@article{Thongkhumchuenvivat_Theerawitthayalert_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ ของเด็กและเยาวชนไทยในจังหวัดชัยนาท}, volume={11}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/182135}, DOI={10.53848/irdssru.v11i1.182135}, abstractNote={<p>          การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารของครอบครัวและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน รวมถึงการนำเสนอรูปแบบการสื่อสารแบบบูรณาการของครอบครัว และการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่สามารถร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง และกลุ่มเยาวชนในระบบการศึกษาที่เคยตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (ต่ำกว่า 20 ปี) จาก 3 รูปแบบครอบครัว ซึ่งเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์และครอบครัวไม่สมบูรณ์ในจังหวัดชัยนาท ครอบครัว (เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง) ละ 2 คน ในแต่ละอำเภอรวม 8 อำเภอ รวมจำนวนทั้งหมด 48 คน กลุ่มครู กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอละ 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ จำนวน 5 ชุดของแต่ละกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ตรวจความสมบูรณ์ของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า         มีผลการวิจัยคือ การสื่อสารของครอบครัว ควรพูดคุยหรือให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็กและเยาวชนแบบเปิดใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องเพศ และร่วมกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ใน 5 ด้าน ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล ในกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ป้องกันการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน       และการบูรณาการการสื่อสารควรเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันระหว่างการสื่อสารของครอบครัวและการสื่อสารของชุมชนแบบมีส่วนร่วมในป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชน</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={Thongkhumchuenvivat, Jurairat and Theerawitthayalert, Panya}, year={2019}, month={เม.ย.}, pages={90–97} }