ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal <p> ศิลปกรรมสาร เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และเป็นสื่<wbr />อกลางผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ทรรศนวิจารณ์และงานสร้างสรรค์<wbr />ทางศิลปกรรมศาสตร์ ในแขนงต่างๆ ทั้งด้านทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้จะต้องผ่<wbr />านการกลั่นกรองคุณภาพจากผู้<wbr />ทรงคุณวุฒิ และได้รับความเห็<wbr />นชอบจากกองบรรณาธิการ รายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตั<wbr />วและความรับผิดชอบเฉพาะของผู้<wbr />เขียน ไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็<wbr />นหรือเป็นความรับผิ<wbr />ดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ<br /><strong>ISSN 2822-0447</strong> (Print)<br /><strong>ISSN 2822-0439</strong> (Online)</p> คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ th-TH ศิลปกรรมสาร 2822-0439 การสร้างและพัฒนาตัวละครในนวนิยายสู่พื้นที่การแสดงในละครเวทีผสมภาพยนตร์ กรณีศึกษาของตัวละครหลัก “เธอ” ในการการแสดงเรื่อง แพร่ง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/266090 <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอกระบวนการสร้าง และพัฒนาตัวละคร “เธอ” ซึ่งเป็นตัวละครหลักใน&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;การแสดงรูปแบบละครเวทีผสมภาพยนตร์เรื่อง <em>แพร่ง (</em><em>Intersection) </em>โดยขั้นตอนดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่ 1. การศึกษาและวิเคราะห์ตัวละครจากนวนิยายต้นฉบับ 2. การสร้างสรรค์และพัฒนาตัวละคร “เธอ” &nbsp;&nbsp;&nbsp;ผ่านกระบวนการดีไวซิ่ง 3. การนำเสนอตัวละครผ่านการแสดงในพื้นที่ละครเวทีกับพื้นที่ภาพยนตร์ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ผลการดำเนินงานพบว่า การใช้ความจริง (truth) ของตัวละครจากนวนิยายตั้งต้นเป็นแกนในการทดลอง ค้นหา สร้างและพัฒนาตัวละคร ทำให้นักแสดงสามารถเทียบเคียง และเชื่อมต่อประสบการณ์ตนเองเข้ากับตัวละครเดิมแล้วพัฒนาไปสู่การสร้างตัวละครใหม่ เพื่อนำเสนอผ่านพื้นที่การแสดงทั้งในรูปแบบละครเวทีและภาพยนตร์อย่างเป็นธรรมชาติ น่าเชื่อ และสื่อสารประเด็นหลักของเรื่องสู่ผู้ชมได้ &nbsp;</p> ณัฐวรรณ รัตนพลธี อรณิชา คมนาคม พชญ อัคพราหมณ์ Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 108 129 ปฎิบัติการร่วมสร้างในกระบวนการผลิตการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265455 <p>บทความนี้เป็นการอภิปรายการปฏิบัติการร่วมสร้างในกระบวนการผลิตการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ ร่วมกับผู้กำกับ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมผลิตโดยแบ่งออกเป็น 4 บทบาท คือ 1. โปรดิวเซอร์ 2. ผู้จัดการงบประมาณและระดมทุน 3. ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง และ 4.ผู้กำกับเวที ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติการผลิตละครแบบร่วมสร้าง โดยใช้หลักการผลิตละครเวทีแบบตะวันตก เป็นฐานร่วมกับการแสดงลำหมู่ เพื่อให้เกิดเป็นการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้ โดยมีการดำเนินงานแบ่งเป็น&nbsp; 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ก่อนร่วมสร้าง : การทบทวนและสำรวจความรู้ 2. กระบวนการร่วมสร้าง 3. หลังปฏิบัติการร่วมสร้าง จากผลการดำเนินงานพบว่า การปฏิบัติการร่วมสร้างการแสดงลำหมู่ร่วมสมัยเรื่อง นางไอ่ ร่วมกับผู้กำกับ สะท้อนให้เห็นการทำงานผลิตในมิติที่แตกต่างจากการแสดงหมอลำหรือละครเวทีตามแบบแผน โดยรูปแบบการแสดงหมอลำในครั้งนี้เกิดขึ้นในพื้นที่โรงละครเป็นหลัก การจัดการผลิตการแสดงลำหมู่ในโรงละคร จึงต้องอาศัยกระบวนการจัดการที่คล้ายคลึงกับละครเวทีตามแบบแผน เพื่อให้กระบวนการสร้างและพัฒนาการแสดงเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพนำไปสู่ความคิดหรือวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างการแสดงลำหมู่ต่อไปได้</p> ภาณุเดช วัยเจริญ พรนภัส ปรีชม สุพิชญา บุญพรหมมา ภารดี เจือสมบูรณ์ผล พชญ อัคพราหมณ์ Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 130 154 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากคาแรคเตอร์ช้างไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/266305 <p>งานวิจัยสร้างสรรค์เรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากคาแรคเตอร์ช้างไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในกระบวนการออกแบบและสร้างทางเลือกผลิตภัณฑ์ 2) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกที่ได้แรงบันดาลใจจากช้างไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้วิธีกระบวนการสร้างสรรค์ การศึกษาอัตลักษณ์ของช้างไทย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาทดลองสร้างภาพต้นแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยี AI โดย Midjourney ในการสร้างภาพจากข้อมูล คัดเลือกภาพที่ได้มาทดลองพัฒนารูปแบบ ประเมินโดยผู้บริโภคผ่านทางออนไลน์ นำข้อเสนอแนะมาพัฒนาแบบร่าง เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกในรูปแบบคาแรคเตอร์ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ช้างไทย ผลจากการศึกษาพบว่า ช้างไทย มีลักษณะเด่น คือ กะโหลกใหญ่ ใบหูกว้าง ปลายงวงโค้งงอ ช้างถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญในไทยทั้งในทางศาสนา ราชวงศ์ และตราราชการ ในปัจจุบัน ช้างมีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวประเทศไทยโดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในด้านของการศึกษา AI มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพ พบว่า เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างภาพจากข้อมูลที่ให้รูปแบบทางเลือกหลากหลายแปลกใหม่ สร้างสรรค์ ทันสมัย สามารถสร้างภาพได้สมจริง แต่ยังขาดความเฉพาะเจาะจงในบางองค์ประกอบ จึงควรพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่อด้วยมุมมองของนักออกแบบให้ชิ้นงานมีอัตลักษณ์ ตรงกับความต้องการของนักออกแบบและผู้บริโภคมากขึ้น</p> นภัสชญา พัฒนมหเจริญ อรัญ วานิชกร กรกลด คำสุข Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 1 30 Semi-Artificial Intelligence Approach to Resurrect “Wumesiben Mama” --the Manchu Epic https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/266887 <p>The book on Manchu culture, "Wumesiben Mama" is the first collection of China's intangible cultural heritage. Although the book contains a great deal of textual information about how ancient Manchus may have lived, it is severely lacking in visual illustrations. Rapid progress in the field of artificial intelligence enables natural language-based visualization. However, artificial intelligence alone may not be adequate because it can generate inaccurate visual outputs. The key to generating a more accurate result may lie in the involvement of human specialists in the field. This study had the following objectives: 1) to analyze the textual data of the epic; 2) to use artificial intelligence to initially create visual images, then apply expert opinions and the artist's skill to arrive at the most accurate representations of the epic, and 3) to evaluate the epic for visual accuracy and audience satisfaction. The researchers obtained textual information by analyzing Fu Yuguang's epic book. MidJourney, an artificial intelligence text-to-image platform, was utilized to generate three variations of the same scene. Five experts, including a Manchu historian, a costume expert, the director of the comic art committee, an expert on ancient folklore, and a Manchu inheritor, were consulted for their opinions on each iteration of the artworks. The final depictions of the epic, consisting of sixteen visual panels, were recreated with the aid of expert opinions. On May 12, 2023, the artworks were exhibited at the Fushun Museum. From a total of 346 audience satisfaction questionnaires, 256 (75%) were satisfied with the exhibition, 83 (24%) were neutral, and only two (1%) were dissatisfied. Experts who viewed the concluding exhibition concur that this technique can produce a historically accurate and aesthetically appealing depiction of the epic. This Semi-Artificial Intelligence method has numerous applications and should be investigated further.</p> Yan Xu วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน โกเมศ กาญจนพายัพ Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 31 62 การผสมผสานวัฒนธรรมงิ้วปักกิ่งกับเศษขยะเหลือใช้ : การสร้างความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/267386 <p>การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของงิ้วปักกิ่งผ่านของเหลือใช้เพื่อจัดการทัศนยภาพให้เกิดการผสมผสานมรดกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีความร่วมสมัยเป้าหมายคือเพื่อให้แน่ใจว่าการผสมผสานกันดังกล่าวอาจสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในหมู่ประชาชนทั่วไปได้อย่างไรโดยการนำผลการทดสอบสมมติฐานเชิงปริมาณและการตีความการออกแบบเชิงคุณภาพมาแปลความร่วมกันในการศึกษานี้มีการสร้างงานศิลปะขยะที่สร้างขึ้นในรูปแบบของงิ้วปักกิ่งและประเมินผลกระทบต่อความคิดเห็นของสาธารณชนงานศิลปะถูกจัดแสดงในนิทรรศการและระบบการตอบกลับถูกนำมาใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องของเทคนิคที่เลือกวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับอย่างละเอียดรวมถึงการทดสอบสมมติฐานโดยใช้เครื่องมือทางสถิติการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการผสมผสานความสร้างสรรค์ของศิลปะขยะและธีมงิ้วปักกิ่งมีพลังในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและปลุกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร การผสมผสานนี้สะท้อนให้เห็นในเชิงศิลปะและกลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมในทางทฤษฎีการศึกษานี้เชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีวัฒนธรรมดั้งเดิมกับกระบวนทัศน์การสนับสนุนสิ่งแวดล้อมร่วมสมัยโดยนำเสนอมุมมองใหม่ๆในทั้งสองสาขาโดยทำหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับศิลปินและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมสามารถผสมผสานเข้ากับความทันสมัยได้อย่างกลมกลืนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคมในวงกว้างได้</p> Mingyuan Zhang ศุภชัย อารีรุ่งเรือง Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 63 85 การใช้เทคนิค Slip Nerikomi เพื่อสร้างสรรค์ลายภูมิทัศน์บนเครื่องลายครามของเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/266117 <p>การศึกษาเชิงเปรียบเทียบและเชิงทดลองนี้ ได้สำรวจวิธีการเชิงนวัตกรรมและผลลัพธ์ทางศิลปะของเครื่องลายครามจากเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นที่มีลวดลายภูมิทัศน์ประกอบด้วย ลายภูเขา แม่น้ำ และต้นไม้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคนิคใหม่ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการในการสร้างลวดลายภูมิทัศน์บนเครื่องกระเบื้องลายคราม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเทคนิคใหม่นี้โดยใช้ชื่อว่า Slip Nerikomi (วิธีบีบราดด้วยน้ำดินข้น) เป็นการสร้างลวดลายโดยใช้น้ำดินข้น (Slip) กวนวาดเป็นรูปร่างที่ต้องการ จากนั้นจึงเอียงชิ้นงานให้น้ำดินข้นไหลตามทิศทางที่ต้องการ โดยจะทำร่วมกับการพ่นน้ำบนชิ้นงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมชาติมากขึ้น จากการศึกษาผลงานของผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเคลือบที่มีลวดลายภูมิทัศน์ของเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น ได้พบงานลวดลายที่เกิดจากการใช้เทคนิค Nerikomi (ดินปั้นบิด) และแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูล จำแนกประเภท และเปรียบเทียบผลงานที่มีลวดลายภูมิทัศน์ดังกล่าวโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อสร้างเทคนิคการวาดลวดลายภูมิทัศน์แบบใหม่ จากการศึกษาพบว่าเทคนิค Slip Nerikomi นี้ สามารถนำมาใช้สร้างลวดลายภูมิทัศน์ได้คล้ายคลึงกับการวาดลวดลายบนเครื่องลายครามโดยตรงแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยได้ผสมเม็ดสีน้ำเงินจากโคบอลต์ออกไซด์ผสมกับน้ำดินข้นเพื่อสร้างน้ำดินข้นสีลายคราม จากนั้นจึงนำวัสดุนี้ไปใช้สร้างผลงาน โดยใช้วิธีการกวนร่วมกับการไหล ผลการทดสอบเชิงสำรวจแสดงให้เห็นว่า น้ำดินข้นที่ใช้เทคนิค Slip Nerikomi ไม่เพียงแต่จะสามารถแสดงลักษณะความเป็นภูมิทัศน์ได้ดีแล้ว ยังสามารถแสดงผลลัพธ์อย่างอื่นได้ด้วย เช่น พื้นที่หนาหรือบาง สว่างหรือมืด จะเห็นได้ว่าเทคนิคใหม่นี้สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์ลายภูมิทัศน์บนเครื่องลายครามได้ดี อีกทั้งยังช่วยเสริมให้ชิ้นงานมีเอกลักษณ์ทางศิลปะ เช่น ความเป็นธรรมชาติ และ ความยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงสุนทรียะ และสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับผู้สร้างงานศิลปะลายครามบนเครื่องลายครามจากเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นในอนาคต</p> Chunlei Zhao วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน โกเมศ กาญจนพายัพ Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 86 107 ฮาลาล : อัตลักษณ์การดำรงอยู่ของความศรัทธาและความงามสู่บริบทแฟชั่นมุสลิม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/266937 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีมุสลิมในบริบทฮาลาล 2) ศึกษาการแต่งกายของสตรีมุสลิมที่มีผลต่อพฤติกรรมการแต่งกายเพื่อนำมากำหนดแนวทางการออกแบบแฟชั่น 3) ออกแบบแฟชั่นการแต่งกายของสตรีมุสลิม ผ่านมุมมองการดำรงอยู่ของความศรัทธาในบริบทปัจจุบัน โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มประชากรตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำศาสนา นักวิชาการมุสลิม นักออกแบบ และสตรีมุสลิมที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภค รวมไปถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของสตรีมุสลิม ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ร่วมกับกระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นสตรีมุสลิม และเพื่อให้ได้แนวทางและทฤษฎีการออกแบบเครื่องแต่งกายของสตรีมุสลิม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีมุสลิมในบริบทฮาลาล การแต่งกายจะเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับหลักศาสนาเป็นความงามในบริบทฮาลาล งามแบบมีคุณค่าและความดีงาม เป็นเสน่ห์แห่งการปกปิด คือ การปกปิดเอาเราะฮ์ให้ถูกต้องตามหลักการศาสนา 2) การดำเนินชีวิตของสตรีมุสลิมจากวัฒนธรรมและความร่วมสมัยในปัจจุบัน เน้นความเรียบง่าย รูปแบบเสื้อผ้าต้องมีลักษณะที่สามารถปรับให้ใส่ได้ในหลายโอกาส โครงชุดต้องมีลักษณะหลวมไม่เน้นสัดส่วนและต้องมีความร่วมสมัย โทนสีที่เลือกใช้จะต้องเป็นโทนสีคล้ายกันทั้งชุดหรือเป็นกลุ่มสีที่ไม่ตัดกันและต้องมีเอกลักษณ์ของศิลปะวัฒนธรรมแบบมุสลิม 3) การออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายมุสลิม ผ่านมุมมองการดำรงอยู่ของความศรัทธาในบริบทปัจจุบัน มีรูปแบบเสื้อผ้า คือ เสื้อกับกางเกง เสื้อกับกระโปรง และชุดติดกันเป็นหลัก เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน การเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้จากการศึกษาวิจัยดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ในการออกแบบการแต่งกายของสตรีมุสลิมในบริบทแฟชั่น ผ่านมุมมองการดำรงอยู่ของความศรัทธาในบริบทปัจจุบันนั้น มุมมองความงามสะท้อนถึงความเป็นอัตลักษณ์ของสตรีมุสลิมได้ และในทางศาสนาให้ความสำคัญในการแต่งกายเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการปกป้องให้ผู้หญิงมีความปลอดภัย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยค้นพบองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัย คือ ปัจจัยออกแบบแฟชั่นฮาลาล (HALAL Factors) ปัจจัยสำหรับให้นักออกแบบนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกายมุสลิมในบริบทอื่น ๆ ได้</p> <p> จากการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปว่า การเลือกกลุ่มตัวอย่าง หากมีการกำหนดเฉพาะเจาะจงช่วงอายุ จะทำให้ทราบข้อมูลของผู้บริโภคที่เฉพาะเจาะจง และในการศึกษาลวดลายปักผ้าของชาวมุสลิม หากมีการเก็บรวบรวมสืบทอดภูมิปัญญาไว้ จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในแบบร่วมสมัย และการศึกษาวิจัยในอนาคตควรมีการศึกษาวิจัยในพื้นที่อื่นในประเทศด้วย ตลอดจนควรจัดให้มีการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแต่งกายของสตรีมุสลิมในแต่ละภูมิภาคด้วย</p> วราภรณ์ สำเภา อนุชา แพ่งเกษร Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 177 205 12 เรื่องโนราโรงครู: ที่มาของวรรณกรรมและความนิยมในการแสดงโนรา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/262232 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษา 12 เรื่องโนราโรงครู ในด้านที่มาของตัวบทและความนิยมในการแสดง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลังของวรรณกรรมที่ใช้ในการแสดง 12 เรื่องโนราโรงครู และ 2) เพื่อศึกษาลักษณะการแสดงของ 12 เรื่องโนราโรงครู เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์การแสดง จากคณะโนราโรงครู 5 คณะ 5 จังหวัดภาคใต้ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละคร และแนวคิดเกี่ยวกับสื่อพื้นบ้านในการศึกษาวิเคราะห์</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาภูมิหลังของวรรณกรรม 12 เรื่องโนราโรงครู ได้ถูกดัดแปลงมาจากวรรณกรรมท้องถิ่น ปัญญาสชาดก และชาดกในนิบาต โดยนักแสดงหยิบยกเพียงตอนสั้น ๆ มาแสดง ประกอบด้วย พระสุธน-มโนราห์ พระรถ-เมรี ลักษณวงศ์ โคบุตร สังข์ทอง ดาราวงศ์ พระอภัยมณี จันทโครพ สินนุราช สังข์ศิลป์ชัย มณีพิชัย และเรื่องไกรทอง และ 2) ลักษณะการแสดงของ 12 เรื่องโนราโรงครู นิยมใช้ตัวละคร 2 ตัว คือ โนราใหญ่ รับบทเป็นตัวละครหลักของเรื่อง และนายพรานรับบทเป็นตัวละครรอง ในด้านการแสดงมีการเท้าความก่อนนำเข้าสู่การแสดงเรื่องนั้น ๆ การขับร้องบทสั้น ๆ กับการเจรจาสลับกันไป และสอดแทรกมุกตลกขณะการแสดง</p> ชาญณรงค์ คงฉิม Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 108 176 สีจากฮูบแต้มอีสาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265941 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>สีจากฮูปแต้มอีสาน เป็นการศึกษาเพื่อหาที่เป็นสีเฉพาะมีที่มาที่ไปและกลุ่มโทนสีที่ได้จากฮูปแต้มอีสานที่โดดเด่น งานวิจัยชิ้นนีี้ได้ผลสรุปถึงสีที่ปรากฏในงานฮูปแต้ม จากสิมที่ปรากฏฮูปแต้มในอีสานที่มีอายุเก่าสุด จนถึง พ.ศ.2500 รวมทั้งหมด 46 แห่ง โดยใช้แอปพลิเคชัน STUDIO PANTONE ในการแบ่งค่าสีจากทั้งหมด 731 ค่าสี จึงได้ค่าสีนำมาจัดเป็นกลุ่ม แล้วคัดค่าสีที่ซ้ำกันออกไปเหลือ 208 ค่าสี ก่อนจะนำค่าสีเข้าสู่การระบุหมายเลขรหัสค่าสีของมาตรฐานสากล</p> <p>กระบวนการการหาค่าสีที่ใช้เขียนภาพฮูปแต้มในภาคอีสาน ได้ถูกแบ่งออกเป็น 24 ค่าสี ตามหลักสากลของ PANTONE โดยการเลือกสีที่มีค่าความถี่ในการใช้เขียนภาพในแต่ละวัดเป็นหลักในการคัดเลือก และบางกรณีที่ค่าสีเฉพาะซึ่งพบเพียงแห่งเดียวก็ถูกจัดให้เป็นสีเฉพาะเช่นเดียวกัน ดังนั้นค่าสี 24 สี จึงเป็นไปตามหลักสากล ทั้งนี้บางกลุ่มค่าสีอาจจะมีค่าสีที่มีค่าความถี่ในการใช้มากกว่า 1 ค่าสีก็มีให้เห็นเช่นเดียวกัน</p> <p>ค่าสี 24 สีที่ได้มาจึงจัดได้ว่าเป็นสีที่ช่างในภาคอีสานนิยมใช้เขียนที่โดดเด่น ซึ่งงานวิจัยยังได้เทียบเคียงค่าสีให้ตรงกับมาตรฐานค่าสีสากลสำหรับในการสร้างสรรค์งาน การออกแบบ โดยเฉพาะสำหรับการสื่อสารของผู้ออกแบบและผู้ว่าจ้างตลอดจนผู้ผลิตมีความเข้าใจตรงกัน สามารถใช้ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำไปใช้ได้จริงให้เกิดประโยชน์ต่อไป</p> กุลจิต เส็งนา Copyright (c) 2024 ศิลปกรรมสาร 2024-06-30 2024-06-30 17 1 206 228