@article{โกมลทัต_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={ปัจจัยพื้นฐานทางการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวไทยต่อพระราชวังบางปะอิน}, volume={7}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214459}, DOI={10.53848/irdssru.v7i3.214459}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้ ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาเที่ยวชม พระราชวัง บางปะอิน จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่พระราชวังบางปะอิน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าชมภายในพระราชวังบางปะอินจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Sciences)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์เชิงตัวแปรเชิงกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ใช้วิธี Lest Significant Difference (LSD) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และ สถิติ ไคสแควร์ ใช้กำหนดนัยสำคัญของการทดสอบสมมติฐานไว้ที่ระดับ 0.5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31-40 ปี มี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปวช. ประกอบอาชีพลูกจ้างพนักงานเอกชน และมีรายในอยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาทสำหรับการทดสอบสมมติฐานปรากฏผลดังนี้<br>1. นักท่องเที่ยวมีเพศที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านช่วงเวลาในการเข้าชม และด้านบุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน<br>2. นักท่องเที่ยวที่มีอายุที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในวัตถุประสงค์ของการมาท่องเที่ยว การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจุดสนใจในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาเข้าชม และบุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวไม่ต่างกัน<br>3. นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในจุดสนใจในการท่องเที่ยว การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจุดสนใจในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาเข้าชม และบุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวไม่ต่างกัน<br>4. นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน ช่วงเวลาในการเข้าชม การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม และบุคคลที่ร่วมเดินทาง ส่วนในด้านวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว จุดสนใจในการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว และแนวโน้มในการเดินทางมาท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน<br>5. นักท่องเที่ยวที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงด้านเดียว คือ จุดสนใจในการท่องเที่ยว ส่วนอื่นๆ คือ วัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาในการเข้าชม</p> <p>การค้นหาและการเข้าร่วมกิจกรรม บุคคลที่ร่วมเดินทาง และแนวโน้มในการเดินทางมาท่องเที่ยว ไม่แตกต่างกัน<br>6. ปัจจัยภายในโดยรวม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในพระราชวังบางปะอิน ในด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยว และในด้านแนวโน้มในการกลับท่องเที่ยวซ้ำอีกในอนาคต<br>7. ปัจจัยภายนอกโดยรวม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในพระราชวังบางปะอิน ในด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยว และแนวโน้มในการกลับท่องเที่ยวซ้ำอีกในอนาคต</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={โกมลทัต พงศธร}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={95} }