วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru
<p> วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง<br />มีกำหนดเผยแพร่ราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) ทั้งนี้อาจจะมีวารสารฉบับพิเศษ (Special issue) หรือฉบับที่ตีพิมพ์บทความจากการประชุมวิชาการ (Conference proceeding) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรม คติชนวิทยา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ปรัชญา ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ผู้เขียนทุกท่านสามารถส่งบทความมาขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ได้ตลอดทั้งปี และกรุณาส่งต้นฉบับบทความตามช่องทางและรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำสำหรับผู้เขียน</p> <p><strong>กองบรรณาธิการวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ </strong>ยินดีรับต้นฉบับผลงานวิชาการดังต่อไปนี้<br /> - บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) หรือบทวิจารณ์หนังสือ (book review) สำหรับบทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือจะไม่นำเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการ<br /><strong> - </strong>บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น<br /><strong> - </strong>บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ(peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน และผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด<br /><strong> - </strong>บทความที่เป็นบทความวิจัยที่ส่งมายังวารสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ต้องมีหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แนบมาพร้อมกับบทความ (ยกเว้นได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นรายเฉพาะ)<br /> - หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์<br /><strong> - </strong>บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์ ก่อนขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่จากวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์</p> <p> ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนเท่านั้น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความคิดเห็นที่ปรากฎในบทความแต่อย่างใด และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกองบรรณาธิการ </p> <p> การปรับหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป วารสารจะปรับหลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความอย่างน้อย <strong>3</strong> ท่าน </p>
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
th-TH
วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์
0125-300X
<p>ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร</p>
-
การสักยันต์ในฐานะซอฟต์พาวเวอร์ของไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274031
<p>การสักยันต์เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม <br>มโนทัศน์ของศาสตราจารย์โจเซฟ ไนย์ถูกนำมาใช้อธิบายมูลเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกา<br>ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำโลกซึ่งเกิดขึ้นเพราะการสร้าง ‘ความดึงดูด’ มิใช่จากอำนาจ<br>ทางเศรษฐกิจและการทหารเพียงอย่างเดียว ตลอดระยะเวลานานมากกว่า 100 ปีการสักยันต์ไทย<br>ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบ วิธี ลวดลาย ตลอดจนความหมายของรอยสัก<br>ได้เปลี่ยนแปลงตามความเชื่อของผู้คนในแต่ละยุคสมัยซึ่งตอบโจทย์ทั้งในแง่ความเชื่อ<br>และความสวยงาม ช่วยให้การสักยันต์ของไทยมีชื่อเสียงอย่างก้าวกระโดด โดยหากต้องการให้<br>การสักยันต์สามารถเป็นสื่อกลางทางวัฒนธรรม เพื่อแทรกซึมชุดความคิดและภาพลักษณ์<br>การสักยันต์ไทยให้ทั่วโลกจดจำ จะต้องมีการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบและกำหนดเป้าหมาย<br>ที่ชัดเจนในระยะยาว ดังนี้ 1) สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการสักยันต์ไทย 2) พัฒนาศิลปะ<br>และการออกแบบลายสักยันต์ให้สวยงามและร่วมสมัย 3) การขยายฐานกลุ่มเป้าหมายผู้สักยันต์ <br>4) สร้างเทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยว และ 5) บริหารจัดการการสักยันต์ให้มีมาตรฐานและคุณภาพและเป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างแท้จริง</p>
กฤษฎา พรหมเวค และปรัชญา ชุ่มนาเสียว
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
175
194
-
รอยพระพุทธบาทบนจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274033
<p>บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบภาพจิตรกรรมภายในกรุชั้นที่ 2 ของพระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งมีการแบ่งภาพจิตรกรรมออกเป็นช่องสี่เหลี่ยม โดยเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ ชาดก พระอดีตพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก และช่างได้ทำการแทรกภาพที่ดูคล้ายกับภาพรอยพระพุทธบาทจำนวน 2 ภาพร่วมอยู่ในภาพเล่าเรื่องเนื่องในพระพุทธศาสนาด้วย <br>ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเพื่อตรวจสอบว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพรอยพระพุทธบาทจริงหรือไม่ <br>และหากเป็นจริง รอยพระพุทธบาทดังกล่าวเป็นรอยพระพุทธบาทแห่งใดโดยทำการศึกษาหลักฐานเอกสารทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ที่บันทึกเรื่องราวของรอยพระพุทธบาทร่วมกับหลักฐานงานศิลปกรรม เช่น รอยพระพุทธบาทจำลอง หรือ ภาพเล่าเรื่องรอยพระพุทธบาท</p> <p> จากการศึกษาพบว่าภายในกรุชั้นที่ 2 ของพระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะมีภาพรอยพระพุทธบาท<br>อยู่ทั้งสิ้น 1 ภาพ ได้แก่ รอยพระพุทธบาทบนเขาสุมนกูฏ ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของลังกาและเป็นหนึ่งในโสฬสมหาสถาน โดยแสดงภาพรอยพระพุทธบาท<br>บนภูเขาลูกโดดซึ่งเป็นรูปแบบที่จะถูกนำไปพัฒนาต่อในเวลาต่อมา ในขณะที่ภาพที่เชื่อกันว่าอาจจะเป็นรอยพระพุทธบาท 4 รอยนั้นน่าจะเป็นภาพของขุมสมบัติทั้ง 4 มากกว่าเนื่องจากรูปแบบ<br>ของรอยพระพุทธบาท 4 รอยในช่วงเวลานั้นนิยมการออกรอยพระพุทธบาท 4 รอยที่เรียงซ้อนกันมากกว่าจะแยกออกจากกันและเรียงในแนวระนาบ</p>
ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
195
213
-
“เปาะยานิ” ตํานานจากยะลา: บทบาทของคติชนเพื่อสันติภาพท้องถิ่น
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274016
<p><span class="fontstyle0">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างสันติภาพของตํานานพื้นบ้าน</span></p> <p><span class="fontstyle0">เรื่องเปาะยานิ ตามแนวคิดการสร้างสันติภาพ ผู้วิจัยสํารวจและรวบรวมตํานานพื้นบ้านเรื่องเปาะยานิ ที่เป็นข้อมูลคติชนแบบมุขปาฐะ ด้วยการลงพื้นที่ภาคสนาม บริเวณหมู่ที่ 3 บ้านเปาะยานิ ตําบลสะเตงนอก อําเภอเมือง จังหวัดยะลา ตามระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา ผลการวิจัยพบว่าตํานานเปาะยานิ มีกลวิธีในการสร้างสันติภาพท้องถิ่นด้วยการจัดการความขัดแย้ง 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การระงับความขัดแย้ง ประกอบด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย และการจูงใจด้วยเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน 2)การควบคุมความขัดแย้ง ประกอบด้วยวิธีการต่อรอง และการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม 3) การเผชิญหน้าความขัดแย้ง ประกอบด้วยวิธีการแสวงหาความร่วมมือในการแก้ปัญหา และการออกแบบโครงสร้างใหม่ ผลการวิจัยสะท้อน ถึงเจตจํานงและภูมิปัญญาเพื่อสร้างสันติภาพ ในท้องถิ่นพหุวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง และเป็นแนวทางการศึกษาข้อมูลคติชนที่เป็นเครื่องมือสําหรับการสร้างสันติภาพท้องถิ่นในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้</span> </p>
วาริด เจริญราษฎร์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
1
22
-
การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274017
<p>การวิจัยเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตลักษณ์ชุมชนตำบลอ่าวน้อย 2) แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลอ่าวน้อย</p> <p><a href="#_ftn1" name="_ftnref1">[1]</a></p> <p> โดยวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการลงพื้นที่โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล<br>ที่หลากหลาย ด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมสนทนากลุ่ม จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อประกอบการสรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า<br>อัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่คนในชุมชนให้ความเห็นว่ามีความโดดเด่นสามารถนำมาต่อยอดในการพัฒนา<br>การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีดังนี้ 1) วิถีชีวิตการเกษตร 2) อ่างเก็บน้ำคลองบึง อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ <br>บ้านย่านซื่อ 3) สหกรณ์การเกษตรโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย 4) วัดอ่าวน้อย โดยแนวทางการส่งเสริม<br>การท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนตำบลอ่าวน้อย ควรมีแนวทาง 1) ค้นหาและระบุอัตลักษณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ต่อนักท่องเที่ยวให้จดจำ 2) สร้างสรรค์กิจรรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน 3) จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น 4) พัฒนาตราสินค้าชุมชน 5) พัฒนาด้านการตลาด 6) พัฒนาด้านการสร้าง<br>ความมีส่วนร่วมตามแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน</p> <p> </p> <p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1"></a> </p>
ปานชีวา มงคลอภิโชติ ชยินทร์ธร ธาดาดุสิตา ฉัตรดนัย ใจเสงี่ยม พิราวรรณ งอกชัยภูมิ และวริศ หมัดป้องตัว
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
23
40
-
รูปแบบและวิธีการจับช้างของไทย : กรณีศึกษาจากตำราคชศาสตร์ และเอกสารภาษาไทยที่เกี่ยวข้อง
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274019
<p>บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบและวิธีการจับช้างของไทย : กรณีศึกษาจากตำราคชศาสตร์<br>และเอกสารภาษาไทยที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจับช้างที่ปรากฏในเอกสารงานวิจัย หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ โดยรวบรวมวิธีการจับช้างของไทย จัดกลุ่มและวิเคราะห์รูปแบบ <br>และวิเคราะห์เนื้อหารูปแบบวิธีการจับช้างของไทย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การจัดกลุ่มและวิเคราะห์รูปแบบวิธีการจับช้างของไทย แบ่งเป็น<br>3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วิธีการจับช้างที่มีมาแต่โบราณ พบวิธีการจับช้างทั้งหมด 10 วิธี ได้แก่ <br>1) การแซกโพนช้าง 2) การคล้องช้างหรือจับช้างในเพนียด 3) การวังช้าง 4) การใช้หลุมพราง <br>5) การจับในน้ำ 6) การจับโดยใช้ช้างพังเป็นช้างต่อ 7) การจับลูกช้างบ้าน 8) การคล้องช้างกลางแปลง 9) การทิ้งเชือกบาศหรือบาศซัด และ10) การจับในซอง ส่วนที่ 2 วิธีการจับช้าง<br>ที่นิยมปฏิบัติกันมา พบ 3 วิธี คือ 1) การวังช้าง 2) การโพนช้างกลางแปลงหรือการแซกโพน <br>และ 3) การจับช้างในเพนียด และส่วนที่ 3 วิธีที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่อยู่ในกฎหมายอนุญาตตามพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 พบ 2 วิธี เท่านั้น คือ 1) วิธีแซกโพนช้าง <br>2) วิธีการจับช้างในเพนียด ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหารูปแบบวิธีการจับช้างของไทย สามารถแบ่งได้ <br>3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1) ไล่ตะลุยจับในที่แจ้ง เป็นการจับในที่โล่งแจ้งซึ่งไม่อยู่ในพื้นที่จำกัด ได้แก่ วิธีการโพนช้าง และการจับในน้ำ รูปแบบที่ 2) ต้อนเอาเข้าคอกจับ หรือในบริเวณที่กำหนด คือการสร้าง<br>อาณาบริเวณเหมาะสมในการจับ รวมถึงสร้างในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีช้างป่าอาศัยหรือชอบมาหาอาหารในบริเวณนั้น ได้แก่ วิธีการวังช้าง การคล้องในเพนียด การคล้องช้างกลางแปลง การจับช้างในซอง และการใช้หลุมพราง และรูปแบบที่ 3) อื่น ๆ คือ ได้แก่ การทิ้งเชือกบาศ การจับโดยใช้ช้างพังเป็นช้างต่อ และการจับช้างลูกบ้าน</p>
วริศรา โกรทินธาคม
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
41
66
-
ภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านมุมมองเครื่องแต่งกายใน กลกิโมโน ของพงศกร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274026
<p>บทความนี้เป็นบทความวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่น<br>ผ่านมุมมองเครื่องแต่งกายในวรรณกรรม เรื่อง กลกิโมโน ของ พงศกร เลือกกลุ่มตัวอย่าง<br>แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่นำเสนอเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้แนวคิด<br>ภาพแทน (Representation) ของ สจ๊วต ฮอลล์ และแนวคิดสัญญะ (Sign) ของ โรล็องด์ บาร์ตส์ <br>เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่น</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า พงศกรประกอบสร้างความหมายทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านชุดกิโมโน <br>โดยอธิบายภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านมุมมองเครื่องแต่งกาย ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของระบบชนชั้นที่มีการแบ่งอำนาจผ่านลวดลายชุดกิโมโน และยังประกอบสร้างความหมายวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านสีสันของผ้ากิโมโนโดยแบ่งนัยตามสี เพศ และสถานะบุคคล พบสัญญะ 3 สัญญะ คือ ลวดลาย<br>นกกระเรียน สื่อสัญญะความเป็นมนุษย์ที่มีสุขภาพดี อายุยืนยาว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง มีบารมีอำนาจ ลวดลายดอกเบญจมาศ สื่อสัญญะการมีอายุยืนยาว และลวดลายผีเสื้อ สื่อสัญญะ<br>ความสวยงาม มั่นคงในรักแท้ นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้ประวัติศาสตร์การทอผ้ากิโมโนเป็นกลไกการประกอบสร้างกิโมโนให้มีอิทธิพลต่อสังคมญี่ปุ่นที่สืบตระกูลมิยาคาวะ รวมทั้งการคัดสรรเส้นไหม เทคนิคการทอผ้า ลวดลาย และสีสันที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน เป็นการสืบทอด<br>อัตลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นที่มีความละเอียดแตกต่างจากชาติอื่น นอกจากนี้ ยังนำเสนอประเพณี<br>การแต่งงานของญี่ปุ่นที่เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมของญี่ปุ่นโดยสวมชุดกิโมโน และเป็นการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน ชุดกิโมโนจึงเป็นเครื่องแต่งกายที่มีความหมายและมีคุณค่า <br>ต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นอย่างมากและเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของญี่ปุ่น</p>
หู ชิวโป และธนพร หมูคำ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
67
88
-
วาทกรรมความเป็นไทยที่ปรากฏในวรรณกรรมชุด เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274023
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมความเป็นไทยที่ปรากฏในวรรณกรรม<br>ชุด เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ผลงานของ ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรม (Discourse) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) และแนวคิดวรรณกรรมวิเคราะห์ (Concept of Literary Analysis) สรุปจากพิเชฐ แสงทอง เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ชุดวาทกรรมความเป็นไทย <br>ผลการคึกษาพบว่า วรรณกรรมชุด เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ผลิตชุดวาทกรรมความเป็นไทย 3 <br>วาทกรรมหลัก คือ 1) วาทกรรมชายเป็นใหญ่ ผลิตซ้ำค่านิยมสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับเด็กผู้ชาย ส่งเสริมให้เด็กผู้ชายได้รับการศึกษาสูง ตอกย้ำแนวคิด “การเป็นเจ้าคนนายคน” เพื่อส่งเสริมให้เข้ารับราชการ 2) วาทกรรมแม่ศรีเรือน สอนให้เด็กผู้หญิงมีกิริยามารยาทตามแบบฉบับกุลสตรีไทย รู้จักทำงานบ้าน <br>ดูแลสมาชิกในครอบครัว ประหยัดอดออม เชื่อฟังผู้ใหญ่ และตอกย้ำเด็กผู้หญิงไม่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงเพราะสุดท้ายต้องเป็นผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัว และ 3) วาทกรรมเด็กดี มีกรอบคิดทางสังคมไทย สั่งสอนให้เด็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีกิริยามารยาท พฤติกรรมเรียบร้อย ซื่อสัตย์ ประหยัด<br>และมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น</p> <p> ชุดวาทกรรมความเป็นไทยที่สืบทอดผ่านวรรณกรรมเยาวชน เป็นวาทกรรมที่ผลิตซ้ำตามกรอบสังคมไทยช่วงรัชกาลที่ 6 วาทกรรมชุดนี้ยังคงสืบทอดวาทกรรมชายเป็นใหญ่มาถึงปัจจุบัน ส่วนวาทกรรม<br>แม่ศรีเรือนเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสตรีมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น แต่ยังคงยึดแนวปฏิบัติตามค่านิยมของไทยบางประการ และวาทกรรมเด็กดียังคงสืบทอดค่านิยมของไทยผ่านสถาบันการศึกษา<br>ขั้นพื้นฐาน โดยในปี พ.ศ.2498 ผลิตซ้ำในบทเพลงบัญญัติ 10 ประการของเด็กดี และในปี พ.ศ.2557 รัฐบาลผลิตซ้ำวาทกรรมเด็กดี เพื่อเป็นกรอบค่านิยม 12 ประการของเด็กดี</p>
อู๋ ไห่เยี่ยน ธนพร หมูคำ และภูริวรรณ วรานุสาสน์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
89
118
-
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274027
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว <br>2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ได้เรียนรู้จากหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวและ 3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัย<br>ราชภัฏยะลา ต่อหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษา ชั้นปี่ที่ 3 สาขาวิชาภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจังหวัดยะลา ที่กำลังศึกษา<br>ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 ในรายวิชาภาษาอาหรับเพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 40 คน <br>โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ <br>1) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวที่ผู้วิจัย<br>ได้พัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้หนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว <br>3) แบบสอบถามความพึงพอต่อการใช้หนังสือ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพของหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว อยู่ในระดับ ดี คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 2) ผลการทดลอง<br>ใช้หนังสือเล่มนี้กับนักศึกษาจำนวน 40 คน พบว่า ผลสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าผลสอบก่อนเรียน อยู่ที่ร้อยละ 67 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหนังสือในการพัฒนาทักษะภาษาอาหรับของผู้เรียน <br>3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวโดยรวม อยู่ในระดับมาก <br>โดยที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 คิดเป็นร้อยละ 86.6</p>
มูฮำหมัดซากี นิตีเมาะ รอมยี มอหิ และริดวาน มะเด็ง
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
119
141
-
การศึกษาเปรียบเทียบดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความภาษาสเปน และภาษาไทยในตัวบทเชิงอธิบายให้ข้อมูล
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274219
<p>บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาการใช้ดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความภาษาสเปน<br>และภาษาไทยในตัวบทเชิงอธิบายให้ข้อมูลตามเกณฑ์ของ Martín Zorraquino and Portolés (1999) <br>ซึ่งจำแนกดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความออกเป็น 3 กลุ่มย่อย อันได้แก่ ดัชนีปริจเฉทบ่งชี้<br>การจัดลำดับ ดัชนีปริจเฉทบ่งชี้เนื้อความ และดัชนีปริจเฉทบ่งชี้การเบี่ยงประเด็น การศึกษาดังกล่าวนี้<br>มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ว่าในภาษาสเปนและภาษาไทยมีการใช้ดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรในด้านของดัชนีปริจเฉทที่ใช้และความถี่ และ (2) เปรียบเทียบว่าดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความภาษาสเปนและภาษาไทยมีความหมายและหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยบทความเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จำนวน 50 บทความ แบ่งออกเป็นบทความภาษาสเปนจากนิตยสาร Muyinteresante จำนวน 25 บทความ และบทความภาษาไทยจากนิตยสารสาระวิทย์ ของ สวทช. จำนวน 25 บทความ ดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความที่ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 27 ดัชนี แบ่งเป็นดัชนีปริจเฉทภาษาสเปนจำนวน 18 ดัชนี และดัชนีปริจเฉทภาษาไทยจำนวน 9 ดัชนี</p>
ไพรริน สิมมา
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
143
173
-
บทบรรณาธิการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274041
<p>วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีกำหนดเผยแพร่ราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) ทั้งนี้อาจมีวารสารฉบับพิเศษ (Special issue) หรือฉบับที่ตีพิมพ์บทความจากการประชุมวิชาการ (Conference proceedings) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรม คติชนวิทยา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ปรัชญา ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา</p>
บรรณาธิการ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
ก
ช
-
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274044
<p>- บทความจะต้องอยู่ในรูปแบบของบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ สำหรับบทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือจะไม่นำเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการ</p> <p> - บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</p> <p> - บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (Double-blind Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน และผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด</p> <p> - บทความที่เป็นบทความวิจัยที่ส่งมายังวารสารตั้งแต่ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ต้องมีหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แนบมาพร้อมกับบทความ (ยกเว้นได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นรายเฉพาะ)</p> <p> - หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์</p> <p>- บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์ ก่อนขอรับ<br>การพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่จากวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์</p>
บรรณาธิการ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
215
222
-
จริยธรรม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/274043
<p><strong>จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ </strong></p>
บรรณาธิการ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
43 1
223
225