TY - JOUR AU - วัฒนศิริศาสตร์, ณัฐทิยา AU - สนิทวงศ์, กรชนก PY - 2022/06/28 Y2 - 2024/03/29 TI - การบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาทำลายและปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน ในพื้นที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย JF - วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ JA - PSDS J Dev TU VL - 5 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/257702 SP - 50-85 AB - <p>บทความเรื่องการบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาทำลายและปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินในพื้นที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มและสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ 2) เพื่อศึกษาแผนการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งสองกลุ่ม 3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนากลุ่มฯ เพื่อให้เป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่ม/องค์กรชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามเป็นเครื่องมือวิจัย ส่วนวิธีการเก็บข้อมูลใช้วิธีการเข้าพบสมาชิกกลุ่มและการจัดประชุมกลุ่มย่อย</p><p>เกษตรกรในพื้นที่ตำบลดอยฮางบางส่วนเข้าร่วมโครงการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์เชียงรายซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้ชักชวนให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินและเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจและใช้วิธีเผาทำลายเพื่อปรับที่ดินในช่วงฤดูแล้งในทุกๆปีเข้าร่วมกลุ่มฯ ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (บจธ.) ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มสมาชิกผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกินและกลุ่มสมาชิกที่มีที่ดินทำกินอื่นนอกเหนือจากที่ดินที่ได้รับการจัดสรร ส่วนแนวทางการพัฒนาของกลุ่มพบว่า ได้มีการวางแนวทางโดยกำหนดให้สมาชิกแต่ละคนปลูกพืชผักในแปลงของคนเองโดยให้คำนึงถึงรายได้เป็นรายวัน รายเดือนและรายปี ส่วนใหญ่ปลูกพืชตามที่กำหนดไว้แต่ยังไม่สามารถจำหน่ายได้อย่างสม่ำเสมอ แต่สมาชิกส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาในด้านสภาพดินไม่เหมาะสมและขาดระบบสาธารณูปโภค การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยต้องการที่จะเพิ่มพื้นที่เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงทางอาหารให้กับครอบครัวและชุมชน สังคม สมาชิกของกลุ่มได้รู้จักกับการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ประหยัดและรู้จักการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ</p><p> </p> ER -