@article{สิริเบญจศักดิ์_ทรรพวสุ_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={การจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ}, volume={7}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214586}, DOI={10.53848/irdssru.v7i1.214586}, abstractNote={<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน ประชากรกลุ่มที่ 1 ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบุคคล จำนวน 46 คน ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบุคคล จำนวน 159 คน ครูคอมพิวเตอร์ จำนวน 68 คน และเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน 23 คน รวมทั้งสิ้น 296 คน ประชากรกลุ่มที่ 2 เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารบุคคลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br>ผลการวิจัย<br>1. การจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดใหญ่สังกัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ โดยภาพรวม ทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ มีค่าเฉลี่ย 4.04 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง และด้านการลาและการออกจากราชการ ส่วนหากพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละด้านพบว่า ทุกข้อของแต่ละด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ<br>2. แนวทางการพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดใหญ่ พบว่า<br>1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง ต้องประชุมกำหนดรายการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ กำหนดบุคลากรรับผิดชอบตามความสามารถ แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามการจัดเก็บข้อมูล มีการปรับปรุงแบบฟอร์มที่ง่าย สะดวก การจัดเก็บข้อมูลต้องทันตามกำหนดระยะเวลา มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บและการสืบค้นทันสมัยเป็นปัจจุบัน มีระบบสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายและจัดทำคู่มือประกอบการใช้ระบบสารสนเทศบุคคล<br>2) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ต้องมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ มีการตรวจสอบและกำหนดระยะเวลา กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดขอบเขตการตรวจสอบข้อมูล ต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ตรวจสอบ</p> <p>ความสมบูรณ์ ความถูกต้องของข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเป็นปัจจุบัน ต้องจัดสรรงบประมาณ และต้องฝึกอบรมให้ความรู้บุคลากรในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนาการตรวจสอบข้อมูล<br>3) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ต้องมีการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดขอบเขต กำหนดระยะเวลา ต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ตรวจสอบความสมบูรณ์ ความถูกต้องของข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเป็นปัจจุบัน ต้องจัดสรรงบประมาณ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ มีการลดภาระงานของบุคลากร มีการตรวจเช็คและปรับข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริงทุกไตรมาส<br>4) ด้านวินัยและการรักษา ต้องมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ ควรวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดขอบเขต จัดสรรงบประมาณกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูล ส่วนการจัดเก็บข้อมูลควรมีการวางแผน มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ การจัดเก็บโดยใช้ตู้เก็บเอกสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้อุปกรณ์บันทึก จัดทำระบบสืบค้นหาข้อมูลและสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ และต้องตรวจสอบความถูกต้องในการจัดหน่วยหรือคลังข้อมูล<br>5) การลาและการออกจากราชการ ต้องปรับปรุงระบบการนำเสนอข้อมูลที่สมบรูณ์ ครบถ้วนถูกต้อง ให้เป็นปัจจุบัน ทันต่อการใช้งานและตรงต่อความต้องการ มีระบบเผยแพร่ข้อมูลให้บุคลากรได้ทราบในรูปแบบที่นำเสนอได้ทันที ด้านการประมวลผลข้อมูลต้องแจ้งให้ทราบถึงระบบประมวลผลสำเร็จหรือล้มเหลว การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องทันสมัย และถูกต้องสมบูรณ์สืบค้นง่ายและรวดเร็ว</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={สิริเบญจศักดิ์ ณิญาพัณณ์ and ทรรพวสุ สจีวรรณ}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={136} }