@article{สิงห์สี_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={การก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย}, volume={7}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214619}, DOI={10.53848/irdssru.v7i1.214619}, abstractNote={<p>การกู้ยืมเงินถือได้ว่าเป็นวิธีการเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆ แห่งมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเงินมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นกันมากขึ้น แม้ว่าการกู้ยืมเงินจะนำมาซึ่งรายได้แต่ก็นำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการกู้ยืมเงินมาใช้ที่ผิดระเบียบวัตถุประสงค์ อันนำมาซึ่งภาระการก่อหนี้ที่เกินตัวจนสุ่มเสี่ยงต่อการขาดวินัยทางการคลังได้ จากการใช้จ่ายเงินกู้อย่างฟุ่มเฟือย การนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงทางการเมือง ทำให้โครงการล้มเหลวและไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งโครงการเหล่านี้นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว ยังเป็นการสร้างภาระหนี้ให้แก่ อปท. เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แม้ว่าระดับการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในขั้นที่ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อระดับหนี้สาธารณะโดยรวมของประเทศมากนักแต่ถ้าหากปล่อยให้มีการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีระบบ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและการชำระหนี้ของอปท. อย่างจริงจัง สถานการณ์ดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการสร้างความเสี่ยงทางภาระการคลังให้แก่ประเทศได้ในที่สุด เพราะปัจจุบันการดำเนินงานของ อปท. นั้นยังคงจำเป็นต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นภาระหนี้แอบแฝงของภาครัฐที่ยังมิได้ถูกคำนวณรวมอยู่ในหนี้สาธารณะของประเทศ ดังนั้นการก่อหนี้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจึงย่อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานการณ์ทางการคลังของประเทศในอนาคตได้</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={สิงห์สี กุลธิดา}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={176} }