@article{คีตวัฒนานนท์_มีมนต์_Paek_มะโรหบุตร_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={ความเจ็บป่วยและการแสวงหาการดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอมจังหวัดสุรินทร์}, volume={8}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214467}, DOI={10.53848/irdssru.v8i2.214467}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเจ็บป่วยและการแสวงหาการดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในตลาดการค้าชายแดนช่องจอมจังหวัดสุรินทร์ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมของแรงงานข้ามชาติกัมพูชากับสถานะสุขภาพและการแสวงหาการดูแลสุขภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการกระจายความถี่แบบร้อยละ และหาความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบ Chi-square กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติกัมพูชาที่ข้ามมาทางานในบริเวณพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอมจังหวัดสุรินทร์จานวนทั้งสิ้น 350 คน ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 63.7 ของกลุ่มตัวอย่างมีการรายงานอาการความเจ็บป่วยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยอาการหวัด/ไอ/คัดจมูก/น้ามูกไหล/เจ็บคอโดยพบว่าแรงงานที่เป็น เพศหญิง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีผู้ที่มีโรคประจาตัวและผู้ที่มีสถานะการทางานเป็นลูกจ้างมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาร้อยละ 54.3 เลือกที่จะเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยด้วยตนเอง ส่วนที่เหลือมีการแสวงหาการดูแลสุขภาพที่สถานบริการสุขภาพประเภทต่าง ๆ โดยร้อยละ 74 ของผู้ที่ใช้บริการสุขภาพนั้นใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ไปใช้บริการสุขภาพที่โรงพยาบาลของรัฐ ตามด้วยโรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน และสถานีอนามัย ตามลาดับ ส่วนที่เหลือร้อยละ 26 กลับไปใช้บริการสุขภาพที่กัมพูชา ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เจ็บป่วยปานกลางถึงรุนแรง เป็นเจ้าของกิจการ ทางานในตลาดการค้าช่องจอมมาเป็นเวลานาน มีรายได้สูง มีบัตรอนุญาตทางาน ใช้พาสปอร์ตเป็นเอกสารในการข้ามแดน สามารถพูดภาษาไทยได้ และมีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ไม่เป็นทางการจะไปใช้บริการสุขภาพที่สถานบริการสุขภาพในประเทศไทยมากกว่ากลับไปใช้บริการสุขภาพที่กัมพูชา และยังพบว่ามีกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแรงงานที่เป็นลูกจ้างหรือรับจ้างทั่วไป ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอมและการดูแลแรงงานข้ามชาติควรส่งเสริมให้มีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม โดยอาจจัดให้มีกลุ่มอาสาสมัครชาวกัมพูชาที่คอยให้คาแนะนาเมื่อแรงงานต้องการความช่วยเหลือ ให้ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ หรือเป็นล่ามแปลภาษาให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้บริการสุขภาพ เป็นต้น</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={คีตวัฒนานนท์ วิลาสิณี and มีมนต์ ณัฐณีย์ and Paek, Seung Chun and มะโรหบุตร ธรรมรัตน์}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={96} }