@article{ไถเหี้ยม_ด่านกิตติกุล_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์ของถนนคนเดิน กรณีศึกษาถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต}, volume={9}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214161}, DOI={10.53848/irdssru.v9i2.214161}, abstractNote={<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพในปัจจุบันของถนนถลาง และความเหมาะสมสำหรับการเป็นถนนคนเดิน 2) ศึกษาสภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้งาน และรูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ถนนคนเดิน 3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมถนนคนเดินถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต</p> <p>การศึกษานี้มีการเก็บข้อมูล 2 ลักษณะ คือ การสำรวจและการสัมภาษณ์ โดยในการสำรวจนั้นทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพ การใช้พื้นที่ และลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น ส่วนการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มาใช้ถนนคนเดินนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ รวมถึงการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวกับถนนคนเดิน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ถนนถลางมีปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์สำหรับการเป็นถนนคนเดิน ได้แก่ ความเหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้ง ความหลากหลายในการสัญจรเข้าถึงพื้นที่ และความสะดวกในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายการสัญจรอื่น แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่า จุดจอดรถรับส่งผู้โดยสาร รถบริการ และพื้นที่จอดรถยังไม่เหมาะสม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบทางกายภาพมีความเหมาะสม ได้แก่ ความกว้างถนน สภาพพื้นผิวถนน รวมถึงรูปแบบการตั้งร้านค้าในถนนคนเดิน ปัจจัยด้านทัศนียภาพและความงามทางสายตามีความเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ปัจจัยด้านกิจกรรมค่อนข้างมีความเหมาะสม และปัจจัยด้านการบริหารจัดการของพื้นที่ยังไม่เหมาะสม ปัญหาห้องน้ำ จุดนั่งพัก อุปกรณ์ถนน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ควรได้รับการปรับปรุง</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={ไถเหี้ยม เมติญา and ด่านกิตติกุล ชัยสิทธิ์}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={53} }