การประเมินตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์มาตรฐานประกันคุณภาพการศึกษาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยใช้เทคนิคเดลฟาย

Main Article Content

น้ำฝน แสงอรุณ
ณัฐพล อาบสีนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประเมินตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยใช้เทคนิคเดลฟาย และ 2) ใช้เป็นข้อมูลการตัดสินใจมาพัฒนาปรับปรุงนโยบาย/แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยการศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟาย มีการกำหนดคุณลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ กำหนดประเด็นการสอบถาม และสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 3 รอบ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ จากนั้นนำมาทดลองใช้ และประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อตัวบ่งชี้และมาตรฐานการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย พบว่า 1) มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีตัวบ่งชี้ระดับคณะ มีจำนวน 5 มาตรฐาน 19 ตัวบ่งชี้ และมีตัวบ่งชี้ระดับมหาวิทยาลัย มีจำนวน 5 มาตรฐาน 23 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อตัวบ่งชี้และมาตรฐานการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ระดับคณะ พบว่ามีผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.31) 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อตัวบ่งชี้และมาตรฐานการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ระดับมหาวิทยาลัย พบว่ามีผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.04)

Article Details

How to Cite
แสงอรุณ น. ., & อาบสีนาค ณ. . (2023). การประเมินตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์มาตรฐานประกันคุณภาพการศึกษาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยใช้เทคนิคเดลฟาย. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 25(1), 37–53. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/266664
บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, กุมภาพันธ์, 20). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 11ก หน้า 3-5.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.). (2562). ยุทธศาสตร์ใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). เอกสารอัดสำเนา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2558). ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ว่าด้วย เงินรายได้จากการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2558. เอกสารอัดสำเนา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). เอกสารอัดสำเนา.

วัชรี แก้วเนตร. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้และมาตรฐานการศึกษาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจังหวัดอุบลราชธานีโดยใช้เทคนิคเดลฟาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สิรินาฏ ไชยตา. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-7_1565850333.pdf.

สุนิษา คิดใจเดียว ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และนิเวศ จิระวิชิตชัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพความพร้อมด้านดิจิทัลและการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนายกระดับไปสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏดิจิทัลที่สมาร์ตและมีความยั่งยืน. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 17(1): 88-95.

เสนอ ภิรมจิตรผ่อง. (2536). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559). (ร่าง)ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: โคคูน แอนด์ โค.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2560). แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.