การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

อาหามะ มะบู
อภิชาติ เลนะนันท์
ณัฐกานต์ ภาคพรต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์ และ3) ศึกษาผลการใช้ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ งานวิจัยจำนวน 82 เล่ม ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่จบปีการศึกษา ระหว่างปี 2554-2562  กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 20-21 จำนวน 27 คน และบุคคลทั่วไป จำนวน 31 คน รวมทั้งสิ้น 58 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ 2) แบบประเมินการยอมรับต่อการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ข้อมูลที่ใช้ในการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รวบรวมจากวิทยานิพนธ์ จำนวน 82 เล่ม เมื่อสังเคราะห์แล้วสามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ด้าน ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม  กลุ่มเป้าหมาย การเลือกกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล  จากการศึกษาพบว่า 1) การจำแนกตามตัวแปรต้น ปัจจัยด้านการบริหารเป็นปัจจัยที่พบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 17.07 2) การจำแนกตามตัวแปรตาม  ด้านพัฒนาสถานศึกษาเป็นปัจจัยที่พบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ คิดเป็นร้อยละ 39.02 3) การจำแนกตามกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมายที่พบมากที่สุด ได้แก่ ครูผู้สอน คิดเป็นร้อยละ 48.78  4) การจำแนกตามการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ การเลือกแบบเจาะจง คิดเป็นร้อยละ 53.66 5) การจำแนกตามรูปแบบการวิจัย ที่พบมากที่สุด ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ คิดเป็นร้อยละ 70.73 และ 6) การจำแนกตามลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลที่พบมากที่สุด ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอย คิดเป็นร้อยละ 45.12  

  2. ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์นั้น ขั้นแรกต้องกำหนดความต้องการ โดยการใช้แบบสอบถาม เพื่อสอบถามปัญหาและความต้องการจากนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากนั้นกำหนดฐานข้อมูลของระบบที่ประกอบด้วย แผนภาพการทำงานของระบบฐานข้อมูล การออกแบบหน้าจอแสดงผล การออกแบบหน้าจอสำหรับผู้ดูแลระบบและรูปแบบการสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ให้มีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลของวิทยานิพนธ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากระบบเดิมที่เป็นเอกสารจัดเก็บข้อมูลและใช้การสืบค้นข้อมูล

  3. 3. ผลประเมินการยอมรับต่อการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทำให้ได้ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์ ที่มีประโยชน์ ที่สามารถนำมาใช้ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์มีประโยชน์ในการสืบค้นของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา เป็นระบบที่มีการออกแบบให้สอดคล้องกับเนื้อหา ทำให้ง่าย สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล ดังนั้น สาขาวิชาการบริหารการศึกษาควรมีการดูแลระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์นี้ให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
มะบู อ. ., เลนะนันท์ อ., & ภาคพรต ณ. . (2020). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการสืบค้นออนไลน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 22(2), 7–19. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/252825
บท
บทความวิจัย

References

1. กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. ดวงแก้ว สวามิภักดิ์. (2543). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยเูคชั่น
3. ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.
4. รัตนาภรณ์ กาศโอสถ และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2552). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสําหรับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 15(1), 32-61.
5. ศรีสมพร โคตะคำ (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นงานนิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.