การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับ เทคนิคแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การคิดวิเคราะห์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดด้านอื่น ๆ ที่สูงขึ้น สามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องผู้วิจัยจึงสนใจในการทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผัง มโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดท่าเหว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.28–0.78 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.22–0.67 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยมากเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่านักเรียนเห็นด้วยมากทั้ง 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ และลำดับที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ตามลำดับ
Article Details
1. มุมมองและความคิดเห็นใด ๆ ในบทความเป็นมุมมองของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับมุมมองเหล่านั้นและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน แต่เพียงผู้เดียว
2. ลิขสิทธิ์บทความที่เป็นของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย การเผยแพร่จะต้องได้รับอนุญาตโดยตรงจากผู้เขียนและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นลายลักษณ์อักษร
References
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชนาท สิงหา. (2554). ผลการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองขลุงราฏร์รังสรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบญจวรรณ สวัสดิรักษ์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประถมพร โควตา. (2554). ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และการเขียนผังมโนมติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ละมัย วงคำแก้ว. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองกระทุ่มวิทยา จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2549). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุริยาสาส์น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2549). สมรรถนะการแก้ปัญหาสำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: เซ่เว่นพริ้นติ้ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2551). หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คิว มีเดีย.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.
สุทธิดา จำรัส และ นฤมล ยุตาคม. (2551). ความเข้าใจและการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในเรื่องโครงสร้างอะตอมของครูผู้สอนวิชาเคมี. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 29(3): 228-239.
สุธราพิงค์ โนนศรีชัย. (2550). การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es). วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรพล พยอมแย้ม. (2551). จิตวิทยาอุตสาหกรรม : โครงสร้างส่งเสริมการผลิตตําราและเอกสารการสอน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนงค์ แก่นอินทร์. (2555). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อารีวรรณ ขัตติยะวงศ์ เนตรชนก จันทร์สว่าง และนิตยา แซ่ซิ้ม. (2556). การศึกษาผลการเรียนรู้โดย ใช้แผนผังมโนมติเรื่องพันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2): 213 – 220.
เอมอร มีสุนทร. (2550). ผลของการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสรุปความโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชนครินทร์.
Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.
Marzano. (2001). Designing A New Taxonomy of Education Objective. California: Corwin Press.
Novak and Gowin. (1984). Learning how to learn. New York: Cambridge University Press.
Olson and Loucks-Horsley. (2000). Inquiry and the Nationnal Science Education Standards. A Guide for teaching and learning. Washington, DC: The National Academies.
UNESCO. (2010). Curren Challenge in Basic Science Education. Paris: UNESCO.
Y Karakuyu. (2010). The effect of concept mapping on attitude and achievement in a physici course. International Journal of the Physical Science, 5(6):724-737.