@article{อัญชลี โตพึ่งพงศ์_2022, title={การวิเคราะห์การถ่ายทอดภาษาวรรณศิลป์ในวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลโนเบลเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษา การแปลนวนิยายภาษาเยอรมัน เรื่อง ลมหายใจที่ขาดห้วง ของแฮร์ทา มึลเลอร์ }, volume={41}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/105-128}, abstractNote={<p>บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการถ่ายทอดภาษาวรรณศิลป์ใน    นวนิยายเรื่อง ลมหายใจที่ขาดห้วง (2557) แปลจากต้นฉบับภาษาเยอรมันเรื่อง Atemschaukel (2009) ของนักประพันธ์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล แฮร์ทา มึลเลอร์ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์กลวิธีการแปลภาพพจน์ 7 ประเภท ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัทพจน์ ปฏิพจน์ และ ปฏิทรรศน์ ในการวิเคราะห์กลวิธีการแปลภาษาวรรณศิลป์ โดยประยุกต์แนวคิดและกลวิธีการแปลภาพพจน์ของเบเคอร์ (Baker, 2011) นิวมาร์ค (Newmark, 1988) สัญฉวี (2550) และ เลอเฟอแวร์ (Lefevere, 1992) มาสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์กลวิธีการแปลภาษาภาพพจน์ นอกจากนั้น ยังอาศัยศาสตร์แห่งการตีความ (Hermeneutics) เพื่ออธิบายกระบวนการตัดสินใจในการแปลและการตีความภาษาวรรณศิลป์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ามีกลวิธีในการถ่ายทอดภาษาภาพพจน์จำนวนทั้งสิ้น 1,312 แห่ง โดยผู้แปลใช้กลวิธีการแปล 10 กลวิธี ได้แก่ (1) การแปลแบบตรงตัว (2) การแปลแบบเปลี่ยนรูป (3) การแปลแบบยืมคำ (4) การแปลแบบถอดความ (5) การแปลแบบตีความ (6) การแปลแบบเทียบเคียง (7) การแปลแบบอธิบาย (8) การแปลแบบปรับ (9) การแปลแบบละ (ไม่แปล) และ (10) การแปลแบบลดทอน โดยจากการวิเคราะห์พบว่ามีการใช้กลวิธีการแปลแบบตรงตัว (Literal translation) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.98 รองลงมาคือกลวิธีการแปลแบบตีความ คิดเป็นร้อยละ 12.96  โดยกลวิธีการแปลแบบตรงตัว นับเป็นกลวิธีที่พบบ่อยที่สุดในการถ่ายทอดภาพพจน์ทุกประเภท ยกเว้นในการแปลสัทพจน์ ที่พบว่า มีการใช้กลวิธีการแปลแบบเทียบเคียงมากที่สุด (กลวิธีที่ 6) คิดเป็นร้อยละ 55.03 ในขณะที่กลวิธีการแปลแบบตรงตัว มีเพียงร้อยละ 15.38  ทั้งนี้ เนื่องจากหน่วยเสียง หรือเสียงมีความเกี่ยวข้องกับบริบทการดำเนินชีวิตของแต่ละวัฒนธรรมอย่างแน่นแฟ้น จึงไม่อาจแปลแบบตรงตัวได้ </p>}, number={1}, journal={วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์}, author={อัญชลี โตพึ่งพงศ์}, year={2022}, month={มิ.ย.} }