https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/issue/feed
วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2024-06-01T16:31:24+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล
psdsjournal.tu@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>"วารสารพัฒนศาสตร์"</strong> วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<strong> เปลี่ยนชื่อจาก "วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร"</strong> <strong>เผยแพร่ฉบับแรกในปี พ.ศ. </strong><strong>2548</strong> เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของ "บัณฑิตอาสาสมัคร" ที่ได้เข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต การศึกษา พัฒนาและรวบรวมองค์ความรู้จากในพื้นที่ชนบทที่บัณฑิตอาสาสมัครได้เข้าไปปฏิบัติงานภาคสนามร่วมกับประชาชนในพื้นที่ วารสารฯ ได้ดำเนินการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์เรื่อยมา กระทั่งปี พ.ศ.2561 ที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ได้ยกสถานะเป็นวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ วารสารจึงได้เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับชื่อของหน่วยงานและใช้มาจนถึงปัจจุบัน</p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ในลักษณะสหสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ พัฒนศาสตร์ โดยเปิดรับบทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานวิชาการลักษณะอื่น ๆ ที่ครอบคลุมประเด็น</p> <ul> <li>การศึกษาวิจัยและปฏิบัติการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่น/ชุมชนเมือง ทั้งในมิติทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม</li> <li>การบริหารจัดการทรัพยากร</li> <li>ทุนทางสังคม</li> <li>การศึกษาเพื่อการพัฒนา และ</li> <li>การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนามนุษย์และสังคม</li> </ul> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ</strong></p> <p>วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาและคัดเลือกบทความ ดังนี้</p> <ol> <li>บทความที่เสนอเข้ามาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารอื่น และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน</li> <li>บทความมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและขอบเขตของวารสารฯ</li> <li>บทความมีรูปแบบการเขียนเรียบเรียงที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ มีหลักฐานอ้างอิงที่ถูกต้องและเชื่อถือได้</li> <li>การพิจารณาบทความ ทำโดย<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ</strong> <strong>(peer-reviewers) </strong>จากสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย <strong>จำนวน 3 ท่านต่อ 1 บทความ</strong></li> <li>รูปแบบ<strong>การพิจารณาบทความ ใช้รูปแบบ</strong> <strong>Double-Blinded Review</strong> <strong>โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ</strong></li> <li>บทความจะได้รับการเผยแพร่เมื่อผู้เขียนได้ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและผ่านการพิจารณารับรองจากกองบรรณาธิการวารสารฯ</li> <li>ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่เผยแพร่ในวารสารพัฒนศาสตร์ฯ ถือเป็นของผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประสงค์จะนำข้อความใด ๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต่อไปต้องได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์และโปรดแจ้งให้ทางวารสารฯ ทราบ</li> </ol> <p><strong>ประเภทของบทความที่เผยแพร่ </strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย (Research article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic article)</li> </ol> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ </strong></p> <ul> <li>ภาษาไทย</li> <li>ภาษาอังกฤษ</li> </ul> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></p> <p>วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน เผยแพร่เดือนมิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม เผยแพร่เดือนธันวาคม</li> </ul> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p>วารสาร<strong>ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong>ทุกขั้นตอน</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p>วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/268946
การระดมทรัพยากร: การจัดการไฟป่าพื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
2024-02-02T14:22:48+07:00
อดิศร ภู่สาระ
sorn1@hotmail.com
สุมาลินี สาดส่าง
sumalineesadsang@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการไฟป่า พื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษารูปแบบเดี่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการไฟป่า และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการไฟป่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านเครือข่ายป้องกันไฟป่าพื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกข้อมูล และการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูลจากหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าภูชี้ฟ้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการไฟป่าของหมู่บ้านพื้นที่ดอยผาหม่น ประกอบด้วยการระดมทรัพยากร และการจัดการไฟป่า โดยรูปแบบของการระดมทรัพยากร คือ 1) ทรัพยากรวัตถุโดยการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์จากสถานีควบคุมไฟป่า 2) ทรัพยากรมนุษย์ จากอาสาสมัครไฟป่าหมู่บ้าน ราษฎรในหมู่บ้าน อาสาสมัครไฟป่าหมู่บ้านใกล้เคียง และพนักงานดับไฟป่า 3) ทรัพยากรด้านองค์กร-สังคม โดยการสร้างเครือข่ายประสานงานหมู่บ้านใกล้เคียง และหน่วยงานภาครัฐ 4) ทรัพยากรวัฒนธรรม โดยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมชุมชนเกี่ยวกับไฟป่า และ 5) ทรัพยากรด้านหลักธรรมจริยา โดยการกำหนดกฎเกณฑ์บังคับใช้กับราษฎรในชุมชน ส่วนรูปแบบการจัดการไฟป่า คือ 1) การป้องกันไฟป่าโดยการให้ความรู้กับราษฎร การจัดตั้งอาสาสมัครไฟป่า การทำแนวกันไฟ การชิงเผา การจัดหาอุปกรณ์ และ 2) การควบคุมไฟป่า โดยกำหนดวิธีการเลือกใช้แรงงานมนุษย์ตามระดับความรุนแรงของไฟป่า และการประเมินผลการดับไฟป่าหลังเกิดเหตุ และหลังสิ้นฤดูกาลไฟป่า</li> <li>ปัญหา อุปสรรคการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการไฟป่า ประกอบด้วย การระดมทรัพยากรและการจัดการไฟป่า โดยปัญหาการระดมทรัพยากรคือ 1) การสร้างเครือข่ายกับหมู่บ้านที่มีราษฎรต่างกลุ่มชาติพันธุ์ 2) งบประมาณการจัดหายานพาหนะ และการจัดจ้างพนักงานดับไฟป่า ส่วนปัญหาการจัดการไฟป่าคือ 1) ไฟป่าที่ลุกลามจากประเทศเพื่อนบ้าน และ 2) ขวัญกำลังใจของอาสาสมัครไฟป่า จากมุมมองของสังคมว่าเป็นกลุ่มผู้ต้องรับผิดชอบปัญหาหมอกควัน</li> </ol>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 อดิศร ภู่สาระ, สุมาลินี สาดส่าง
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/269317
การศึกษาบริบทชุมชนและการวางแผนพัฒนาชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วม ชุมชนทศทิศพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
2024-03-26T15:46:39+07:00
วุฒิชัย สายบุญจวง
wuttichai@vru.ac.th
<p>จากกระแสการพัฒนาแบบโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ โดยเฉพาะการขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ </p> <p>ชุมชนทศทิศพัฒนา หมู่ 2 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนเมืองชุมชนหนึ่งที่ได้รับผลจากกระแสการพัฒนาดังกล่าว จนทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนเป็นการใช้ชีวิตแบบคนเมืองและนำไปสู่ปัญหาการขาดมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาชุมชน ประกอบกับแกนนำชุมชนขาดความรู้เกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาชุมชน จึงทำให้ประเด็นการวางแผนพัฒนาชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วมด้วยวิธีการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีความน่าสนใจมาก ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการทำแผนพัฒนาชุมชนเมืองแห่งนี้เริ่มด้วยการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้างแนวทางและกิจกรรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ข้อมูลลักษณะทางกายภาพ ความเป็นมาของชุมชน จำนวนประชากร การประกอบอาชีพ แหล่งทรัพยากรของชุมชน สถานที่สำคัญของชุมชน วัฒนธรรมหลัก และกิจกรรมการผลิตตลอดทั้งปีมาใช้ในการหาแนวทางการพัฒนา เพื่อค้นหากิจกรรมในการแก้ปัญหาด้านอาชีพและดึงปราชญ์ชุมชนมาเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมการพัฒนา แผนพัฒนาชุมชนเมืองที่ได้ครอบคลุมทั้งมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการจำนวน 4 โครงการ ที่ช่วยพัฒนาความสามารถให้กับแกนนำชุมชนอันเป็นการเสริมพลัง 2 ลักษณะ คือ การเสริมพลังผ่านการลงมือปฏิบัติและกระบวนการเรียนรู้จากเวทีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้เกิดผลลัพธ์ 2 ประการ คือ 1. ได้นักวิจัยชุมชน ที่สามารถคิดได้เป็นเหตุผล กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในเวทีประชุม อีกทั้งยังมีความสามารถในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2.ได้แผนพัฒนาชุมชนซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลกับคนในชุมชน</p>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วุฒิชัย สายบุญจวง
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/268800
การสร้างความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงในภาพยนตร์ไทย ผ่านตัวละครผู้หญิงประเภทบู๊
2024-02-15T13:46:01+07:00
กฤชณัท แสนทวี
good0773@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการสร้างความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงผ่านภาพตัวแทนของตัวละครหญิงบู๊ที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทย 2) ศึกษาการรับรู้ และการตีความหมายความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงจากมุมมองกลุ่มผู้รับสารที่มีประสบการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกัน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารจากภาพยนตร์ เรื่อง “ดื้อ สวย ดุ” และภาพยนตร์ เรื่อง “บัวผัน ฟันยับ” ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้รับสาร จำนวน 9 คน ด้วยการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง เป็นเพศหญิง 7 คน และเป็นเพศชาย 2 คน มีอายุระหว่าง 27 – 46 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพยนตร์ไทยทั้ง 2 เรื่อง นำเสนอภาพตัวแทนของตัวละครผู้หญิงบู๊ที่มีความแข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว ต้องต่อสู้และดิ้นรน โดยมีการประกอบสร้างความเป็นจริงผู้หญิงบู๊ที่เกิดจากขึ้นจากการที่ผู้ชายไม่เห็นคุณค่าของผู้หญิงว่ามีความเท่าเทียมกับผู้ชาย จึงทำให้ตัวละครมีความคิดต่อต้านและต่อสู้กับอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ ภาพตัวแทนผู้หญิงประเภทบู๊ในภาพยนตร์มีพฤติกรรมเชิงลบมีความขัดแย้งกับบรรทัดฐานทางสังคมของผู้หญิงไทย มีการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ตามแบบของผู้ชาย มีการนำเสนอทางเลือกและอุดมการณ์ตามแนวคิดสตรีนิยมตามกลุ่มสตรีนิยมแนวถอนราก 2) ผู้รับสารยอมรับความหมายที่ภาพยนตร์นำเสนอด้านความขัดแย้งกับบรรทัดฐานทางสังคมไทย แต่มีความเห็นต่อต้านความหมายที่ภาพยนตร์นำเสนอด้านลักษณะทางประชากร ด้านพัฒนาการของตัวละครหญิงบู๊ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครผู้หญิงบู๊กับผู้อื่น ด้านทางเลือกและอุดมการณ์ โดยเห็นว่าผู้หญิงในโลกทางกายภาพที่แสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจนั้นไม่จำเป็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรงและใช้ความรุนแรงในการต่อสู้กับผู้อื่น และการต่อสู้เชิงอำนาจไม่ใช่การต่อสู้เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้แบบตัวละครผู้หญิงบู๊ที่ในภาพยนตร์ แต่เป็นการต่อสู้เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงมีบทบาททางสังคมตามมุมมองของกลุ่มสตรีนิยมแนวเสรีนิยม</p>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กฤชณัท แสนทวี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/270756
ประสบการณ์การย้ายถิ่นและความทรงจำของ อดีตแรงงานข้ามชาติไทยในแอฟริกา
2024-03-26T15:48:54+07:00
อารีรัตน์ สุวงศ์เครือ
areerats63@nu.ac.th
บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
busarinl@nu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้แรงงานไทยตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ 2) ทำความเข้าใจว่าแรงงานไทยมีความทรงจำในการไปทำงานในแอฟริกาทั้งก่อนไป ระหว่างอยู่ หลังกลับคืนถิ่น และมีการปรับตัวระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่แอฟริกา และ 3) เพื่อพิจารณาว่า ณ เวลาปัจจุบัน แรงงานไทยมีความทรงจำระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่แอฟริกาอย่างไร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกอดีตแรงงานชายจากจังหวัดลำปางที่มีประสบการณ์ไปทำงานในประเทศกาบอง คองโก แอฟริกาใต้ และลิเบีย ผ่านกรอบแนวคิดการอพยพย้ายถิ่นและความทรงจำ ผลการศึกษาพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจไปทำงานที่ต่างประเทศ ปัจจัยแรกคือความต้องการยกสถานะทางเศรษฐกิจครัวเรือนและเป็นทุนการศึกษาให้ลูก ปัจจัยที่สองคือการสะสมทุนให้กับชีวิตของตนเองในอนาคต โดยส่วนใหญ่มีประสบการณ์ย้ายถิ่นทั้งในภูมิภาคและในประเทศ รวมถึงการไปเป็นแรงงานในต่างประเทศเช่นในตะวันออกกลางก่อนเดินทางไปทำงาน พวกเขายังมีความทรงจำเกี่ยวกับก่อนการย้ายถิ่นไปทำงานในแอฟริกาทั้งก่อนไป ระหว่างอยู่ และหลังกลับคืนถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องราวการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาหารการกิน การใช้ภาษา หรือการปรับตัวในสภาพสังคมที่มีศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างจากบ้านเกิด บางคนมีชีวิตทำงานในพื้นที่สมบุกสมบันกลางป่าลึกและทะเลทราย แรงงานข้ามชาติไทยโดยเฉพาะในลิเบียยังเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งต้องหนีสงครามกลับบ้านเกิด บทความนี้ยังศึกษาชีวิตเกี่ยวกับการปรับตัวของพวกเขาในฐานะคนย้ายถิ่นกลับ โดยสนใจการรื้อฟื้นประสบการณ์ผ่านความทรงจำของปัจเจกที่สะท้อนถึงการสร้างความทรงจำร่วมกันผ่านเหตุการณ์และวัตถุในฐานะแหล่งความทรงจำที่ข้ามผ่านห้วงเวลาและสถานที่</p>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 อารีรัตน์ สุวงศ์เครือ, บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/269443
ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานแก้มลิงบางบาล
2024-03-07T10:13:49+07:00
คมลักษณ์ ไชยยะ
komluckc@gmail.com
<p>บทความนี้เป็นการศึกษาการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานแก้มลิงบางบาล 1 ใน 12 ทุ่งรับน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากการศึกษาพบว่า ‘แก้มลิงบางบาล’ เป็นโครงสร้างพื้นฐานชลศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน ลื่นไหล และยากต่อการรับรู้เข้าใจของคนทั่วไป เนื่องจากแก้มลิงบางบาลไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานที่คงรูปถาวรหรือเป็นเพียงภาชนะว่างเปล่าที่สามารถผันน้ำเข้าไปกักเก็บในพื้นที่ได้ทันที ในความเป็นจริงแก้มลิงบางบาลเกิดขึ้นจากการผสานรวมสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่อันกว้างใหญ่ ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกันทางวัตถุของสิ่งต่างๆ ดังเช่น ชุมชน บ้านเรือน ทุ่งนา ถนน ระบบชลประทาน บ่อทราย ฯลฯ นอกจากนี้ปฏิบัติการเปลี่ยนพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงจะเกิดขึ้นเฉพาะในปีที่น้ำท่วมวิกฤติ ซึ่งน้ำอาจจะท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แก้มลิงบางบาลจึงไม่ได้ดำรงอยู่ตลอดเวลา จึงยากที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของแก้มลิงบางบาลได้จนกว่าแก้มลิงจะเริ่มทำงาน อย่างไรก็ตามโครงสร้างพื้นฐานชลศาสตร์เหล่านี้ ยังส่งผลสัมพันธ์ต่อคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วม การทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นแก้มลิงบางบาล จึงอาจช่วยให้เข้าใจสภาพปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาลได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น. </p>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คมลักษณ์ ไชยยะ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/264638
การเมืองของระบอบรัฐสวัสดิการอนุรักษ์นิยมและการเคลื่อนไหวของเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม
2023-11-08T09:39:54+07:00
กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์
Kritsadathe@outlook.com
นาตยา อยู่คง
ukong_n@su.ac.th
ลักษมณ ชาตะนาวิน
c.luksamon@gmail.com
รินรดา สิงหพงศ์
singhapong_r@silpakorn.edu
<p>การศึกษาเน้นที่สวัสดิการและรัฐสวัสดิการในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมและเป็นธรรมในประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้ ผู้เขียนอธิบายระบอบรัฐสวัสดิการและอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อวิเคราะห์ฐานคิดของนโยบายรัฐสวัสดิการของเครือข่าย We Fair ที่ตั้งอยูบนหลักการของสวัสดิการถ้วนหน้าและสวัสดิการวงจรชีวิต บทความนี้นำไปสู่ปฏิบัติการเคลื่อนไหวรัฐสวัสดิการ ทั้งการผลักดันชุดข้อเสนอนโยบาย การเผยแพร่ความรู้สาธารณะ และสะท้อนมุมมองของนักกิจกรรม สิ่งที่ควรให้ความสำคัญต่อไปคือการศึกษารัฐสวัสดิการที่เป็นสหวิทยาการ การปฏิบัติการต้องจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการนโยบาย การขยายข้อเสนอนโยบายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับอภิสิทธิ์ชน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน</p>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์, นาตยา อยู่คง, ลักษมณ ชาตะนาวิน, รินรดา สิงหพงศ์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/273466
บทบรรณาธิการ
2024-06-01T16:03:47+07:00
ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล
t.sakveerakul@gmail.com
<p>วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2567) ได้รวบรวมบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาจำนวน 6 เรื่อง เผยแพร่สู่ผู้อ่านโดยบทความทุกเรื่องได้ผ่านการตรวจพิจารณาคุณภาพอย่างเข้มข้นจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ในรูปแบบ Double-Blinded Peer Review</p> <p> บทความเรื่องแรกเป็นบทความวิจัยเรื่อง <strong>การระดมทรัพยากร: การจัดการไฟป่าพื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดย อดิศร ภู่สาระ และ สุมาลินี สาดส่าง</strong> ผู้เขียนได้นำเสนอการศึกษารูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการไฟป่า และการศึกษาปัญหาอุปสรรคของการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการไฟป่า ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม</p> <p> บทความเรื่องที่สองเป็นบทความวิจัย เรื่อง <strong>การศึกษาบริบทชุมชนและการวางแผนพัฒนาชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วม ชุมชนทศทิศพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดย </strong><strong>วุฒิชัย สายบุญจวง และ สมทรง บรรจงธิติทานต์</strong> ผู้เขียนได้ศึกษาวิถีการมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ของชุมชน</p> <p> เรื่องที่สามเป็นบทความวิจัย <strong>การสร้างความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงในภาพยนตร์ไทยผ่านตัวละครผู้หญิงประเภทบู๊ โดย กฤชณัท แสนทวี</strong> ที่มุ่งศึกษาการสร้างความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงผ่านภาพแทนผู้หญิงที่มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในการต่อสู่ตามแบบของผู้ชาย มีการเสนอทางเลือกและอุดมการณ์ตามแนวคิดสตรีนิยมตามกลุ่มสตรีนิยมแนวถอนราก ซึ่งพฤติกรรมดังกล่างมีความขัดแย้งกับบรรทัดฐานทางสังคมของผู้หญิงไทย ผลการศึกษาจะเป็นอย่างไรอยากให้ผู้อ่านติดตามต่อในบทความเพิ่มเติม</p> <p> เรื่องที่สี่บทความวิจัยเรื่อง <strong>ประสบการณ์การย้ายถิ่นและความทรงจำของอดีตแรงงานข้ามชาติไทยในแอฟริกา โดย อารีรัตน์ สุวงศ์เครือ และบุศรินทร์ เลิศชวลิตกุล</strong> ได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้แรงงานไทยที่ตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ และทำความเข้าใจว่าแรงงานไทยมีความทรงจำในการไปทำงานในแอฟริกาทั้งก่อน ระหว่างอยู่และหลังกลับคืนถิ่น และการปรับตัวระหว่างการใช้ชีวิตในแอฟริกาของแรงงานไทยในต่างประเทศ การรื้อฟื้นประสบการณ์ผ่านความทรงจำของปัจเจกที่สะท้อนถึงการสร้างความทรงจำร่วมกันผ่านเหตุการณ์และวัตถุในฐานะแหล่งความทรงจำที่ข้ามผ่านห้วงเวลาและสถานที่</p> <p> ต่อมาเป็นบทความวิชาการ เรื่อง <strong>ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานแก้มลิงบางบาล โดย คมลักษณ์ ไชยยะ</strong> ที่อธิบายถึงการมีอยู่ของแก้มลิงบางบาล ตัวตนความมีอยู่ของโครงสร้างพื้นฐานที่ผนวกรวมกับสรรพสิ่งรอบตัว</p> <p> เรื่องสุดท้ายเป็นบทความวิชาการ <strong>การเมืองของระบอบรัฐสวัสดิการอนุรักษ์นิยมและการเคลื่อนไหวของเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ นาตยา อยู่คง ลักษมณ ชาตะนาวิน และ</strong><strong>รินรดา สิงหพงศ์</strong> อธิบายถึงระบอบรัฐสวัสดิการและอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อวิเคราะห์ฐานคิดของนโยบายรัฐสวัสดิการของเครือข่าย We Fair ที่ตั้งอยู่บนหลักการของสวัสดิการถ้วนหน้าและสวัสดิการวงจรชีวิต บทความนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติการเคลื่อนไหวรัฐสวัสดิการ ทั้งการผลักดันชุดนโยบาย การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ และการสะท้อนมุมมองของนักกิจกรรม</p> <p> บทความทุกเรื่องในวารสารฉบับนี้ ได้ผ่านการกลั่นกรองเรียบเรียงอย่างเป็นระบบทั้งจากผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการวารสารฯ เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้แนวคิด องค์ความรู้และมุมมองใหม่ ๆ ทางวิชาการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในการทำงาน การศึกษา และการพัฒนางานวิจัย งานวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับเรามาโดยตลอด</p> <p> </p>
2024-06-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล