@article{สีหะวัฒนกุล_ใจทน_ยอดอ่อน_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={การพัฒนาผลิตภัณฑ์งานไว้อาลัยจากแกลบ : กรณีศึกษาชุมชนบางตาโฉง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี}, volume={13}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/248180}, DOI={10.53848/irdssru.v13i1.248180}, abstractNote={<p>              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ประโยชน์จากแกลบโดยการทำผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัย และเพื่อถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัยจากแกลบ สู่กลุ่มเป้าหมาย พบว่า การใช้ประโยชน์จากแกลบโดยการทำเป็นผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัยจากแกลบ ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสูตรดินปั้นที่จะนำประดิษฐ์ดอกไม้ไว้อาลัยจากแกลบ จำนวน  5 สูตร พบว่า สูตรที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด ( x ̅4.44) อยู่ในระดับมาก เนื่องจากด้านผิวสัมผัสเนื้อดินมีความนุ่มไม่แข็ง สามารถขึ้นรูปได้ไม่ติดมือ ปั้นขึ้นรูปได้ไม่แห้งก่อนงานเสร็จ ด้านความยืดหยุ่น เนื้อดินมีความเหนียวเกาะตัวกันดี สามารถนวดคลึงได้เป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกออกจากกัน ด้านการทรงตัวปั้นขึ้นรูปได้ดี ไม่หดตัวตามมือ ไม่มีรอยแตกร้าว และสีของเนื้อเป็นธรรมชาติ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกลักษณะดอกที่เหมาะสมสำหรับการทำพวงหรีด ได้แก่ ดอกเด่น ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกลิลลี่ (ร้อยละ 42.85) รองลงมาดอกกล้วยไม้แคทลียา (ร้อยละ 28.57) ดอกเสริม ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกกุหลาบ (ร้อยละ 42.86) รองลงมา ดอกลีลาวดี  (ร้อยละ 28.57)  ดอกแซม ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกแก้ว ดอกหญ้า (ร้อยละ 28.57 เท่ากัน) สำหรับลักษณะดอกที่เหมาะสมสำหรับการทำดอกไม้จันทน์ ได้แก่ ดอกเด่น ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกกุหลาบ ดอกลีลาวดี (ร้อยละ 42.86 เท่ากัน) ดอกแซม ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกแก้ว (ร้อยละ 57.14) รองลงมา ดอกยิปโซ (ร้อยละ 28.57) ซึ่งดอกไม้ที่เลือกสามารถประดิษฐ์ได้ไม่ยาก และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จากนั้นนำไปจัดทำผลิตภัณฑ์พวงหรีด จำนวน 3 รูปแบบ และดอกไม้จันทน์ 3 รูปแบบ การถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัยจากแกลบ สู่กลุ่มเป้าหมายจากขอบเขตที่กำหนดไว้  คือ วิสาหกิจชุมชนบางตาโฉง และบุคคลทั่วไปในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 50 คน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้จากการวิจัย เป็นการเสริมรายได้ให้ชุมชน ด้วยการนำวัสดุที่เป็นของเหลือใช้ในท้องถิ่น มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ทางกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅4.50) ส่วนความพึงพอใจต่อการจัดโครงการวิจัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅4.67) และความความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ 4.64)</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา}, author={สีหะวัฒนกุล ปิยะธิดา and ใจทน อนุสรณ์ and ยอดอ่อน กิตติ}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={56–68} }