ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal <p> ศิลปกรรมสาร เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และเป็นสื่<wbr />อกลางผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ทรรศนวิจารณ์และงานสร้างสรรค์<wbr />ทางศิลปกรรมศาสตร์ ในแขนงต่างๆ ทั้งด้านทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง บทความหรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้จะต้องผ่<wbr />านการกลั่นกรองคุณภาพจากผู้<wbr />ทรงคุณวุฒิ และได้รับความเห็<wbr />นชอบจากกองบรรณาธิการ รายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตั<wbr />วและความรับผิดชอบเฉพาะของผู้<wbr />เขียน ไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็<wbr />นหรือเป็นความรับผิ<wbr />ดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ<br /><strong>ISSN 2822-0447</strong> (Print)<br /><strong>ISSN 2822-0439</strong> (Online)</p> th-TH [email protected] (ผศ.ดร.จารุนี อารีรุ่งเรือง) [email protected] (วินัย ทองกร) Sun, 31 Dec 2023 09:13:08 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว เทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265220 <p><strong> </strong> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภายในชุมชนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาผลตอบรับของนักท่องเที่ยวต่อการใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาด้านประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และสถาปัตยกรรม มีการสำรวจ สังเกตการณ์ สัมภาษณ์ทั่วไปและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้การศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนตำบลบางม่วงและนักศึกษาทุกหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ที่สื่อสารถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แบ่งเป็น 2 ด้าน โดยด้านที่ 1 สิ่งที่ทำให้นึกถึงชุมชนตำบลบางม่วง คือ บ้านริมน้ำ วัด และวิถีชีวิตริมน้ำ ด้านที่ 2 บุคลิกภาพการสื่อสารสำหรับตำบลบางม่วง คือ ความเป็นมิตรและความเป็นชนบทท้องถิ่น มองโลกในแง่ดีมีความสุขสดชื่น ระลึกความหลัง สำหรับแนวทางการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและเลขนศิลป์สำหรับประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) การออกแบบตราสัญลักษณ์ สำหรับใช้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเทศบาลตำบล บางม่วง 2) ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์เสื้อยืด สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์กระเป๋าผ้า นาฬิกาแขวนผนัง ปฏิทินไม้ตั้งโต๊ะ พวงกุญแจ และแม่เหล็กติดตู้เย็น และคลิปประชาสัมพันธ์ชุมชน 4 คลิป ได้แก่ คลิปแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านด้านอาหารคาว ปราชญ์ชาวบ้านด้านขนมหวาน ปราชญ์ชาวบ้านด้านสุนทรียศิลป์ (เรือไม้จำลอง)</p> <p>สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การสร้างภาพจำใหม่ด้วยการนำภาพที่ค้นพบจากอัตลักษณ์ชุมชนผ่านกระบวนการออกแบบด้วยระบบกริด และนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบบนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก การนำระบบกริดมาประยุกต์ใช้กับอัตลักษณ์ชุมชน ช่วยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์และเข้าถึงเครื่องมือและวิธีการที่เรียบง่ายนี้ได้อย่างไม่ซับซ้อน โดยกระบวนการออกแบบและต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำมาพัฒนาเป็นสินค้าสร้างรายได้ ชุมชนสามารถใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสร้างงานออกแบบของตนเอง ส่งเสริมให้อัตลักษณ์ของความเป็นชุมชนตำบลบางม่วงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก อัตลักษณ์ ชุมชนตำบลบางม่วง เลขนศิลป์ ระบบกริด</p> ทิพย์ลักษณ์ โกมลวณิช , กมลศิริ วงศ์หมึก, ปรวรรณ ดวงรัตน์ , ณมณ ขันธชวะนะ, ธนิต จึงดำรงกิจ Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265220 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 แห่ช้างผ้า: แนวคิดจากภูมิทัศน์วัฒนธรรมผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ในบริบทใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265054 <p>บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่ออภิปรายวิธีการและแนวคิดของผลงานสร้างสรรค์ “Charming Chang Pha (สืบ สาน แห่ช้างผ้า)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม: การออกแบบเพื่อชุมชนที่ยั่งยืนจากแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเมาะหลวง จังหวัดลำปาง” จากการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งทางด้านเอกสารและการลงพื้นชุมชนบ้านเมาะหลวง จังหวัดลำปาง พบว่ามีประเพณีสำคัญของชุมชนบ้านเมาะหลวงที่จัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ประเพณีผูกเล่าจากตำนานภูมิศาสตร์พื้นที่ของชาติพันธุ์ไทใหญ่เกิดขึ้นในช่วงสมัยที่ทำการค้าไม้กับต่างชาติ การระลึกถึงบุญคุณของสัตว์ที่เป็นแรงงานสำคัญของการหาเลี้ยงชีพ จึงเป็นประเพณีสืบต่อกันมาด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในชุมชน การส่งต่อของศรัทธาความเชื่อ วิถีปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นอัตลักษณ์ของชาวเมาะหลวง อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของภูมิทัศน์วัฒนธรรมในพื้นที่ ทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ วิถีชีวิต ความภูมิใจของชาวเมาะหลวงอีกด้วย การถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัสดุพื้นถิ่นสู่สัญญะรูปทรงของช้างเป็นตัวแทนของความศรัทธา ความร่วมมือร่วมใจ ศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชนบ้านเมาะหลวง ในรูปแบบผลงานสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนเสน่ห์ของชุมชนบ้านเมาะหลวง ชื่อผลงาน “Charming Chang Pha (สืบ สาน แห่ช้างผ้า)” ประติมากรรม 3 มิติจากไม้ไผ่ โดยใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นตัวถ่ายทอด ซึ่งได้ติดตั้งจัดแสดงในนิทรรศการ “หลงเสน่ห์” ณ หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา เพื่อนำไปสู่การสรุปผลว่าตรงตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานมากน้อยเพียงใด ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interaction) การรับรู้และมีส่วนร่วมกับผู้ชมนอกพื้นที่ในบริบทใหม่ จึงได้มีการเก็บแบบสอบถามเพื่อเป็นการประเมินจากผู้ชมต่อผลงานชิ้นนี้ด้วย ปรากฏข้อมูลดังนี้ ด้านผู้ชมนิทรรศการที่ไม่เคยรู้จักประเพณีแห่ช้างผ้ามาก่อนร้อยละ 92.1 เห็นว่าผลงานมีการแสดงออกได้ตรงตามแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ร้อยละ 59.5 และคิดว่าผลงานมีความน่าสนใจร้อยละ 60.5 จากผู้เข้าชมและมีส่วนร่วมในงานและตอบแบบสอบถาม</p> บุษกร ฮวบแช่ม, อนุชา แพ่งเกษร Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265054 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาพจักรวาลตามวรรณกรรมไตรภูมิบนตู้พระไตรปิฎกสมัยอยุธยา สู่การสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคลายรดน้ำแบบสามมิติ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265144 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพจักรวาลตามเนื้อเรื่องในวรรณกรรมไตรภูมิบนตู้พระไตรปิฎกสมัยอยุธยา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา 2) สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคลายรดน้ำแบบสามมิติจากภาพจักรวาล และ 3) วิเคราะห์ผลงานที่ได้จากการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคลายรดน้ำแบบสามมิติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) โดยศึกษาภาพจักรวาลบนตู้พระไตรปิฎก จากนั้นนำภาพจักรวาลมาเป็นแรงบันดาลใจและต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคลายรดน้ำแบบสามมิติ และวิเคราะห์ผลงานสำเร็จในประเด็นต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">ภาพจักรวาลที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎก มีองค์ประกอบและรายละเอียดสอดคล้องกับเนื้อเรื่องในวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วง แต่คัดเลือกรายละเอียดบางส่วนมาออกแบบภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการประดับตู้เท่านั้น </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">การสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคลายรดน้ำแบบสามมิติ โดยใช้ภาพจักรวาลที่ศึกษามาเป็นแรงบันดาลใจ มีกระบวนการ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ กระบวนการลายรดน้ำ กระบวนการวาดเส้นด้วยเครื่องมือปลายแหลม และกระบวนการเคลือบอิพ็อกซีเรซิ่น</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">ผลงานสำเร็จเป็นภาพที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับภาพต้นแบบ แต่แสดงถึงระยะ มิติ มุมมองมากกว่า มีความคงทนต่อการสัมผัส แต่มีข้อจำกัดด้านน้ำหนักของผลงาน ระยะเวลาการสร้างสรรค์ และพื้นผิวที่เป็นเงาสะท้อน</span></p> นฤทธิ์ วัฒนภู Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265144 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์วิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ เรื่อง Me-Memory: การสำรวจความทรงจำและพื้นที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265168 <p><strong><em>Me-Memory</em></strong> เป็นผลงานศิลปะการแสดงนิพนธ์ในระดับปริญญาตรีในรูปแบบวิดีโอเพอร์ฟอร์มานซ์ (Video Performance) ที่เกิดจากการตั้งคำถามต่อตนเองเพื่อค้นหาและสำรวจตัวตนผ่านความทรงจำ ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ที่กลับไปเยี่ยมเยือนความทรงจำในพื้นที่จริงและในพื้นที่ความรู้สึกของตนเอง ผ่านเรื่องราวความทรงจำที่ได้รับการเล่าโดยพ่อ แม่ ยาย และตา มีกรอบแนวคิดในการทำงาน คือ ความทรงจำ (Memory) พื้นที่ (space) การแสดง (Performance) และกลวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายในฐานการภาวนา ประกอบไปด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจและวิเคราะห์เรื่องเล่าความทรงจำของคนในครอบครัว (2) การค้นหาแนวทางการนำเสนอ (3) การแสดงและการถ่ายทำ (4) การตัดต่อภาพเสียง (5) การจัดแสดงผลงาน ผลการดำเนินงานพบว่า <strong><em>Me-Memory </em></strong>สามารถนำเสนอกระบวนการสำรวจความทรงจำของผู้สร้างสรรค์ผ่านภาพวิดีโอที่บันทึกการแสดงในพื้นที่ เสียงจากเรื่องเล่าความทรงจำของคนในครอบครัว และการตัดต่อภาพ โดยภาพการแสดงที่ปรากฏเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายนั้น เป็นผลผลิตจากกระบวนการสำรวจการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางร่างกายกับพื้นที่และการสำรวจความรู้สึกภายในจิตใจร่วมกับเหตุการณ์ในอดีต การแสดงนำเสนอสภาวะความรู้สึกและความเข้าใจในตนเองในการสำรวจความทรงจำ</p> ธนัชพร กิตติก้อง, ปนัดดา อิ่มสะอาด Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/265168 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์นาฎยศิลป์จากความศรัทธาเทพฮินดู ชุด ตรีมูรติ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/263945 <p>การสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ ชุด ตรีมูรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และศึกษาหารูปแบบตามองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. บทการแสดง 2. นักแสดง 3. ลีลาท่าทางนาฏศิลป์ 4. เสียงและดนตรี 5. เครื่องแต่งกาย 6. แสง ซึ่งมีกระบวนการวิจัยเชิงสร้างสรรค์จากแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ เทวนิยมอินเดีย ปราณยามะ (Pranayama) &nbsp;และสุนทรีย์ทางนาฏศิลป์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ ตลอดจนข้อมูลจาก<br>สื่อสารสนเทศอื่น ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลตามวัตถุประสงค์</p> <p>ผลงานสร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ของความคิดความศรัทธาในเทวนิยมอินเดียที่ปรากฏในสังคมไทย และนำการควบคุมลมหายใจที่ เรียกว่า ปราณยามะ (Pranayama)&nbsp; มาใช้ในการแสดงเพื่อผู้แสดงสามารถควบคุมตนเองเข้าสู่ภาวะสงบของจิตใจเกิดภาวะผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย และแสดงท่าทางอันแสดงออกถึงพลังของเทพเจ้าตามคติความเชื่อได้อย่างงดงามสมบูรณ์ ซึ่งผลงานสร้างสรรค์ในครั้งนี้สามารถนำเอาความรู้จากการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ไปพัฒนาต่อยอดในการออกแบบผลงานทางด้านนาฏยศิลป์และศิลปะการแสดงอื่น ๆ ต่อไปได้ในอนาคต</p> อภิโชติ เกตุแก้ว, นรีรัตน์ พินิจธนสาร Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/263945 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ฮักสถิต: จากตำนานรักดอกเอื้องแซะสู่ศิลปะการแสดงล้านนาสร้างสรรค์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/261626 <p>การแสดง ชุด ฮักสถิต เป็นการแสดงที่ได้นำต้นทุนทางวัฒนธรรมด้านตำนานรักดอกเอื้องแซะมาพัฒนาไปสู่ศิลปะการแสดงล้านนาสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตำนานรักดอกเอื้องแซะ 2) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุด ฮักสถิต ดำเนินการสร้างสรรค์ตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับขั้นตอนของโมเดลการจัดการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดงสร้างสรรค์แบบ <strong>4C PE MODEL </strong>จากการศึกษาพบว่าตำนานรักดอกเอื้องแซะมีการประพันธ์ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การประพันธ์ในรูปแบบร่ายยาวล้านนามีจุดมุ่งหมายเพื่อขับลำนำก่อนเข้าสู่ขับร้องเพลงเอื้องแซะ 2) การประพันธ์ในรูปแบบโฟล์คซองคำเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการขับร้อง และ 3) การประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอ่าน แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินเรื่องของตำนานมีความสอดคล้องกันทั้ง 3 รูปแบบ จึงนำมาเป็นแนวความคิดสร้างสรรค์การแสดงล้านนา ชุด ฮักสถิต โดยสามารถแบ่งการแสดงออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ความฮัก เป็นช่วงที่แสดงให้เห็นถึงหนุ่มสาวชาวล้านนาที่มีความรักต่อกัน และช่วงที่ 2 สถิตฮัก เป็นช่วงที่แสดงให้เห็นถึงหญิงสาวที่รอคอยชายหนุ่มกลับมา ด้วยใจที่ยึดมั่น ศรัทธาในความรัก จนถึงเวลาที่หญิงสาวต้องลาจากโลกนี้ไป ด้วยจิตวิญญาณที่ยังผูกพันของหญิงสาวจึงกลายเป็นหมอกควันไปเกาะห่อหุ้มแฝงจิตอยู่กับต้นดอกเอื้องแซะ โดยมีองค์ประกอบการแสดงทั้งหมด จำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้แสดง ดนตรี กระบวนท่าฟ้อน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง ฉากและแสงสี และจากการประเมินผลงานสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดนาฏยปัญญา: ศิลปกรรมสร้างสรรค์สู่สังคม โดยคณะกรรมการจำนวน 5 ท่าน พบว่า ผลงานสร้างสรรค์มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ สะท้อนให้เห็นว่าโมเดลการจัดการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดงสร้างสรรค์แบบ 4C PE MODEL เป็นกระบวนการแนวทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับการดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้านพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนด้านศิลปะการแสดงในระดับอุดมศึกษา</p> ปทิตตา ไชยปรุง, ภูดิท ศิริวัฒนกุล, ลิขิต ใจดี Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/261626 Mon, 01 Jan 2024 00:00:00 +0700 คุมิฮิโมะ : การสื่อสารความหมายผ่านเกลียวเชือกสู่การฟื้นฟูงานหัตถศิลป์ญี่ปุ่น ในบริบทสังคมสมัยใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/261885 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการใช้เชือกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผ่านรูปแบบการถักเชือกในงานหัตถกรรม คุมิฮิโมะ (Kumihimo) ด้วยการส่งผ่านคติที่แฝงมากับความเชื่อในเทพเจ้าของชินโต (Shinto) รวมถึงศึกษากระบวนการ และวิวัฒนาการของงานถักเชือกที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย การสื่อสารความหมายและการถูกลดทอนคุณค่าลงเป็นเพียงสายเชือกธรรมดาเมื่อเข้าสู่สังคมในยุคสมัยใหม่ที่ต้องพึ่งพาเครื่องจักรและเทคโนโลยี ไปสู่สภาวะโหยหาอดีต (Nostalgia) ในสังคมญี่ปุ่น และการหวนกลับไปสู่ธรรมชาติ ความเชื่อแบบดั้งเดิม และการสร้างงานหัตถกรรมให้เป็นงานหัตถศิลป์อันมีคุณค่าทางศิลปะ ในบริบทสังคมสมัยใหม่ ด้วยการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ และการสื่อสารความหมายใหม่ เป็นความงามในพื้นที่ใหม่แต่ยังคงมีคติที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กลับไปสู่คุณค่าทางธรรมชาติ ความเคารพ และความเชื่อ เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในรูปแบบของ มุสึบิ (Musubi) อันมีความหมายถึง การเกิดขึ้น เชื่อมโยม สัมพันธ์ ขาดหายไป และเกิดการเชื่อมโยงขึ้นใหม่ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน วนเวียนไม่รู้จบ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> : </strong>คุมิฮิโมะ/ ความหมายใหม่/ เกลียวเชือก/ หัตถศิลป์ญี่ปุ่น</p> วราภรณ์ ชลอสันติสกุล Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/261885 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/263633 <p>การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย และ 2) ศึกษาองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ปราชญ์ท้องถิ่น นักวัฒนธรรม นักวิชาการท้องถิ่น และกลุ่มผู้สื่อความหมายการท่องเที่ยว จำนวน 12 คน ใช้การศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล และประเด็นการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัยสำหรับการนำองค์ความรู้ไปพัฒนางานด้านการจัดการท่องเที่ยวและด้านการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอนดังนี้ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรอง (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนความรู้ และ (7) การเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2) องค์ความรู้ที่ค้นพบจากการจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัยพบว่า ฮูปแต้มถูกแต้มบนผนังวิหารมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2359 แต้มผนังด้านในแต้มเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดกโดยช่างแต้มจากนอกพื้นที่ ส่วนผนังด้านนอกแต้มเรื่องราววรรณกรรมท้องถิ่นโดยช่างแต้มในพื้นที่บ้านนาพึงและช่างแต้มชาวลาว มีลักษณะเป็นภาพเล่าเรื่องราวแบบต่อเนื่องเต็มผนัง</p> ไทยโรจน์ พวงมณี, คชสีห์ เจริญสุข, นัยนา อรรจนาทร Copyright (c) 2023 ศิลปกรรมสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/article/view/263633 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700