@article{อุดมผล_ขาวเงิน_2020, title={การส่งเสริมหลักอุบาสกธรรมเพื่อธำรงพระพุทธศาสนาในสังคมไทย}, volume={39}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/244712}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มุ่งศึกษา (1) อุบาสกธรรมในพระคัมภีร์ และ (2) แนวทางการส่งเสริมหลักอุบาสกธรรม เพื่อธำรงพระพุทธศาสนาในสังคมไทย โดยศึกษาเอกสาร  การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผลการวิจัยพบว่า อุบาสกธรรมคือ ธรรมสำหรับการประพฤติปฏิบัติของเหล่าอุบาสกอุบาสิกา จัดเป็นคุณธรรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะของอุบาสกอุบาสิกา ระดับพระอริยบุคคล และระดับกัลยาณปุถุชน ต้องหมั่นประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลอันดีต่อตนเองและสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นเดียวกับที่พระอริยบุคคลที่สามารถกระทำได้ ในสมัยพุทธกาลซึ่งมีทั้งอุบาสก อุบาสิกา ที่เป็นพระอริยบุคคลจำนวนมาก ทำให้พุทธศาสนาธำรงไว้ และขยายผลเป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบัน แนวทางการส่งเสริมหลักอุบาสกธรรมให้สัมฤทธิ์ผล จะต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ (1) ด้านบทบาทหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา (2) ด้านภาคเอกชนและหน่วยงานในสังคม (3) ด้านภาครัฐ และ (4) ด้านคณะสงฆ์ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำหลักหลักอุบาสกธรรมไปใช้ในสังคมไทย โดยมีเป้าหมาย 5 ด้าน คือ (1) การมีศรัทธา (2) การมีศีล (3) เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล (4) ไม่แสวงหาบุญนอกพระพุทธศาสนา  และ (5) ทำอุปการะในพระพุทธศาสนาก่อน โดยผ่านรูปแบบ (1) การสร้างธรรมิกสังคมเป็นแนวทางเชิงรับ  (2) การสร้างสังคมสงเคราะห์เป็นแนวทางเชิงรุก และ (3) การออกกฎหมายรับรองสถานภาพพระพุทธศาสนา เป็นแนวทางสร้างความมั่นคงภายในองค์กร แล้วขยายไปสู่การธำรงไว้ในพระพุทธศาสนาสังคมไทย</p>}, number={1}, journal={วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์}, author={อุดมผล พระณัฏฐกฤศ and ขาวเงิน กรรณิการ์}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={105–120} }