@article{หอมทรัพย์_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทย}, volume={9}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214292}, DOI={10.53848/irdssru.v9i3 SUP.214292}, abstractNote={<p>พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็น<br>วรรณกรรมที่คนไทยรู้จักอย่างแพร่หลาย ลักษณะและบทบาทของตัวละครพระมหาชนกโพธิสัตว์<br>คล้ายคลึงกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>หลายประการ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในฐานะเป็นวรรณกรรม<br>เฉลิมพระเกียรติของไทยที่มีเนื้อหายกย่องและสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์<br>การวิจัยครั้งนี้มีวิธีดาเนินการวิจัยโดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่อง การยกย่อง<br>พระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ การใช้วรรณกรรมพระพุทธศาสนาเพื่อเฉลิมพระเกียรติ<br>พระมหากษัตริย์ และบทบาทของวรรณคดีชาดกกับการสื่อสารสถานภาพพระมหากษัตริย์เป็น<br>พระโพธิสัตว์มาเป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกใน<br>พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีฐานะเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทยจาก<br>การนาเสนอพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ผ่านลักษณะ บทบาท และวิถีชีวิตของพระมหาชนกอย่างแนบเนียน แสดงให้เห็นถึงพระราชสถานะของ<br>พระมหากษัตริย์เป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์เห็นได้จากการใช้คาเรียกพระมหาชนก เหตุการณ์พระราชบิดา<br>สิ้นพระชนม์ในวัยเยาว์ และต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง การเดินทางกลับบ้านเมืองเมื่อเจริญวัย<br>ลักษณะการเป็นผู้มีกาลัง การกระทาความเพียรอันบริสุทธิ์จนรอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง การกระทากิจ<br>ที่แท้จริงจนสาเร็จ ชีวิตครอบครัว การฟื้นฟูเกษตรกรรม และการไม่ออกบวชเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่<br>เดือดร้อนของพระมหาชนก พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกได้เน้นย้าให้เห็นถึงบทบาทของวรรณกรรม<br>พระพุทธศาสนาต่อการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันซึ่งเป็นขนบของการแต่งวรรณกรรม<br>เฉลิมพระเกียรติของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและยังมีลักษณะการแต่งวรรณกรรมชาดกเพื่อยกย่อง<br>พระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์เช่นเดียวกับวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นเรื่องมหาชาติคาหลวง</p>}, number={3 SUP}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={หอมทรัพย์ คณิตา}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={68} }