การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดนำเสนอสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดนำเสนอสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดนำเสนอสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 37 คน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดนำเสนอสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการพูดนำเสนอและแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที แบบ One sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดนำเสนอสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีชื่อว่า “SPEAKS Model” หลักการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการพูดนำเสนอผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติและใช้กระบวนการคิดในการพูดนำเสนอ มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ประกอบด้วย 6 ขั้น ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ ขั้นที่ 2 ความต้องการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 สำรวจค้นคว้า ขั้นที่ 4 คิดวิเคราะห์ ขั้นที่ 5 นำเสนอความรู้อย่างสร้างสรรค์ และขั้นที่ 6 ประเมินผู้เรียน ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ พบว่า มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง 2) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการพูดนำเสนอหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. มุมมองและความคิดเห็นใด ๆ ในบทความเป็นมุมมองของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับมุมมองเหล่านั้นและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน แต่เพียงผู้เดียว
2. ลิขสิทธิ์บทความที่เป็นของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย การเผยแพร่จะต้องได้รับอนุญาตโดยตรงจากผู้เขียนและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กมล การกุศล. (2529). ทักษะและความรู้ทางภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
กมล โพธิเย็น. (2564). Active learning การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1): 11-28.
งามพริ้ง รุ่งโรจน์ดี. (2546). สบาย ๆ เมื่อจับไมค์พูดภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด สนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 7(4): 143-159.
ฐนสจันทร์ วงศ์สุวรรณ. (2547). การพูดเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพ ฯ: เทคนิค 19.
ดนุลดา จามจุรี. (2564). การออกแบบการเรียนรู้: แนวคิดและกระบวนการ (Learning design: Concept and process). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดิเรก พรสีมา. (2559). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2): 2363-2380.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญาลักษณ์ สังข์แก้ว. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอน โดยวิธี KWL Plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิภาวรรณ นวาวัตน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบเน้นภาระงานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (การสอนภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัทธพีร์ มะลิสุวรรณ. (2558). รูปแบบการสะท้อนตนด้วยมิตรวิพากษ์และการประเมินหลายทางบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการพูดนำเสนอทางวิชาการของนิสิตระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2): 703-717.
มนตรี ดีโนนโพธิ์. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(1): 106-123.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1): 135-145.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2557). คู่มือการสอนเพื่อสร้างศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.
_______. (2562). สอนสร้างสรรค์เรียนสนุกยุค 4.0+. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศุภักษร ฟองจางวาง และกอบสุข คงมนัส. (2559). การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ การเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่องการเขียน โปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษาจาวาสคริปต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3): 937-953.
สง่า วงค์ไชย. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเขียนสรุปความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (การสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2561). การจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ด ดูเคชั่น.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรชน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2): 1-8.
อนงค์นาถ ทนันชัย. (2563). การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอของนักศึกษาในรายวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจ. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(1): 48-63.
อุทุมพร ภักดีวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความผูกพันของผู้เรียนและความสามารถทางการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Gerlach, V.S., & Donald, E. (1971). Teaching and media: As system approach. New Jersey: Prentice Hall.
Iowa State University. (2005). Oral evaluation rubric. Retrieved March 6, 2016, from http://www.dartmouth. edu/~ssimon/files/Oral-reportrubric.pdf.
Kemp, J. E. (1985). The instructional design process. New York: Harper & Row Publishers.
Kibler, R.J. (1970). Behavioral objectives and instructional process. In Selected Reading For the introduction to the Teaching Profession. Edited by Milton Muse. pp. 44-53. n.p.: Allyn and Bacon.
Sharan, Y; & Sharan, S. (1992). Expanding cooperative learning through group investigations. New York: Teacher College, Columbia University.
Slavin, R.E. (1995). Cooperative learning theory research and practice (2nd ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Stanford University of Education. (2015). What is performance-based assessment? Stanford, CA: Stanford University School of Education.