https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/issue/feed วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ 2024-04-04T13:17:42+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร. รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์ Assoc.Prof.Dr.Rungbhassorn Satthathanabhat [email protected] Open Journal Systems <p> วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง<br />มีกำหนดเผยแพร่ราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) ทั้งนี้อาจจะมีวารสารฉบับพิเศษ (Special issue) หรือฉบับที่ตีพิมพ์บทความจากการประชุมวิชาการ (Conference proceeding) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรม คติชนวิทยา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ปรัชญา ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผู้เขียนทุกท่านสามารถส่งบทความมาขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ได้ตลอดทั้งปี และกรุณาส่งต้นฉบับบทความตามช่องทางและรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำสำหรับผู้เขียน</p> <p><strong>กองบรรณาธิการวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ </strong>ยินดีรับต้นฉบับผลงานวิชาการดังต่อไปนี้<br /> - บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) หรือบทวิจารณ์หนังสือ (book review) สำหรับบทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือจะไม่นำเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการ<br /><strong> - </strong>บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น<br /><strong> - </strong>บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ(peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน และผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด<br /><strong> - </strong>บทความที่เป็นบทความวิจัยที่ส่งมายังวารสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ต้องมีหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แนบมาพร้อมกับบทความ (ยกเว้นได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นรายเฉพาะ)<br /> - หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์<br /><strong> - </strong>บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์ ก่อนขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่จากวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์</p> <p> ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนเท่านั้น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความคิดเห็นที่ปรากฎในบทความแต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกองบรรณาธิการ </p> <p> การปรับหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป วารสารจะปรับหลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความอย่างน้อย <strong>3</strong> ท่าน </p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269945 คำแนะนำสำหรับผู้เขียน 2023-12-28T15:39:11+07:00 บรรณาธิการ [email protected] <p>บทความจะต้องอยู่ในรูปแบบของบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ สำหรับบทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือจะไม่นำเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269922 การศึกษาปัญหาการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2023-12-28T11:06:24+07:00 วรัตธนันท์ รักษ์วิเชียร [email protected] <p>การวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ (2) เพื่อศึกษาคำที่มีจำนวนพยางค์ต่างกันตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไปจนถึงสี่พยางค์ที่นักศึกษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้องมากที่สุดและออกเสียงผิดมากที่สุด&nbsp; กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงผู้ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ENG 2101 การออกเสียงภาษาอังกฤษ (English Pronunciation) ของภาค 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน โดยนักศึกษาได้ทำแบบทดสอบ pretest ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 20 คำ และส่วนที่เป็นคำภาษาอังกฤษดังกล่าวเมื่ออยู่ในประโยครวม 20 ประโยค ผ่านทาง Google Forms และบันทึกวีดิทัศน์การออกเสียงแบบทดสอบ pretest ทั้งสองส่วนส่งให้ผู้วิจัยเพื่อตรวจเก็บคะแนน หลังจากทำแบบทดสอบ pretest ส่งให้ผู้วิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้ส่งคลิปวิดีทัศน์การออกเสียงภาษาอังกฤษของแบบทดสอบ pretest โดยอาจารย์เจ้าของภาษา ให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการออกเสียงจนครบ 5 ชั่วโมง หลังจากที่นักศึกษาได้ฝึกออกเสียงตามสำเนียงอาจารย์เจ้าของภาษาแล้ว ผู้วิจัยขอให้นักศึกษาบันทึกวิดีทัศน์การออกเสียง พร้อมกับทำแบบทดสอบอีกครั้งเป็นแบบทดสอบ posttest ผ่านทาง Google Forms ส่งให้ผู้วิจัยเพื่อตรวจเก็บคะแนนเปรียบเทียบกับการทำแบบทดสอบ pretest ในครั้งแรก และเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยสถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ Paired Sample &nbsp;T-Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าแบบทดสอบที่เป็นวีดิทัศน์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การออกเสียงของอาจารย์เจ้าของภาษามีผลต่อพัฒนาการด้านความแม่นยำในการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการวิจัย นักศึกษาที่ได้ฝึกฝนการออกเสียงภาษาอังกฤษกับวีดิทัศน์การออกเสียงของอาจารย์เจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่าก่อนการฝึกฝน 2) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสามารถออกเสียงเน้นหนักในคำสองพยางค์ได้มากที่สุดแต่ก็มีคำสองพยางค์ “take off”&nbsp; ที่นักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องน้อยกว่าร้อยละ 50 ในแบบทดสอบ pretest ส่วนที่ 1 pretest ส่วนที่ 2 และใน posttest ส่วนที่ 2 คำที่นักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องน้อยที่สุดใน pretest และ posttest ทั้งสองส่วน คือคำสามพยางค์&nbsp; “employee”&nbsp; แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มคำที่นักศึกษาออกเสียงได้น้อยกว่าร้อยละ 50 มีคำสี่พยางค์ที่นักศึกษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้องเป็นจำนวนมากกว่าคำสามพยางค์ ได้แก่คำสี่พยางค์ “duality”, “biology”, “politician” และ “appreciate” ซึ่งนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องมากกว่าคำสามพยางค์ “employee”&nbsp;&nbsp;</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269924 การสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอย ท่องเที่ยววิถีชุมชน 2023-12-28T11:13:23+07:00 ชุติมา ผิวเรืองนนท์ [email protected] <p>การวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอยท่องเที่ยววิถีชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเภทของเนื้อหาที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอยท่องเที่ยววิถีชุมชน และ 2) กลวิธีในการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอยท่องเที่ยววิถีชุมชน เป็นการวิจัยแบบ &nbsp;Multi method research ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เอกสารควบคู่กับสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 2 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ผลการวิเคราะห์ประเภทของเนื้อหาฯ พบว่า จัดกลุ่มประเภทเนื้อหาได้ 4 ประเภท คือ มุ่งแจ้งเพื่อทราบ มุ่งให้ความบันเทิง มุ่งชี้แนะเพื่อการตัดสินใจ และมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ โดยเนื้อหา มุ่งแจ้งเพื่อทราบ ปรากฏการนำเสนอมากที่สุด คือ ร้อยละ 70.45&nbsp; รองลงมา คือ มุ่งให้ความบันเทิง ร้อยละ 12.34 มุ่งชี้แนะเพื่อการตัดสินใจ ร้อยละ 10.36 และมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 6.83 ตามลำดับ</p> <p>ผลการวิเคราะห์กลวิธีในการสร้างสรรค์เนื้อหาฯ พบว่า 1) การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย มุ่งใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการ ระดับกันเอง/ภาษาปาก เพื่อนำเสนอเนื้อหามุ่งแจ้งเพื่อทราบ มุ่งให้ความบันเทิง และมุ่งชี้แนะเพื่อการตัดสินใจ ส่วนภาษาแบบไม่เป็นทางการ ระดับสนทนา เพื่อนำเสนอเนื้อหามุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ 2) การนำเสนอภาพเพื่อสื่อความหมาย นำเสนอภาพนิ่งเพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในชุมชนและกิจกรรมท่องเที่ยวประกอบกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว เพื่อถ่ายทอดความสมจริง และสร้างอารมณ์ร่วม 3) กลวิธีในการสร้างปฏิสัมพันธ์ ใช้ทุกเครื่องมือที่ให้บริการบนเฟซบุ๊ก สร้างปฏิสัมพันธ์ และกระจายเนื้อหาไปสู่การรับรู้ในวงกว้าง และ 4) เทคนิคพิเศษ ใช้โปรแกรมกราฟิกนำเสนอข้อความ และภาพนิ่งที่รับชมได้ 360 องศา</p> <p>&nbsp;</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269926 Der Stummfilm Joy and Heron: Didaktisch-methodische Überlegungen im Deutschunterricht für fortgeschrittene Anfänger 2023-12-28T11:19:13+07:00 ประภาวดี กุศลรอด [email protected] <p>Viele animierte Kurzfilme sind reizvoll und eignen sich hervorragend für den sprachlichen Unterricht. Der Einsatz von Kurzfilmen im Deutschunterricht ermöglicht es, den oft ausschließlich sprachbezogenen Lernbegriff um das Medium Kurzfilm zu erweitern. Auf diese Weise kann man einerseits die Mediensozialisation der Lernenden positiv für den Lernprozess nutzen und andererseits kulturelle und gesellschaftliche Aspekte anschaulich in den Unterricht miteinbeziehen. Der Kurzfilm übernimmt dabei die Funktion, die Themen zu präsentieren und bestimmte Formen der Interpretation anzubieten. Dieser Beitrag hat zum Ziel, zu verdeutlichen, wie wichtig Kurzfilme im Deutschunterricht sein können und enthält ein konkretes Beispiel dafür, wie ein animierter, ohne Worte auskommender Kurzfilm im Deutschunterricht eingesetzt werden kann, um die sprachlichen Fähigkeiten fortgeschrittener Anfänger in Thailand zu entwickeln.</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269927 ผลของการใช้แบบฝึกเสริมการสื่อสารเพื่อเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ 2023-12-28T11:24:23+07:00 Rujira Jaroensawut, Watcharee Janhom, Ingkayut Poolsub, Siripong Sucantajan, Chalermquan Suksom and Chanut Klaysuwan [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบฝึกเสริมการสื่อสารเพื่อเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และ (2) เพื่อสำรวจการรับรู้ของนักศึกษาในการใช้แบบฝึกเสริมการสื่อสาร ประชากรประกอบด้วยนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ จำนวน 38 คน ชั้นปีที่ 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกเสริมการสื่อสาร แบบการเขียนบทสนทนา แบบสังเกตการสนทนา และแบบวัดการรับรู้ของนักศึกษา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคสถิติเชิงพรรณนาในรูปของการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ <em>t</em>-test แบบ Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีผลคะแนนหลังการใช้แบบฝึกเสริมการสื่อสารเพื่อเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์จากแบบการเขียนบทสนทนา ซึ่งนักศึกษาสื่อสารด้วยความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งผลการวิเคราะห์จากแบบสังเกตการสนทนาด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติอยู่ในระดับดี ซึ่งนักศึกษาให้ความร่วมมือในกิจกรรมบทบาทสมมติและทำได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้นักศึกษายังมีการรับรู้ที่ดีเกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนและมีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้นโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอผ่านกิจกรรมบทบาทสมมติเป็นหลักสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการพูดของนักศึกษาและเพิ่มความมั่นใจในการพูด</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269928 การแสดงท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้าประกอบการใช้วัจนกรรม กลุ่มแสดงความรู้สึกในภาษารัสเซียบนสื่อสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษารายการสัมภาษณ์ А поговорить? บน YouTube 2023-12-28T11:32:32+07:00 ปาลิต มีชนะ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จำแนกประเภทวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกที่แขกรับเชิญใช้ในรายการสัมภาษณ์ А поговорить? 2) วิเคราะห์การแสดงท่าทางและการแสดงออกทาง&nbsp;&nbsp;&nbsp; สีหน้าที่แขกรับเชิญใช้ประกอบการแสดงวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกประเภทต่าง ๆ ในรายการสัมภาษณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแขกรับเชิญในรายการสัมภาษณ์ А поговорить? &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ซึ่งออกอากาศบน YouTube ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2564 ทั้งสิ้น 12 ตอน เป็นตอนที่แขกรับเชิญมีช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี แบ่งเป็นผู้หญิง 6 คน และผู้ชาย 6 คน ผู้วิจัยศึกษาเรื่องดังกล่าวโดยใช้แนวคิดเรื่องการจำแนกประเภทวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกของ Norrick (1978), Трофимова (2008) และ Guiraud et al. (2011) และแนวคิดเรื่องการใช้อวัยวะ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการแสดงท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้าในวัฒนธรรมรัสเซียของ Акишина &amp; Кано (2015) ผลการศึกษาพบวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก จำนวนทั้งสิ้น 111 ถ้อยคำ แบ่งเป็น 12 ประเภท เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) การแสดงความเศร้าโศก 2) การแสดงความเห็นด้วย 3) การแสดงความรู้สึกชอบ 4) การแสดงความปีติยินดี 5) การแสดงความรู้สึกไม่ชอบ 6) การแสดงความไม่เห็นด้วย 7) การขอบคุณ 8) การชมเชย 9) การแสดงความรู้สึกกังวล 10) การอวยพร 11) การทักทาย และ 12) การขอโทษ สำหรับผลการศึกษาเรื่องการแสดงท่าทางประกอบการใช้วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก ปรากฏการใช้อวัยวะเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ศีรษะและลำคอ 2) ลำตัว 3) มือและแขน 4) ฝ่ามือ 5) หัวไหล่ 6) มือ นิ้วมือ และกำปั้น ในขณะที่ผลการศึกษาเรื่องการแสดงออกทาง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สีหน้าประกอบการใช้วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก ปรากฏการใช้อวัยวะเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ดวงตาและเปลือกตา 2) ริมฝีปากและมุมปาก 3) คิ้ว 4) ช่องปาก 5) ฟัน อนึ่ง ผลการวิจัยจากงานวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยมุ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษารัสเซียในฐานะภาษาต่างประเทศ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในกระบวนวิชา RUS3701 ภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269929 การท่องเที่ยวเชิงศาสนา: กรณีศึกษา พระพิฆเนศ วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา 2023-12-28T11:37:41+07:00 วิโรจ นาคชาตรี [email protected] <p>การวิจัยนี้ ต้องการศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาด้านความเชื่อเรื่องพระพิฆเนศ สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในประเทศไทย โดยดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ด้วยการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่เดินทางมาท่องเที่ยวและขอพรกับองค์พระพิฆเนศ ณ วัดสมานรัตนาราม อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กำหนดเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช่ความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling) จำนวน 400 คน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 – พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้ผลสรุป ดังนี้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ณ วัดสมานรัตนาราม อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในประเทศไทย เป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และศาสนา จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จุดเด่นคือความเชื่อว่าการได้มาสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะนำความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบูชาพระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุข จะช่วยขจัดอุปสรรคและบันดาลความสำเร็จ ประทานความมีกิน มีใช้ อยู่อย่างสุขสบายและขจัดปัญหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยภาคสนามพบว่า วัดสมานรัตนาราม เป็นศาสนสถานสำคัญของพระพุทธศาสนา มีการสร้างเทวรูป เครื่องราง ของขลัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกพระพุทธศาสนา สำหรับการบูชาพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู นั้นมีชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนามาบูชามากถึงร้อยละ 94&nbsp; ผู้ที่มาบูชามากกว่ากลุ่มอื่นมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 27 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 55 และมีรายได้มากกว่ากลุ่มอื่น คือ 10,000 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 32</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ ผู้ที่มาท่องเที่ยวและบูชาพระพิฆเนศ ตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา เพราะความน่าสนใจของสถานที่ที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อ ทั้งเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โหราศาสตร์ สี ตัวเลขและพิธีกรรม รวมทั้งความสวยงามของสถานที่ และความคุ้มค่าของเงินที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว โดยมาท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์มากกว่ากลุ่มอื่น&nbsp; ที่สำคัญคือ การที่ชาวไทยจำนวนมาก ได้มาท่องเที่ยวและบูชาพระพิฆเนศ ณ วัดสมานรัตนราม ทำให้เกิดอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ชุมชนและวัด เช่น การจำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน การขายขนมที่ถวายองค์&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระพิฆเนศ การให้เช่าบูชาองค์พระพิฆเนศ รวมทั้งก่อให้เกิดร้านค้าต่าง ๆ จำนวนมาก ทำให้วัดและชุมชน พัฒนาอย่างรวดเร็ว</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269947 วิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์และแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรม ในกวีนิพนธ์ของอิหม่ามชาฟิอีย์ 2023-12-28T15:44:36+07:00 สมชาย เซ็มมี [email protected] <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์ รวมถึงแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมในกวีนิพนธ์ของอิหม่ามชาฟิอีย์ โดยนำเสนอผ่านการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผู้วิจัยรวบรวมกวีนิพนธ์ของอิหม่ามชาฟิอีย์จากหนังสือรวมบทกวีของอิหม่ามชาฟิอีย์“ ดีวานของอิหม่ามชาฟิอีย์ (دِيْوَانُ الْإِمَامِ الشَّافِعِيِّ)” จำนวน 3 เล่ม ผลการศึกษาพบว่า อิหม่ามชาฟิอีย์ใช้ท่วงทำนองในการประพันธ์กวีนิพนธ์ 10 ท่วงทำนอง และเลือกใช้อักษรอัรร่อวีย์เพื่อกำกับฉันทลักษณ์ทั้งหมด19 &nbsp;อักษร ในด้านกลวิธีการประพันธ์พบว่า มีการใช้ภาพพจน์และการเลือกใช้คำในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านการสื่อความหมายที่ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพที่แฝงอยู่ในความหมายของบทกวีได้อย่างชัดเจน&nbsp; รวมถึงความสละสลวยของจังหวะทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน ด้านเนื้อหาของกวีนิพนธ์ อิหม่ามชาฟิอีย์ได้สอดแทรกแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมที่พึงปฏิบัติต่อตนเอง ครอบครัว ญาติมิตรและสังคมเอาไว้ในเนื้อหาบทกวีอย่างละเมียดละไม ซึ่งส่งผลให้ผู้อ่านได้ตระหนักคิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นผู้ที่มีศีลธรรมอันดี รวมถึงมีการสอดแทรกปรัชญาและหลักคำสอนผ่านการนำเสนอที่สะท้อนแนวคิดผ่านมุมมองของปราชญ์ผู้เคร่งครัดในหลักคุณธรรม มุ่งหวังในการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับสังคมส่วนรวม อีกทั้งยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มนุษย์เติบโตทั้งสมองและสติปัญญาควบคู่ไปกับคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงาม</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269930 การศึกษาการพูดกระตุ้นและการตอบกลับอารมณ์ขัน ที่ไม่ประสบความสำเร็จของคนไทย 2023-12-28T11:44:14+07:00 วรรณนิภา วงค์ปัญญา [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปรากฏการณ์การสื่อสารเกี่ยวกับการกระตุ้นอารมณ์ขันที่ไม่ประสบความสำเร็จของคนไทยโดยมีวัตถุประสงค์&nbsp; 2 ประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบทางภาษาของถ้อยคำและเพื่อศึกษารูปแบบการตอบกลับการกระตุ้นอารมณ์ขันที่ไม่ประสบความสำเร็จของคนไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์รวบรวมจากคลิปการสนทนาจากช่องยูทูบจำนวน 100 คลิป และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนเกี่ยวกับประสบการณ์เรื่องการกระตุ้นอารมณ์ขันและ&nbsp;&nbsp; การตอบกลับอารมณ์ขันที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผลการวิจัยพบรูปแบบทางภาษาของการกระตุ้นอารมณ์ขันที่ไม่ประสบความสำเร็จจำนวน 5 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังสับสน การใช้คำพ้องรูปและ/หรือคำพ้องเสียง การเล่นคำ การใช้คำผิด และการใช้ภาษาถิ่น ส่วนผลการวิจัยเรื่องรูปแบบการตอบกลับการกระตุ้นอารมณ์ขันที่ไม่ประสบความสำเร็จจำแนกออกเป็น 10 รูปแบบ ได้แก่ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ การกล่าวแสดงความคิดเห็นต่อการกระตุ้นอารมณ์ขัน การเปลี่ยนหัวข้อในการสนทนา การพูดปรับแก้ถ้อยคำกระตุ้นอารมณ์ขัน การกล่าวซ้ำถ้อยคำกระตุ้นอารมณ์ขัน การพูดประชด การแสดงท่าทาง การใช้ความเงียบ การยิ้มหรือการ (แกล้ง) หัวเราะ และ การตอบกลับรูปแบบอื่น</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269931 知的スキルとメディアリテラシー育成を兼ねた観光の日本語の授業作り ―ChatGPTを使用した活動案― 2023-12-28T11:48:47+07:00 宮本 冬美花 [email protected] <p>本稿はラームカムヘン大学において筆者が行った2022年後期に行った観光の日本語の授業に関する、内省のための定性的研究である。学生への授業後アンケート結果やガイドの日本語についての論文、Outcome-Based Education (OBE) の観点から授業を振り返った。その結果、教材の提示の仕方に改善が必要であることに加え、タイの歴史との比較のための日本の歴史についても指導し、学生の知的スキル・対人スキルとメディアリテラシーなどの能力について授業で育成できる活動を検討する必要があることがわかった。本稿では更に、コースに欠けていた能力を育成のために、ChatGPTを使用した観光日本語の授業での学習活動例を提案する。</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269941 วรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์: การแปรตามอายุ 2023-12-28T15:21:21+07:00 ตามใจ อวิรุทธิโยธิน, ชลภัสสรณ์ บินอิบรอฮีม, มัณฑนา เทียมทัด และ บวรรัตน์ ลาวัณย์เลิศสกุล [email protected] <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาและเปรียบเทียบค่าความถี่มูลฐาน (fundamental frequency) ของเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยอายุ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้ที่อาศัยอยู่ใน 8 อำเภอ ได้แก่ หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี เมือง ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย ผู้ให้ข้อมูลเพศชายแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ประกอบด้วย วัยรุ่นและผู้สูงอายุ รวม 96 คน ทุกคนออกเสียงคำที่ต้องการในกรอบประโยคที่กำหนดไว้ รายการคำทดสอบกำหนดตามแนวคิดกล่องวรรณยุกต์ คำตัวอย่าง 5,760 คำ ในงานวิจัยนี้วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม พราต (Praat) ผลการวิจัยพบว่าระบบวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์ที่ออกเสียงโดยกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือมีสองระบบเหมือนกัน ได้แก่ ระบบที่หนึ่งมีจำนวน 5 หน่วยเสียง สอดคล้องกับวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นกลาง ระบบที่สองมีจำนวน 4 หน่วยเสียง เป็นวรรณยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ ข้อค้นพบในครั้งนี้ช่วยให้ตีความได้ว่าปัจจัยอายุไม่ได้ส่งผลต่อการออกเสียงวรรณยุกต์ของผู้พูดภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269942 ร้านขายเวลา 2023-12-28T15:30:30+07:00 เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์ [email protected] <p>ร้านขายเวลา เป็นวรรณกรรมเยาวชนของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเขียนโดย&nbsp; คิมซ็อนย็อง และแปลโดย สุมาลี สูนจันทร์&nbsp; วรรณกรรมเรื่องนี้ ผู้เขียน ได้บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวละคร แต่ละคนที่ต่างก็ให้คุณค่าและความหมายของเวลาสำหรับชีวิตตนเองอย่างหลากหลายแง่มุม</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/272205 บทบรรณาธิการ 2024-04-04T13:17:42+07:00 บรรณาธิการ [email protected] <p>วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีกำหนดเผยแพร่ราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) &nbsp;ทั้งนี้อาจมีวารสารฉบับพิเศษ (Special issue) หรือฉบับที่ตีพิมพ์บทความจากการประชุมวิชาการ (Conference proceedings) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรม คติชนวิทยา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ปรัชญา&nbsp; ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา</p> 2024-04-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024