ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

จิณณาวัฒน์ มูลนาม
ดารัณ พราหมณ์แก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็น  การวิจัยแบบผสมผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน โดยเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดย    การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 4 ตัวแปร ซึ่งส่งทางบวกทุกตัวแปร มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (R)=0.802 สามารถพยากรณ์หรืออธิบายความแปรปรวนของผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี ได้ร้อยละ 64.30 3) ภาครัฐ ควรกำหนดขอบข่ายของการรณรงค์หาเสียงให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งควรจัดเวทีปราศรัยหาเสียงต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ซักถามอย่างเปิดเผย

Article Details

How to Cite
มูลนาม จ. . ., & พราหมณ์แก้ว ด. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 26(2), 35–49. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/277646
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารท้องถิ่น: จากรัฐธรรมนูญ 50 สู่ร่างพระราชบัญญัติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3): 12-13.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ. (2546). ความขัดแย้งในสังคมไทย: ช่องว่างของการรับรู้และความเข้าใจ. กรุงเทพฯ: โครงการปริญญาโทสำหรับนักบริหาร สาขาบริหารรัฐกิจคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาลจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิ คดีไซน์และการพิมพ์.

นิยม เวชกามา. (2562). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบ็ญจวรรณ จามน้อยพรหม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: นานมีบุคศ์พับลิชั่นส์.

โพธิ์คิน ขวาอุ่นหล้า. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2): 354 -367.

สิน พันธุ์พินิจ. (2549). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุชาดา รุ่งจิรกาล. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพชรบุรี. (2565). แผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563–2567). เพชรบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2564). ข้อมูลจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.