@article{สุขสวัสดิ์_สร้อยทอง_ยังสุข_2019, place={Bangkok, Thailand}, title={กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ธรรมาภิบาล และการแก้ไขปัญหาชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านคลองคู อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก}, volume={11}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/233389}, DOI={10.53848/irdssru.v11i2.233389}, abstractNote={<p style="text-align: justify;">                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการบริการสาธารณะในชุมชนโดยใช้กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและธรรมาภิบาล โดยนำเครื่องมือที่ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและหลักธรรมาภิบาลจำนวนสี่เครื่องมือมาใช้ และกำหนดให้ใช้ในขั้นตอนที่แตกต่างกัน ได้แก่ แบบประเมินความไม่พึงพอใจในบริการสาธารณะ บัตรคะแนนประชาชน การเรียนรู้การใช้จ่ายงบประมาณและการปฏิบัติการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่และการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยโดยการตีความสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญที่ชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนได้แก่ ปัญหาการขับขี่จักรยานยนต์ของวัยรุ่นในยามวิกาลที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นและปัญหายาเสพติดในชุมชน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทำโดยการอภิปรายให้ได้ฉันทามติและการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากงานวิจัยคือการเสนอให้ภาครัฐนำเครื่องมือการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={สุขสวัสดิ์ วัลลภัช and สร้อยทอง ปริญญา and ยังสุข สุทธิชัย}, year={2019}, month={ธ.ค.} }