การพัฒนาทักษะการเขียนเส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีนด้วยแบบฝึกทักษะ

Main Article Content

Zheng Shen
Li Jing Zhu
กรกมล ธนะโรจน์รุ่งเรือง
กมลทิพย์ รักเกียรติยศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการเขียนเส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีน ด้วยแบบฝึกทักษะทางการเขียนเส้นขีดพื้นฐาน 2) เพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนเส้นขีดพื้นฐานอักษรจีนของนักศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้แบบฝึกทักษะของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนทุกชั้นปี คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวนทั้งหมด 100 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง เส้นขีดพื้นฐานอักษรจีน 2) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง เส้นขีดพื้นฐานอักษรจีน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนในภาพรวม มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการเขียนอักษรจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ (E1/E2) เท่ากับ 81.58/87.30 2) ผลการการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านคะแนนความถูกต้องในการเขียนเส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีน พบว่า นักศึกษามีคะแนนความถูกต้องในการเขียนเส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยการเขียนอักษรจีนก่อนเรียนเท่ากับ 11.16 คิดเป็นร้อยละ 55.8 และคะแนนการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 17.80 คิดเป็นร้อยละ 89.00 3) ผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง เส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีน อยู่ในระดับมาก ( 𝒙̅ = 4.40 )

Article Details

How to Cite
Shen , Z., Zhu , L. J. ., ธนะโรจน์รุ่งเรือง ก. ., & รักเกียรติยศ ก. . (2023). การพัฒนาทักษะการเขียนเส้นขีดพื้นฐานของอักษรจีนด้วยแบบฝึกทักษะ. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 25(2), 26–34. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/269627
บท
บทความวิจัย

References

กรกมล ธนะโรจน์รุ่งเรือง, Sze, Y.P. และศุภรัสมิ์ ศิรพุทธิพันธ์. (2565). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเขียนแบบอรรถฐานกระบวนการ (Process Genre – Approach) เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงปฏิบัติภาษาจีน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(2), 47-59.

ชาตรี คุ้มอนุวงศ์. (2553). ความพึงพอใจที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภค. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล. (2564). พัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการเขียนภาษาจีน เรื่องชีวิตของฉันสำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

วิไลลักษณ์ แก้วกระจ่าง. (2557). รายงานวิจัยเรื่องการเพิ่มทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง The Writing Ability Enhancement by Using the Conceptual Plot. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศิริพงษ์ พยอมแย้ม. (2533). การเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

สนิท ตั้งทวี. (2528). ความรู้และทักษะทางภาษา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม, 2565, จาก http://mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=656&articlegroup_id=146.2551.

หยาง, ลี่. (2554). พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall.