบและค่านิยมเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 2024-02-27T11:26:52+07:00 เอกนารี แก้ววิศิษฏ์ aeaknareeteruk@gmail.com <p> บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง รูปแบบ ค่านิยมเครื่องแต่งกายสตรี-เทพนารีสลัก ปราสาทหินอีสานใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและบรรจุภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม โดยทําาการศึกษาเกี่ยวกับภาพสะท้อนเทรนด์แฟชั่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 จากรูปแบบและค่านิยมเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์การศึกษาในครั้งนี้คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบและค่านิยมเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 2. เพื่อศึกษาภาพสะท้อนเทรนด์แฟชั่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 จากรูปแบบและค่านิยมเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการดําาเนินการวิจัยด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคเอกสารบนกรอบแนวคิดและทฤษฎี เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านรูปแบบ ด้วยการใช้ทฤษฎีรูปแบบทางวัฒนธรรม (Configurationism) ซึ่งทําาการศึกษา โครงสร้าง ลวดลายและสัญลักษณ์ ในเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง การศึกษาค่านิยม ซึ่งจะศึกษาทั้งค่านิยมทางศิลปะและค่านิยมทางศาสนา ที่ปรากฏในเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์ผู้รู้ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลความรู้ จําานวน 3 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลสู่การวิคราะห์เกี่ยวกับภาพสะท้อนเทรนด์แฟชั่น ด้วยการใช้หลักประติมานวิทยา แนวคิด ทฤษฎี ด้วยวิเคราะห์ข้อมูลได้เป็น 2 ส่วนคือ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปและวิเคราห์ข้อมูลจากเนื้อหา นําาเสนอข้อมูลเป็นตารางและภาพประกอบแสดงตัวอย่างโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยคือ 1. รูปแบบและค่านิยมเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โดยแบ่งการศึกษาตามสัดส่วนมนุษย์ พบว่าสตรีจะเปลือยอก มีทรงผมทั้งแบบปล่อยยาวและเกล้ามวยหลายลักษณะ ใช้เครื่องประดับทรงผมและศีรษะ รวมทั้งศิราภรณ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ สวมสร้อยคอ ต่างหู กําาไลต้นแขน กําาไลข้อมือ กําาไลข้อเท้า นิยมนุ่งผ้าแบบพับป้ายและชักชาย ด้านค่านิยมพบว่าภาพสลักสตรีเป็นตัวแทนของการกําาเนิดตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หรือ ลักษณะของความงามสตรีเป็นสัญลักษณ์ของการบูชา การกําาเนิด การเจริญเติบโต 2. ภาพสะท้อนเทรนด์แฟชั่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 จากรูปแบบและค่านิยมเครื่องแต่งกายภาพสลักสตรี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โดยวิเคราะห์ตามนิยามเทรนด์แฟชั่นและหลักประติมานวิทยา พบว่า เทรนด์แฟชั่นสตรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งทรงผม เครื่องประดับ ผ้านุ่ง โดยมีการจัดการโครงสร้าง จัดหมวดหมู่เครื่องแต่งกายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสตรีให้สวยงามและสื่อสารในเชิงสัญญะ ซึ่งอยู่บนกรอบของรูปแบบตามลําดับฐานันดรศักดิ์ตามแบบอินเดียและขอม สันนิษฐานว่ามีการใช้แต่งกายจริงของสตรีในสมัยนั้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งจากอิทธิพลการแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ ซึ่งในทางสังคมถือว่าเป็นต้นแบบรูปแบบเครื่องแต่งกายสตรีที่มีความสําาคัญและได้รับการยอมรับจากสังคม ส่งผลให้นิยมกันอย่างแพร่หลาย จึงปรากฏในภาพสลักสตรีในช่วงยุคสมัยเดียวกันและเป็นภาพสะท้อนเทรนด์แฟชั่นสตรีที่นิยมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17</p> <p><strong> </strong></p> 2025-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/272183 บทบาท ผลกระทบ และบทเรียนของกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ จังหวัดเชียงใหม่ ในการใช้ละครเพื่อการเรียนรู้และการเสริมพลัง ระหว่างปี 2539-2564 2024-04-22T17:10:37+07:00 ภาสกร อินทุมาร pintoomarn@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่อง “บทบาท ผลกระทบ และบทเรียนของกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ จังหวัดเชียงใหม่ ในการใช้ละครเพื่อการเรียนรู้และการเสริมพลัง ระหว่างปี 2539-2564” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและผลลัพธ์ของกลุ่มละคร ตลอดจนสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติของกลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ก่อตั้งกลุ่มละคร เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และอดีตอาสาสมัครของกลุ่ม </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า “กลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ” เป็นกลุ่มละครที่ใช้แนวทาง “ละครประยุกต์” (Applied Theatre) เพื่อสร้างกระบวนการการขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นกระบวนการทำงานที่เสริมสร้างพลังให้กับชุมชน การให้ผู้คนในชุมชนมีบทบาทและได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้พวกเขาเกิดความรู้สึกมีคุณค่า และต่อยอดไปสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 ระดับ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล การเปลี่ยนแปลงระดับชุมชน และการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/270847 การศึกษาอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมการเชิดสิงโตเพื่อส่งเสริมทักษะการแสดงสิงโตฝั่งธนบุรี 2024-05-01T17:21:43+07:00 ถาวร วัฒนบุญญา pae.petra2016@gmail.com สายฝน ทรงเสี่ยงไชย fon3106@hotmail.com สรสิทธิ์ เลิศขจรสุข Sorrasithl@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมการเชิดสิงโตฝั่งธนบุรีผ่านงานสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในวัดอินทารามและศาลเจ้าของชุมชน และพัฒนาทักษะการแสดงสิงโตฝั่งธนบุรีให้กับนักเรียน เยาวชนของชุมชนวัดอินทาราม และตลาดพลูผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ศิลปกรรมการเชิดสิงโตฝั่งธนบุรีที่สะท้อนผ่านงานสถาปัตยกรรมในวัดอินทารามและศาลเจ้าชุมชน มีความโดดเด่นด้วยศิลปวัฒนธรรมที่ผสมผสานความเชื่อและประเพณีแบบจีน เช่น ศาลเจ้ากวนอู ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้าพ่อพระเพลิง ศาลเจ้าแม่อาเหนียว วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และวัดอินทารามวรวิหาร อัตลักษณ์การเชิดสิงโตฝั่งธนบุรีเป็นการผสมผสานรูปแบบการฝอซานและเหอซาน หรือเรียกว่า "การเชิดสิงโตกวางตุ้ง" ซึ่งเป็นการบูชาและขอพรเทพเจ้าเพื่อความเป็นสิริมงคล มีต้นกําาเนิดตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์เว่ย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์หมิง ในมณฑลกวางตุ้ง จนถึงยุคร่วมสมัย รูปแบบการเชิดสิงโตประกอบด้วย สิงโตพื้น สิงโตต่อตัว และเชิดบนเสาต่างระดับ หัวสิงโตมีขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่เบอร์ 0 ถึงเบอร์ 4 และมีสองรูปทรงคือ ฝอซานและเหอซาน สีและพื้นผิวของสิงโตมีหลากหลาย เช่น เหลืองลายหลากสี ดําาลายขาว แดงลายดําา เขียวลายดําา เหลืองลายดําา และฟ้าลายดําา อัตลักษณ์ศิลปกรรมการเชิดสิงโตฝั่งธนบุรีมีคุณค่าและสุนทรียภาพสูง ผู้เชิดรู้สึกสนุกสนานและเห็นคุณค่าของการแสดงซึ่งเป็นตัวแทนความโชคดี ส่วนผู้ชมถือเป็นการรับโชคลาภ อีกทั้งยังมีคุณค่าทางสังคมการพัฒนาทักษะการแสดงสิงโตฝั่งธนบุรีให้กับนักเรียน เยาวชนของชุมชนวัดอินทาราม และตลาดพลู นักเรียนและเยาวชนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเชิดสิงโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจเทคนิคการเคลื่อนไหวและการประสานงานระหว่างผู้เชิดหัวและผู้เชิดหางมีความคล่องแคล่วและสามารถแสดงการเชิดสิงโตได้อย่างมีชีวิตชีวาและน่าประทับใจ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและความหมายของการเชิดสิงโต รวมถึงการบูชาเทพเจ้าและการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล รู้จักการทําางานเป็นทีมและสนับสนุนกันและกัน เสริมสร้างความมั่นใจและความสามารถในการแสดง สรุปผลโดยรวมนักเรียนและเยาวชนในชุมชนวัดอินทารามและตลาดพลูสามารถนําาทักษะที่ได้รับไปใช้ในการแสดงและกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ภาคภูมิใจ ส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงท้องถิ่นฝั่งธนบุรี</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/272128 Exploring Strategies for the Development of Tie-Dyeing in Modern Society through Interdisciplinary Integration 2024-06-20T16:48:41+07:00 Gao Xiang gaoxianglife@gmail.com Sarawuth Pintong sarawuthpintong@gmail.com <p class="p1">In the era of globalization, the preservation and transmission of intangible cultural heritage, particularly traditional practices like tie-dyeing face significant challenges. The study explores the interdisciplinary integration of tie-dye technology into education, community engagement, commerce, cultural tourism, and design art to promote its dynamic development and sustainability. Utilizing a combination of literature review, case studies, and in-depth interviews with practitioners, the research examines the current applications and challenges of tie-dyeing. The findings reveal the potential of merging traditional techniques with modern innovations to enhance cultural value and market competitiveness. Specific tie-dye integration in elementary to higher education, community activities, business collaborations, tourism experiences, and modern art demonstrate the craft's adaptability and contemporary relevance. The study suggests targeted strategies such as enhancing educational programs, implementing product certification, leveraging digital platforms, and fostering international exchanges to boost public awareness and engagement. These recommendations aim to ensure the vibrant continuation and sustainable development of tie-dye practices in modern society. This research provides a valuable reference for the broader protection, inheritance, and innovation of intangible cultural heritage globally, emphasizing the importance of cross-sector collaboration in revitalizing traditional crafts.</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/270712 ความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปี 2561-2565 เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร 2024-04-09T12:22:30+07:00 เทิดเกียรติภณช์ แสงมณีจีรนันเดชา nachpol@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษา 2561-2565 และหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จำนวน 9 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี 333 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย และทำการสรุปข้อมูลโดยการเขียนพรรณนาและอธิบายตามข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ทางผู้วิจัยได้ตั้งไว้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นความพึงพอใจที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรฯ และประสบการณ์ การเป็นนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษา 2561-2565 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในด้านเพศ หลักสูตร และปีการศึกษา 3) หาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าควรเน้นไปที่ความหลากหลาย ยืดหยุ่น อิสระ และมีเอกลักษณ์ ซึ่งจุดเด่นเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะที่หลากหลาย สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ และสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/271015 การออกแบบหลักสูตร “การบริหารจัดการศิลปะ” ในระดับปริญญาตรี 2024-05-01T18:11:24+07:00 ศรุพงษ์ สุดประเสริฐ zoesaru@tu.ac.th ภาสกร อินทุมาร pintoomarn@gmail.com ภาวิณี บุญเสริม pawipop11@gmail.com <p>การผลิตงานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และการออกแบบ ในประเทศไทยมีการเติบโตเป็นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 แต่การขับเคลื่อนให้เกิดผลทางการสร้างสุนทรียภาพ การเรียนรู้ และเศรษฐกิจนั้นต้องการนักบริหารจัดการศิลปะ อย่างไรก็ดี สังคมไทยยังขาดแคลนหลักสูตรการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่จะผลิตนักบริหารจัดการเพื่อตอบสนองสถานการณ์ด้านศิลปะดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงเป็นความพยายามในการแสวงหาคําาตอบว่าหลักสูตรการบริหารจัดการศิลปะในระดับปริญญาตรีสําาหรับสังคมไทยควรเป็นอย่างไร โดยทําาการออกแบบหลักสูตรจากการวิเคราะห์หลักสูตรที่ใกล้เคียงในระดับมหาวิทยาลัย ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนักวิชาชีพและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงประมวลขึ้นเป็นหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการศิลปะ ที่มีองค์ประกอบของหลักสูตรทั้งด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและสุนทรียศาสตร์ การบริหารจัดการศิลปะ ศิลปะในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ปฏิบัติการบริหารจัดการศิลปะ และภาษาอังกฤษสําาหรับการบริหารจัดการศิลปะ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร