วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu <p><strong>"วารสารพัฒนศาสตร์"</strong> วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<strong> เปลี่ยนชื่อจากเดิม คือ "วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร"</strong> <strong>ตีพิมพ์ฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2548</strong> เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของ "บัณฑิตอาสาสมัคร" วัฒนธรรมการเรียนรู้ การศึกษา องค์ความรู้จากในพื้นที่ชนบทที่บัณฑิตอาสาสมัครได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานภาคสนาม ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงเรื่อยมาจนในปี พ.ศ.2561 ที่สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ได้ยกสถานะเป็นวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชื่อวารสารจึงได้เปลี่ยนเป็น "วารสารพัฒนศาสตร์" และใช้มาจนถึงปัจจุบัน</p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ แลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ในลักษณะสหสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ โดยเปิดรับบทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานวิชาการลักษณะอื่นๆ ที่ครอบคลุมประเด็นการศึกษาวิจัยและปฏิบัติการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเมือง ทั้งในมิติทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากร ทุนทางสังคม การปฏิบัติพัฒนา และการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับพัฒนามนุษย์และสังคม</p> <p><strong>การประเมินบทความ</strong></p> <p>ประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ จำนวน 3 ท่าน/บทความ</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong></p> <p>การพิจารณาบทความเป็นไปตามข้อกำหนดการตีพิมพ์วารสาร</p> <ol> <li>บทความที่เสนอเข้ามาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</li> <li>บทความมีประเด็นหรือแนวคิดที่ชัดเจน มีสาระทางวิชาการที่ถูกต้อง การวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดหรือทฤษฎีที่เหมาะสม มีข้อเท็จทางวิชาการ ค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้ นำเสนอข้อมูลเข้าใจง่าย ใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาที่เป็นไปตามรูปแบบการอ้างอิงที่วารสารกำหนด</li> <li>ผู้นิพนธ์ยินยอมให้กองบรรณาธิการสรรหาผู้เชี่ยวชาญกลั่นกรองโดยอิสระ เพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความและสามารถตรวจแก้ไขบทความได้ตามที่เห็นสมควร</li> <li>บทความจะได้รับการกลั่นกรองเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการขั้นต้นและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก <strong>(</strong><strong>peer-reviewers) จำนวน 3 ท่าน</strong>พิจารณาในรูปแบบ Double-Blinded จากนั้นจึงจะส่งผลการประเมินและข้อเสนอแนะกลับไปยังผู้นิพนธ์ปรับแก้ไขส่งกลับคืนวารสารตามเวลาที่กำหนด</li> <li>ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารพัฒนศาสตร์เป็นของผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประสงค์จะนำข้อความใด ๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต่อไปต้องได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์และโปรดแจ้งให้ทางวารสารทราบ</li> </ol> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <ol> <li><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) </span></li> <li><span style="font-weight: 400;">บทความวิชาการ (academic article) </span></li> </ol> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></li> <li><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></li> </ul> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></p> <ul> <li><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน เผยแพร่เดือนมิถุนายน</span></li> <li><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม เผยแพร่เดือนธันวาคม</span></li> </ul> <p><strong>Article Processing fees (การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์)</strong></p> <p><strong> <span style="font-weight: 400;">วารสารไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</span></strong></p> <p><strong>Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</span></p> วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ th-TH วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2630-0680 ภาวะผู้นำสาธารณะแนวใหม่กับการพัฒนาสังคมในศตวรรษที่ 21 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/263232 <p>การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางที่สามารถนำพาสังคมไปสู่ผลสำเร็จได้ ภาวะผู้นำสาธารณะแนวใหม่ (New Public Leadership) ถูกเสนอเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาสังคมเป็นบุคคลทำงานเพื่อส่วนร่วม ได้แก่ ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายทางการเมืองและผู้ที่ทำงานองค์กรสาธารณะทั้งภาครัฐและภาคเอกชนขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่มุ่งสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ หลังจากได้มีการนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ <br />(New public management : NPM) ที่ได้นำมาใช้กับการจัดการภาครัฐมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจของประชาชน มองประชาชนเป็นลูกค้า หน่วยงานภาครัฐต้องสร้างตัวชี้วัดเพื่อการเปลี่ยนแปลง การบริหารงานภาครัฐที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยแสวงหาผู้นำสาธารณะแนวใหม่เพื่อมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ ภาครัฐจึงพยายามพัฒนาภาวะผู้นำสาธารณะที่เข้มแข็ง มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาสังคมในศตวรรษที่ 21 นั้นไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น <br />แต่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของสังคม พร้อมทั้งได้มีแนวคิดการจัดการภาคีสาธารณะ (New public governance : NPG) เข้ามาแทนที่การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New public management : NPM) บทบาทภาวะผู้นำสาธารณะแนวใหม่จึงทำหน้าที่ประสานเครือข่าย สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นพลเมือง เน้นการปรึกษาหารือและการนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนโดยตรง <br />การให้บริการสาธารณะอย่างมืออาชีพ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ผู้เขียนจึงได้นำเสนอหลักการ POJAI เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสาธารณะแนวใหม่ (New Public Leadership) กับการพัฒนาสังคมในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1. P: Purposeful ความตั้งใจ <br />2. O: Output and Outcome ทำงานให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ต่อส่วนรวม 3. J: Justice ความยุติธรรมทุกภาคส่วน 4. A: Administration บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ 5. I: Impression สร้างความประทับใจต่อผู้ตามหรือประชาชน ดังนั้นภาวะผู้นำสาธารณะแนวใหม่นับมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสังคมให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน </p> อุทิศ ทาหอม Copyright (c) 2023 อุทิศ ทาหอม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 6 2 98 127 พลังงานหมุนเวียนและความคลุมเครือของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/267039 <p>บทความนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ทางความคิดของการใช้ “พลังงานหมุนเวียน” เป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมาย “การเปลี่ยนผ่านพลังงาน” ในประเทศเยอรมนี และปฏิบัติการจริงที่เกิดขึ้นของกรณีศึกษาที่นำนวัตกรรมการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนไปใช้ส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียน งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการวิจัยเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง งานชิ้นนี้เสนอว่าต้นแบบการเปลี่ยนผ่านพลังงานและการสร้างประชาธิปไตยด้านพลังงานเกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง ระหว่างเทคโนโลยี ระบบบริหารพลังงาน โครงสร้างสังคม และวัฒนธรรมทางการเมือง การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการรับซื้อไฟในกรณีศึกษาอื่นกลับให้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง เพราะโครงการเหล่านี้ยังทำงานอยู่ในระบบนิเวศทุนนิยม เศรษฐกิจแบบสกัดนิยม และความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ไม่เท่าเทียม โครงการพลังงานหมุนเวียนในหลายกรณีจึงถูกต่อต้าน เพราะสร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม สถานะการเป็นพลังงานสะอาดจึงเต็มไปด้วยความคลุมเครือ การเพิ่มแหล่งพลังงานใหม่ที่เร่งให้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอาจเป็น “การสะสมพลังงานพลังงานเพิ่ม” มากกว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านพลังงาน</p> ประเสริฐ แรงกล้า Copyright (c) 2023 ประเสริฐ แรงกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 6 2 1 22 การเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ถูกกฎหมายภายใต้สภาวะ “ความเป็นอื่น” ที่คงอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/267362 <p>บทความนี้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ถูกกฎหมายภายใต้การสร้าง “ความเป็นอื่น” ของรัฐไทยในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วงการระบาดในระลอกแรกของประเทศไทยหรือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานในเขตเทศบาลเมืองเชียงราย 8 คน ในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ข้อค้นพบเสนอว่าแรงงานข้ามชาติประสบปัญหาวิธีการบอกเลิกจ้างที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงเงินชดเชยเมื่อถูกบอกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากโควิด-19 และปัญหาในการดำเนินการตามกระบวนทางกฎหมายที่พวกเขาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง และเมื่อต้องการความช่วยเหลือหรือการเยียวยาจากรัฐ พวกเขาถูกสร้างความเป็นอื่นด้วยอคติทางชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงกับความแตกต่างทางสังคมและการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของสัญชาติและสถานะทางพลเมืองมาอย่างยาวนาน วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นจึงสะท้อนถึงสายตาของรัฐไทยที่มองข้ามกลุ่มแรงงานข้ามชาติ แม้พวกเขาจะอยู่และทำงานในเมืองไทยอย่างถูกกฎหมายก็ตาม</p> จิราภรณ์ ไพรเถื่อน บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล Copyright (c) 2023 จิราภรณ์ ไพรเถื่อน, บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 6 2 23 42 การต่อรองและการช่วงชิงทางอัตลักษณ์ที่ส่งผลต่อกรอบความคิดและกระบวนการเรียนรู้ ของเยาวชนมลายูมุสลิมภายใต้ระบบการศึกษาไทย:กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดยะลา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/267556 <p>การต่อรองและการช่วงชิงด้านการศึกษาของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกระบวนการเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วยข้อถกเถียงการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควรเป็นการศึกษาในรูปแบบใด บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าโรงเรียนในพื้นที่มีการต่อรองต่อนโยบายการศึกษาที่ทันสมัยและคงรูปแบบการศึกษาในด้านศาสนาที่เป็นรูปแบบการศึกษาที่สร้างความเข้มแข็งทางอัตลักษณ์ของความเป็นมลายูมุสลิมซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาวมลายูมุสลิมอย่างไร เพื่อช่วงชิงความหมายของ “การศึกษาเพื่อการศึกษาของชาวมลายูมุสลิม” และผลที่กระทบต่อเยาวชนมลายูมุสลิมในฐานะผู้ผ่านกระบวนการต่อรองและการช่วงชิงของโรงเรียนสะท้อนการให้ความหมายความเป็นมลายูมุสลิมของเยาวชนอย่างไรผ่านการแสดงออกทางร่างกายและความคิด โรงเรียนกรณีศึกษา 3 แห่ง โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา 2 แห่ง โรงเรียนรัฐ 1 แห่งในพื้นที่จังหวัดยะลา ใช้แนวคิดและทฤษฎีปฏิบัติการของบูดิเยอในการทำความเข้าใจพื้นที่ การหยิบนำชนิดของทุนที่เป็นแหล่งอำนาจในการต่อรองและการช่วงชิง และฮาบิทัสที่ทำความเข้าใจการแสดงออกของเยาวชนมลายูมุสลิมผ่านร่างกายและความคิดในฐานะผู้รับวัฒนธรรมการเรียนรู้ในระบบการศึกษา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนทั้ง 3 แห่งมีกระบวนการต่อรองและการช่วงชิงอัตลักษณ์มลายูมุสลิมที่กระทำไปมาภายใต้กระแสของความทันสมัยจากกรอบการพัฒนาการศึกษาใน 3 รูปแบบภายใต้ทุนชนิดต่าง ๆ คือ 1) ทุนทางวัฒนธรรมกับการต่อรองและการช่วงชิงในรูปแบบผลิตซ้ำสิ่งเดิมและรับสิ่งใหม่เข้ามา 2) ทุนทางวัฒนธรรมกับการต่อรองและการช่วงชิงในรูปแบบการรื้อถอนรูปแบบวัฒนธรรมการเรียนรู้เดิม และ 3) การต่อรองและการช่วงชิงอัตลักษณ์มลายูมุสลิมในรูปแบบการสร้างทุนทางสังคม</p> <p>รูปแบบการต่อรองและการช่วงชิงที่แตกต่างกันนี้ส่งผลให้เยาวชนมลายูมุสลิมแสดงออกต่อการให้ความหมายอัตลักษณ์มลายูมุสลิมที่แตกต่างกันทั้งการต่อรองที่เรียนรู้ในการทำตามต้นแบบ (mimesis) และมีการช่วงชิงที่แสดงออกผ่านร่างกายและความคิดที่ต้องการให้ความหมายต่อตนเองซึ่งปรากฏใน 2 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่กายภาพ และ 2) พื้นที่ออนไลน์ ซึ่งในสองพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถึงพลวัตของการอัตลักษณ์เยาวชนมลายูมุสลิมที่ต่อรองและช่วงชิงความหมายต่อตนเองที่แสดงออกถึงความร่วมสมัยด้วยอิทธิพลของการศึกษาและการได้รับความรู้และประสบการณ์จากพื้นที่ออนไลน์ที่แนวคิดการพัฒนาและความทันสมัยเข้ามาสู่ความคิดของเยาวชนมลายูมุสลิม </p> อามีนะห์ หลงเดวา ไอยเรศ บุญฤทธิ์ Copyright (c) 2023 อามีนะห์ หลงเดวา, ไอยเรศ บุญฤทธิ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 6 2 43 71 การบริหารงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลนากอก จังหวัดหนองบัวลำภู https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/267040 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษา 3 ประเด็น ได้แก่ 1) บริบทชุมชน 2) ระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) โครงการพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เลือกพื้นที่และกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลนากอก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ รวม 51 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก <br />การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสำรวจชุมชน นำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ตำบลนากอกประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ส่วนปัญหาสำคัญของพื้นที่คือ รายได้น้อยและยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ด้านระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็น “องค์กรแห่งประโยชน์สุข” คือ ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้โดยปฏิบัติจนกลายเป็น “วิถีชีวิต” มีวิถีปฏิบัติที่เป็นธรรมชาติและมีเหตุผล ทำให้องค์กรมีภูมิคุ้มกัน มีความพอประมาณ และมีเหตุผล อันทำให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยมีปัจจัยความสำเร็จ คือ ภาวะผู้นำ และการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน สะท้อนผ่านโครงการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด การส่งเสริมอาชีพ และโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยโครงการเหล่านี้ได้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ จึงเป็นปัจจัยประกอบสร้างให้เกิดการพัฒนาและประโยชน์สุขต่อประชาชน</p> สุนิตย์ เหมนิล Copyright (c) 2023 สุนิตย์ เหมนิล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 6 2 72 97 บทบรรณาธิการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/269938 ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 6 2