@article{สุวรรณเดช_ฮาตระวัง_ผังนิรันดร์_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={แบบจำลองการวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ }, volume={12}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/243992}, DOI={10.53848/irdssru.v12i1.243992}, abstractNote={<p>             ในสภาวะการแข่งขันที่สูงมากของธุรกิจในปัจจุบัน และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และการปรับตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดังนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานและเทคโนโลยีการผลิตมากยิ่งขึ้น และนำนวัตกรรมเพื่อยกระดับการพัฒนาบริหารธุรกิจ อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์จะต้องเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำ การวางแผน การสนับสนุน การดำเนินงาน  การประเมินประสิทธิภาพ การปรับปรุง และความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำ การวางแผน การสนับสนุน การดำเนินงาน การประเมินประสิทธิภาพ และการปรับปรุง ที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานประกอบการที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ส่งชิ้นส่วนให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย  จำนวน 600 คน ใช้หลักเกณฑ์อัตราส่วน 20 เท่า ของตัวแปรสังเกต ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านวิชาการและการบริหาร  ผู้บริหารจากโรงงานประกอบรถยนต์ ผู้บริหารจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ จำนวน 17 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของภาวะผู้นำ  การวางแผน การสนับสนุน การดำเนินงาน การประเมิน และการปรับปรุง อยู่ในระดับมาก ส่วนความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ภาวะผู้นำ การวางแผน การสนับสนุน การดำเนินงาน การประเมินประสิทธิภาพ และการปรับปรุง มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยทุกตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ได้ร้อยละ 96 นอกจากนี้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า นวัตกรรมเชิงบริหารเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ผ่านระบบการบริหารในการจัดการองค์กรจะทำให้ต้นทุนการผลิตรวมถึงกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงทำให้กระบวนการเกิดการทำงานที่สั้นที่สุด และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการใช้หลักการบริหารเข้าไปควบคุมวิธีการต่าง ๆ การบริหารจัดการเทคโนโลยีการผลิตที่สมบูรณ์แบบในอนาคตจะต้องคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตของชิ้นส่วนยานยนต์จากกระบวนการผลิตที่สะอาด ควบคุมปริมาณการปล่อยมลพิษเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อมวลมนุษย์ในโลกนี้ เป็นการยกระดับการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย นอกจากนี้ผู้ประกอบการการผลิตสามารถนำนวัตกรรมเชิงบริหารไปกำหนดแนวทางในการผลักดันให้เกิดผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพระดับสากล สร้างความได้ได้เปรียบเชิงศักยภาพในการแข่งขันอย่างมาก และมีศักยภาพการแข่งขันกับคู่แข่งในระดับสากล</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={สุวรรณเดช นิยม and ฮาตระวัง ฉัตรแก้ว and ผังนิรันดร์ บัณฑิต}, year={2020}, month={มิ.ย.} }